6 ม.ค. 2020 เวลา 06:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มะเขือเทศแห่งอนาคต นักวิจัยพบวิธีตัดแต่งพันธุกรรมสร้าง" มะเขือเทศคล้ายพวงองุ่น" ที่เหมาะกับการปลูกในเมืองมากขึ้น!!!
📈📈 จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโลกเผชิญกับภาวะวิกฤตสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากรายงานของ UN Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) กล่าวว่าในสิ้นศตวรรษนี้อาจมีผู้คนถึง 500 ล้านคนกำลังใช้ชีวิตอยู่บนผืนดินที่เสื่อมโทรมจากการตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรง สถานการณ์แบบนี้อาจทำให้พวกเขาล่ะทิ้งผืนดินนี้ จนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารและอื่นๆตามมา
🚜🚜 เมื่อผืนดินที่ใช้ทำการเกษตรได้ลดน้อยลง การหันมาทำเกษตรในเมือง (Urban agriculture) จึงดูเหมือนเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กว่าทั้งในแง่การลดต้นทุนขนส่งและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ แต่ปัญหาคือพืชที่ปลูกแบบปกติมักจะใช้พื้นที่มาก ทำให้เบียดเบียนพื้นที่อื่นๆในเมือง ทางออกคือการพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ที่กะทัดรัด ให้ผลผลิตสูง และดูแลง่าย
🍅🍅 และแล้วก็มีข่าวดีมาจนได้เมื่อมีการพัฒนา "มะเขือเทศ" พันธุ์ใหม่โดยทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ แซ็ค ลิปป์แมน (Zach Lippman) จากห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbor Laboratory ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง Howard Hughes Medical Institute (HHMI)ได้ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อพัฒนามะเขือเทศพันธุ์พิเศษที่เหมาะกับการเพาะปลูกในเมืองมากขึ้นโดยลักษณะพิเศษของมะเขือเทศพันธุ์ใหม่นี้คือ ออกลูกเป็นพวงคล้ายองุ่น มีช่อสั้นขนาดเล็กไม่เลื้อยเป็นเถาแบบมะเขือเทศปกติ อีกทั้งยังใช้เวลาเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวแค่ 40 วันเท่านั้น (ปกติใช้เวลา 70-90วัน)!!!
การตัดแต่งมะเขือเทศพันธุ์ใหม่ที่เหมาะกับการปลูกในเมืองมากขึ้น ได้รับการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Nature Biotechnology โดยทีมงานของศาสตราจารย์ แซ็ค ลิปป์แมน Cr.https://www.nature.com/articles/s41587-019-0361-2?fbclid=IwAR2FmzwZ-0o_r7dGvyzuZ6BXtEMU8oTBum2nmsFeBTK6HENBU2ZvoJlN1f4#Fig11
👨🔬 โดยศาสตราจารย์ลิปป์แมนกล่าวว่าพวกเขาได้ใช้เทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า "one-step CRISPR–Cas9 genome editing" เพื่อแก้ไขยีนจำนวนสามยีนให้ควบคุมการเจริญเติบโตของมะเขือเทศให้เป็นพุ่มขนาดเล็กคล้ายองุ่นและมีระยะการเติบโตที่สั้นลง
☣️☣️โดยการปรับจูนยีนที่เป็นเหมือนสวิชต์ควบคุมขนาดและการเจริญของมัเขือเทศอย่าง precocious growth termination gene (SP) และ SP5G genes ซึ่งควบคุมให้มะเขือเทศเร่งการออกดอกเร็วขึ้นและหยุดการเจริญเติบโตลง โดยการปรับแต่งยีนทั้งสองตัวนี้จะทำให้มะเขือเทศเร่งระยะเวลาการเติบโตให้สั้นลง (จากเดิม 90 วันเหลือ 40 วัน) และออกดอกผลเร็วขึ้น แต่โจทย์สำคัญคือพวกมันยังคงมีกิ่งก้านที่ยาวและเลื้อยได้ จะทำอย่างไรให้พวกมันมีก้านสั้นลงและโตในพื้นที่เล็กๆได้ !!!!
🍒🍒ทีมนักวิจัยจึงพยายามหายีนที่ควบคุมความยาวก้านของมะเขือเทศและพบว่า การปรับแต่งยีน SIER gene ให้กลายพันธุ์ช่วยทำให้มะเขือมีช่อสั้นขึ้นได้ ด้วยการปรับแต่งยีนสามชนิดร่วมกัน ท้ายที่สุด ลิปป์แมนและทีมวิจัยก็พัฒนามะเขือเทศพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเหมาะสมขึ้นมาได้สำเร็จ
🌱🌱 ลิปป์แมนกล่าวเสริมการปรับแต่งแบบนี้อาจนำไปใช้ได้กับพืชผลอีกหลายชนิด และองค์กรนาซ่าเองก็สนใจเทคโนโลยีนี้มากเพราะมันช่วยให้พวกเขาสามารถผลิตอาหารจากพืชที่เพาะปลูกที่จำกัดแบบในยานอวกาศได้ และอาจถึงขั้นมีการทดลองนำไปปลูกในอวกาศในอนาคตอันใกล้ด้วย ไม่แน่ว่ามันอาจเป็นพืชชนิดแรกๆที่ปลูกบนดาวอังคารก็เป็นได้
🍅🍅ศาสตราจารย์ลิปป์แมนได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "สักวันด้วยเทคโนโลยีการตัดแต่งพันธุกรรมแบบใหม่นี้จะช่วยให้มนุษย์พัฒนาพืชแบบใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในเมือง ที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกินจำเป็นอีกทั้งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย"
โฆษณา