6 ม.ค. 2020 เวลา 08:20 • ความคิดเห็น
ต้นไม้มรดกแผ่นดิน
ต้นแรกที่จะนำเสนอ คือ "ต้นยางพารา"🌳🌱🌿
เพราะแอดมินคุ้นชิน รู้จัก เติบโต มากับต้นยางพารา เรียกได้ว่าคือ ยางพารา สร้างรายได้ สร้างชีวิต ให้กับแอดมินและครอบครัว เพราะบ้านแอดทำสวนยางพารา
มาดูประวัติของต้นยางพารา กันครับ
ยางพารานั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล และประเทศเปรู ชาวพื้นเมืองเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “เกาชู” อันมีมีคามหมายถึงต้นไม้ที่สามารถร้องไห้ได้ (สื่อถึงต้นยา’ที่จะมียางไหลออกมามากเป็นพิเศษ) ยางพารานั้นแต่เดิมไม่มีบทบาทอะไรมาก เพราะเพิ่งจะเป็นที่รู้จักกันเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อครั้งค้นพบทวีปอเมริกานี่เอง
โดยในช่วงเวลาที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีอเมริกานั้น เขาได้ค้นพบอีกด้วยว่าชาวพื้นเมืองนำเอายางของต้นไม้ชนิดหนึ่ง มาทำเป็นรองเท้า โดยพวกเขาใช้วิธีการฟันต้นยางให้น้ำยางไหลออกมา จากนั้นจึงหาภาชนะมารองน้ำยางเอาไว้ แล้วเอาเท้าจุ่มน้ำยางเอาไว้ รอให้น้ำยางแข็งตัว พวกเขาก็จะได้รองเท้าจากยาง ที่มีความยืดหยุ่นสำหรับการสวมใส่ นอกจากนั้นก็ยังมีการทำเสื้อผ้า เครื่องกันฝนจากยางด้วยเช่นกัน
ในประวัติศาสตร์ยังมีหลักฐานว่า ชนเผ่ามายามีการใช้ยางพารา ในการปั้นเป็นลูกบอลสำหรับเล่น ซึ่งลูกบอลดังกล่าวจะมีคุณสมบัติในการเด้งดีอย่างมาก ต่อมาครสิโตเฟอร์ โคลัมบัสได้นำเอายางพารามายังยุโรป แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากตอนนั้นยังไม่สามารถทำให้ยางจับตัวเป็นก้อนแข็ง เพื่อนำเอาไปใช้งานได้นั่นเอง
ปี พ.ศ. 2363 โธมัส แฮนค็อก ได้คิดค้นเครื่องที่ใช้ในการฉีกยางขึ้น และเขายังได้ค้นพบอีกด้วยว่า เมื่อยางโดนความร้อนมันจะละลาย และสามารถที่จะปั้นขึ้นรูปได้ตามต้องการ ด้วยสิ่งที่เขาค้นพบนี้ ทำให้ต่อมา แฮนค็อก ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งอุตสาหกรรมยางเลยทีเดียว
ปี พ.ศ. 2386 ชาร์ลส์ กู้ดเยียร์ ได้มีการค้นพบวิธีการทำให้ยางมีคุณภาพขึ้น โดยการใช้เทคนิคอบร้อน ซึ่งเทคนิคของเขานี้ทำให้ต่อมามีการผลิตยางสำหรับรถม้า จักรยานและรถยนต์ขึ้น ซึ่งก็ทำให้ยางนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในที่สุด
ภายหลังจากที่ยางเป็นสินค้าที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ แล้ว ชาวยุโรปจึงมีแนวคิดในการผลิตยางพารามากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดในขณะนั้น ทำให้เริ่มมีการปลูกยางในอินเดีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นแห่งแรก และต่อมาจึงได้มีการแพร่หลายมายังพม่า และแหลมมลายู รวมถึงประเทศไทยในที่สุด
ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ.2425 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้น นำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ.2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง" เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก
จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก
ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลูกยางกันมีผลดีมากก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมาหุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯ รีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที
ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย
นับแต่นั้นมา ยางพาราก็นิยมปลูก เป็น ต้นไม้เศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้กับชาวสวน ทั่วประเทศไทย สร้างมูลค่านับพัน นับหมื่นล้าน
นับว่า "ต้นยางพารา" เป็นต้นไม้มรดกแผ่นดิน
ที่มีค่าสูงยิ่งของไทย
+[สุทันกิจ]+
#ลงทุนในผืนดิน
เขียนวันที่ 6 มกราคม 2563
โฆษณา