10 ม.ค. 2020 เวลา 07:46 • ประวัติศาสตร์
ผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายในเหตุการณ์
“Hidenburg Disaster“ เสียชีวิตลงแล้ว
จุดจบของฮินเดินบวร์ค วินาศภัยครั้งสำคัญที่ถือว่าเป็นการปิดฉากยุคการเดินทางด้วยเรือเหาะ
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937
ณ เมืองแมนเชสเตอร์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
เรือเหาะ LZ 129 ฮินเดินบวร์ค ของเยอรมนี
ผู้โดยสารรวมลูกเรือแล้วทั้งสิ้น 97 คน
ภาพของ Hidenburg ขณะกำลังรับผู้โดยสารขึ้น
เดินทางจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ตมายังนิวเจอร์ซีย์
ใช้เวลาเดินทาง 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม
ภาพห้องรับประทานอาหารภายในเรือเหาะ
ระหว่างที่ทำการลงจอดใน Lakehurst Maxfield Field เจ้าหน้าที่พยายามเชื่อมกับเสาจอดเพื่อยึดตัวเรือเหาะ
ไฟก็ได้เริ่มลุกลามขึ้น ที่ส่วนท้ายของเรือเหาะ
ฮินเดินบวร์คที่เต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจน
(เพราะในตอนนั้นสหรัฐอเมริกาไม่ส่งออกก๊าซฮีเลียมที่ติดไฟน้อยกว่า)
มันติดไฟได้ง่าย ภายในไม่ถึงนาที ไฟก็ลุกลามไปทั่วทั้งลำ
เรือเหาะที่เต็มไปด้วยเปลวไฟร่วงหล่นสู่พื้นอย่างรวดเร็ว
ผู้โดยสารรวมลูกเรือ เสียชีวิตจากไฟคลอกและตกจากที่สูงทั้งหมด 36 คน หนึ่งในนั้นเป็นเจ้าหน้าที่บนพื้นอีกหนึ่งคน
Werner Doehner เด็กชายอายุ 8 ขวบ
หนึ่งในผู้โดยสารเรือเหาะลำนี้
เขาเดินทางมาพร้อมกับพ่อ แม่ และพี่สาว
ในขณะที่กำลังนั่งดูวิวการลงจอดจากทางหน้าต่าง
พร้อมกับผู้โดยสารอีกหลายๆ คน
ไฟก็ได้เกิดลุกไหม้ เรือเหาะร่วงหล่นอย่างรวดเร็ว
ส่วนท้ายร่วงลง ตามด้วยเปลวไฟที่เริ่มลุกโชนไปส่วนหน้า
เคราะห์ดีที่โซนผู้โดยสารไม่ได้กระแทกกับพื้น
ฝั่งของเขายังคงยกตัวขึ้นสูงจากพื้น
และยังพอมีเวลาให้เปิดหน้าต่างและกระโดดลงออกมา
แม่ของ Werner รีบอุ้มเขา และกระโดดลงพื้นอย่างรวดเร็ว
แต่พ่อและพี่สาวของเขา ออกมาไม่ทัน
เสียชีวิตจากไฟที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว
ไฟลุกโชนอย่างรวดเร็ว แต่มันก็ยังมีเวลาพอให้คนบางส่วนกระโดดเอาตัวรอดมาได้
แต่ถึงจะรอดชีวิต
ทั้งสองก็ยังได้รับบาดแผลจากไฟไหม้
แขน ขา และหน้าของ Werner ถูกไฟคลอก
เขาต้องรักษาพยาบาลอยู่หลายเดือน
Werner ขณะพักรักษาตัว
หลังจากรักษาตัว Werner ก็กลับไปที่ Mexico City ประเทศเม็กซิโก พร้อมกับแม่ของเขา
ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น แต่งงาน มีครอบครัว
และย้ายมาอยู่สหรัฐอเมริกาในปี 1984
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ2019 ที่ผ่านมา
Werner เสียชีวิตด้วยโรคชราในวัย 90 ปี
เขาถือว่าเป็นผู้โดยสารที่อายุน้อยที่สุดใน “Hidenburg Disaster”
และเป็นผู้โดยสารคนสุดท้าย ที่ยังอยู่บนโลกแห่งนี้
เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรือเหาะเกิดไฟลุกไหม้และมีผู้เสียชีวิต แต่เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่มีการถ่ายเก็บไว้ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เพราะนักข่าวและสื่อมวลชนมากมายรอการลงจอดของHidenburg อยู่แล้ว
ความน่าเชื่อถือก็ลดลง เรือเหาะจึงถูกลดบทบาท
สิ้นสุดยุครุ่งเรืองไปตลอดกาล
เรือเหาะปัจจุบันที่หันมาใช้ระบบไฟฟ้า
โฆษณา