10 ม.ค. 2020 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
ชุมทางบางซื่อ ที่กำลังเปลี่ยนไป
เพื่อนๆ ที่เคยใช้บริการรถไฟไทย ต้องมีโอกาสได้ผ่านชุมทางรถไฟแห่งนี้อย่างแน่นอน
ชุมทางบางซื่อ ที่เป็นเหมือน “บ้าน” ของคนหลายๆ คน ทั้งคนต่างจังหวัด ที่ไม่ยอมโชคชะตามาหาโอกาสในเมืองหลวง หรือคนกรุงฯ ที่นั่งรถไฟไปทำงานโรงงานในต่างจังหวัด เพื่อมุ่งหมายความก้าวหน้าในวิชาชีพ...
ภาพบรรยากาศในรถไฟ ที่นั่งแล้วร้อนสุดๆ แถมบางทีก็ต้องไปวัดดวงกัน เช่น แถวเพชรบุรี ว่ารถจะเสียหรือไม่ หากดวงแตก หัวรถไฟเสีย ก็รอกันไปอย่างน้อยๆ 2 ชั่วโมง
ขายของในรถไฟแบบไทยๆ Cr. a day
สถานีรถไฟบางซื่อ คือ ชื่อตามทะเบียนราษฎร์ของการรถไฟฯ เกิดตั้งแต่ 26 มีนาคม 2439 หากนับรวมศิริอายุ ก็ย่างเข้าปีที่ 125 กันแล้ว!
อายุยาวนานยิ่งกว่าบริษัทใหญ่ที่อยู่ข้างๆ สถานีเสียอีก
แต่ ณ เวลานี้ ชุมทางบางซื่อแห่งนี้ กำลังเปลี่ยนแปลงไป อย่างตลอดกาล
เรื่องราวจะเป็นอย่างไร เราไปติดตามกันเลย...
นับถอยหลังอีกเพียง 1 ปี กว่าๆ สถานีกลางบางซื่อแห่งใหม่ ก็จะเปิดใช้บริการ โดยกำหนดการเปิดใช้งานล่าสุดอยู่ที่ต้นปี พ.ศ. 2564
Cr. Wise
ซึ่งสถานีดังกล่าว มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 270,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสาร 300,000 คน/วัน เมื่อก่อสร้างเสร็จ จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!
Cr. Wise
สถานีกลางบางซื่อ ประกอบไปด้วย 24 ชานชาลา ได้แก่
- 4 ชานชาลา สำหรับรถไฟชานเมือง
- 8 ชานชาลา สำหรับรถไฟทางไกล
- 10 ชานชาลา สำหรับรถไฟความเร็วสูง
- 2 ชานชาลา สำหรับ Airport Rail Link
งานก่อสร้างปัจจุบันก็เกิน 90% แล้วเริ่มตกแต่งภายนอกอาคาร นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งนาฬิกาประจำสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งออกแบบพิเศษโดยบบนหน้าปัดมีเลข ๙ เพียงเลขเดียว เป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙
Cr. Mono-mobile
ซึ่งแน่นอนว่าราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าว รวมไปถึงห้าแยกลาดพร้าว ก็พุ่งทะลุมิติ โดยที่ดินราคา ตร.ว.ละ 1.45 ล้านบาท! เทียบ 10 ปีก่อนราคาหลัก แสนเดียว ต่อตร.ว.
แถวๆ สถานีกลางบางซื่อที่เป็นเคยชุมชนบ้านพักอาศัย ก็เริ่มหายไป ถนนจาก 2 เลน ก็ขยายเป็น 4 เลน ร้านค้าตามสถานี ก็ต้องโยกย้ายที่อยู่ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องยอมรับ
ชุมทางบางซื่อในอดีต Cr. Google photo
รัชกาลที่ ๕ ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ มีประกาศ พระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ ปี พ.ศ.2433
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) Cr. การรถไฟ
ท่านทรงเล็งเห็นความสำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ชาติเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ และในบรรดาทางเดินของโลหิตสายนั้นการรถไฟคือทางเดินของโลหิตสำคัญสายหนึ่ง
จนถึงวันนี้ประเทศไทย กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยยกระดับประเทศได้
ซึ่งทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมาพร้อมโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ
อยู่ที่คนที่มี "ความฝัน" จะกล้า "ลงมือทำ" เหมือนที่คนรุ่นก่อนที่เคยใช้ชุมทางแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของความฝัน หรือไม่!
รู้หรือไม่ว่า สถานีรถไฟไหน ที่หนาแน่นมากที่สุดในโลกในปัจจุบัน?
คำตอบก็คือ สถานี..."ชินจูกุ" ที่อยู่ในกรุงโตเกียวเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น
Shinjuku cr. Railway technolgy
สถานีชินจูกุ ได้รับการบันทึกในสถิติกินเนสบุ๊ค ว่าเป็นสถานีที่ผู้คนหนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีผู้โดยสารที่ผ่านเข้าออกสถานี มากกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน! หากคิดเป็นต่อปีก็…1,200 ล้านคนต่อปี
หรือมีผู้โดยสารเยอะกว่าสถานีกลางบางซื่อที่ออกแบบเอาไว้ถึง 12 เท่า!!
อย่างไรก็ตามบริเวณสถานีชินจูกุ ประกอบด้วยสถานีย่อยๆ ในบริเวณเดียวกันถึง 6 แห่งด้วยกัน ซึ่งก็เป็นแหล่งรวมทั้งการช้อปปิ้ง สถานที่ท่องเที่ยว และศูนย์กลางธุรกิจ
Cr. Matcha
และที่น่าทึ่งกว่านั้นก็คือ สถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารคับคั่ง 5 อันดับแรกของโลก ก็ยังอยู่ในญี่ปุ่นทั้งหมด!
แต่ใครจะไปรู้ว่า สักวันหนึ่ง สถานีกลางบางซื่ิิอแห่งนี้ อาจขยายจนแซงสถานีชินจูกุ ก็เป็นได้!!!
(ฝันไกลไปนิดนึง แต่ก็แอบฝัน)
Cr. ประชาชาติธุรกิจ
Cr. Postjung
Cr. Postjung
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
1
และสำหรับผู้นำเข้าส่งออก มีกลุ่มไลน์นำเข้าส่งออก เชิญแอดไลน์ @zupports ได้เลย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา