Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิถี: คนเล่าภาพ
•
ติดตาม
10 ม.ค. 2020 เวลา 05:59 • ปรัชญา
หลักธรรมแห่งความรัก
นานแล้วที่ผมไม่ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความรัก เพราะผมเคยเขียนไว้ในบทความวิชาการไว้ 5 เรื่อง ได้แก่
1. กระบวนการพัฒนาความรักในพระพุทธศาสนา
2. หลักเมตตาธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
3. หลักพรหมวิหาร 4 กับการสร้างความรักให้มั่นคง
4. เปรียบเทียบเมตตาในพุทธปรัชญากับปรัชญาขงจื้อ
5. เปรียบเทียบความรักในพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์
ความรัก ถ้าถามทุกคนคงตอบได้ว่าเป็นอะไร? มีความสำคัญอย่างไร? และทำให้เกิดอะไร? ผลสุดท้ายแล้วความรักก็คือ การที่ได้ทำสิ่งต่างๆ ให้กับคนที่เรารักมีความสุขนั่นเอง
ความรัก เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้า
ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา
ศาสนาคริสต์เองยังสอนให้ทุกคนรักในพระเจ้า รักตนเอง และคนอื่น ดังที่ว่า "พระเจ้าเป็นความรัก" ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา
มีคำนิยามถึงความรักจากนักปรัชญาไว้หลายท่านดังนี้
1) กิลเบอร์ท นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวไว้ว่า ความรัก คือ สวนดอกไม้ที่ต้องรดด้วยน้ำตา เพราะเหตุที่เป็นเช่นนั้น ด้วยความรักแม้จะสุข หรือทุกข์ย่อมมีการหลั่งน้ำตาออกมาทุกเมื่อ
2) คาลิล ยิบราน นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ได้กล่าวไว้ว่า ความรัก คือ ดอกไม้ที่เติบโตและเบ่งบานโดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือของฤดูกาล ที่เป็นเช่นนี้เพราะความรักทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเจริญงอกงามด้วยตัวมันเองได้
3) ท่านพุทธทาสภิกขุ นักปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวไว้ว่า ความรัก คือ ความใจกว้างเห็นแก่ผู้อื่นจนไม่มีตัวตนเหลืออยู่ กล่าวคือ ความรักเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ให้กับคนที่รักโดยไม่หวังผลตอบแทน อันเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เช่น ความรักของพ่อแม่ เป็นต้น
ในพระพุทธศาสนา ได้มีกล่าวถึงประเภทและบ่อเกิดของความรักไว้ ดังนี้
1) ความรักที่เกิดจากกามรมณ์ ความใคร่
2) ความรักที่เกิดจากความกำหนัดยินดี พอใจ ชอบ
3) ความรักที่เกิดจากความทะยานอยาก ความต้องการ ความปรารถนา
4) ความรักที่เกิดจากความรักใคร่เยื่อใย ห่วงหา อาธร
5) ความรักที่เกิดจากความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ร่าเริงร่วมกัน
6) ความรักที่เกิดจากความผูกพัน การมีปฏิสัมพันที่ดีต่อกัน
7) ความรักที่เกิดจากความปรารถนาให้ปู้อื่นมีความสุข (เมตตา)
8) ความรักที่เกิดจากความสงสาร ที่มีความต้องการให้พ้นจากความทุกข์ (กรุณา)
ความรักจึงแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1) ความรักฝ่ายอกุศล หรือ ความรักตนเอง เป็นความรักในด้านมืด เป็นกิเลส ตัณหา เป็นความรักที่หวังแต่จะได้ จะเอา ที่เป็นความเห็นแก่ตัว
2) ความรักฝ่ายกลาง เป็นความรักที่อยู่ระหว่างฝ่ายดีกับชั่ว สามารถเปลี่ยนเป็นชั่วก็ได้ เป็นดีก็ได้ แล้วแต่ฝ่ายไหนจะมีแรงมากกว่า ที่เป็นความรักแบบเสน่หาและเมตตาเรียกว่า เปมะ เป็นความรักระหว่างคนในครอบครัว
3) ความรักฝ่ายกุศล หรือ ความรักผู้อื่น เป็นความรักในระดับขั้นสูงสุด เป็นความดีงามที่บริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน เรียกว่า “เมตตา”
สำหรับความรักในพระพุทธศสานา ได้สรุปไว้ มี 4 ขั้น คือ
1) สเน่หา, ตัณหา เป็นความรักตัวเอง
2) เปม เป็นความรักของคนในครอบครัว
3) เมตตา เป็นความรักคนรอบข้าง
4) ฉันทะ เป็นความรักที่ต้องการหลุดพ้นจากกิเลส
สำหรับความรักนั้นเกิดจากการที่ชายหญิงได้ร่วมทำต่อกันในอดีตชาติ ที่เป็นบุพเพสันนิวาส ด้วยการทำบุญต่อการ ด้วยการช่วยเหลือ เกื้อหนุนอีกฝ่าย ด้วยการที่เคยกระทำต่อกันทั้งดีและชั่ว ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
สำหรับพระพุทธศาสนาได้แบ่งคุณสมบัติสมกันและความมีลักษณะนิสัยสม่ำเสมอกันของคู่ครอง ซึ่งจะทำให้คู่สมรสทั้งสองสมชีพหรือสมชีวี คือมีชีวิตที่สมหรือเสมอกัน ที่เรียกว่า สมธรรม 4 ประการ ประกอบด้วยหลักธรรมดังต่อไปนี้
1.สมศรัทธา มีศรัทธาสมหรือเสมอกัน ศรัทธานั้นหมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือความใฝ่นิยม
2.สมศีลา มีศีลคือความประพฤติสมหรือเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือขัดแย้งรุนแรงต่อกัน
3.สมจาคา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละสมหรือเสมอกัน ในชีวิตของบุคคลที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เริ่มแต่ญาติมิตรสหายเป็นต้นไปนั้น ธรรมข้อสำคัญที่จะต้องแสดงออกอยู่เสมอ
4.สมปัญญา มีปัญญาสมหรือเสมอกัน ปัญญาหมายถึงความรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดีชั่ว รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ความรู้จักคิด ความสามารถในการใช้ความคิด และเข้าใจในเหตุผล ความมีปัญญาสมกัน ไม่ได้
ดังนั้นเมื่อเห็นเช่นนี้เราจึงรับรู้ไว้ว่าการที่คนเราจะเป็นคู่รักกัน หรือใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จนพัฒนาเป็นคู่ชีวิต คู่สร้างคู่สมไปจนแก่เฒ่านั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าหากความรักของใครที่ไม่สมหวังก็แสดงถึง การทำกรรมร่วมกันมาในอดีตชาติเป็นแบบใดย่อมได้แบบนั้น
การเกืดความรักแล้วใช้ชีวิตคู่กันแล้วจะต้องมีอะไรที่เหมือนกัน การกระทำ พฤติกรรม จิตใจที่มีความคล้ายกัน แต่ถ้าอีกฝ่ายที่ถูกทำร้ายยังคงอยู่ด้วยกัน นั้นเกิดจากกรรมที่ทำร่วมกันในชาติปางก่อน
เราจงเข้าใจว่าความรักเป็นสิ่งที่สวยงาม แม้จะผิดหวัง หรือสมหวัง แต่ทุกอย่างถือเป็นสิ่งที่ช่วยสอน ให้เราได้เรียนรู้ เป็นประสบการณ์ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคน
ด้วยรักและปรารถนาดี สุขในธรรม ฝากกด like กด share ด้วยนะครับ
7 บันทึก
38
32
15
7
38
32
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย