7 ม.ค. 2020 เวลา 04:01 • การศึกษา
คำถามที่ 2
คือ “แล้วต้องมีเงินเท่าไร ถึงจะมีสภาพคล่องทางการเงิน”
1. ตอบตัวเองให้ได้ว่ารายรับทุกวันนี้กี่บาทต่อเดือน
2. รายจ่ายต่อเดือนกี่บาท
3. ออมและเหลือต่อเดือนกี่บาท
ทีนี้ลองสุมมุติสถานการณ์ว่าเราจะไม่มีรายรับเลย ไม่ว่าจะตกงาน เปลี่ยนงาน
หรืออะไรก็ได้ สูงสุดกี่เดือน
เช่น 6 เดือน
ก็นำ 6 เดือน คูณ จำนวนรายจ่ายต่อเดือนของตนเอง
ผมลองสมมุติว่าเป็นผม
1. รายรับต่อเดือน 20,000 บาท
2. รายจ่ายต่อเดือน 15,000 บาท
3. ออม 10 เปอร์เซ็นต์ (2,000 บ.) เหลือใช้ 3,000 บ. รวม คือ 5,000 บาท/เดือน
นำรายจ่าย 15,000 คูณ 6 (จำนวนเดือน ที่คิดว่าหากไม่มีรายรับ เราจะมีเงินใช้ต่ออีกกี่เดือนถึงจะมีงานใหม่)
เท่ากับ 90,000 บาท ที่ต้องมีในบัญชีใช้ฉุกเฉิน
มาดูเงินเหลือและออมจากข้อ 3 คือ 5,000 บาท/เดือน
ถ้าเราจะนำทั้งหมดมาออมในส่วนฉุกเฉินเลย แสดงว่าเราต้องทำงาน
90,000 หาร 5,000 เท่ากับ 18 (เดือน)
ดังนั้น เราต้องทำงาน และเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาททุกเดือน
นานถึง 18 เดือน เพื่อให้มีเงินเผื่อฉุกเฉินใช้นานถึง 6 เดือน
แต่
หากบางคนมีภาระไม่อาจนำเงินข้อ 3 มาออมเป็นเงินเผื่อฉุกเฉินได้ทั้งหมดล่ะ
ก็ให้ลด จาก 5,000 บาท อาจเป็น 4 3 หรือ 2 พัน
หรือ 1,000 บาท แต่อย่างน้อยต้องมี กระนั้นเราจะต้องทำงานนานกว่า 18 เดือน
ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเก็บ
สรุป เงินเผื่อฉุกเฉิน คิดได้จาก
รายจ่าย(เดือน) X จำนวนเดือน (ตามต้องการ ยิ่งมากยิ่งอุ่นใจ)
หารด้วย จำนวนเงินออมหรือเหลือต่อเดือน
เท่ากับ จำนวนเดือนที่ต้องเก็บ
#เกลียวคลื่น
ขอบคุณที่ยังติดตามครับ 🤝
โฆษณา