18 ม.ค. 2020 เวลา 23:21 • การศึกษา
Home school มีสอบวัดผลไหม?
เลื่อนระดับชั้นเรียนได้อย่างไร?
3
ต้องขออนุญาตออกตัวก่อนนะคะว่า
ในระบบการเรียนของโฮมสคูล จะไม่ได้ใช้การสอบเพื่อการเลื่อนชั้นเสมอไป
1
และในหัวข้อนี้ จะเรียกว่า การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผล ก็คือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนตามช่วงเวลาที่กำหนด
ซึ่งการวัดและประเมินจะอิงจากวิถีหรือแนวทางการเรียนรู้ตลอด 1 ปีแล้วประเมิน 1 ครั้งหรือ หรือบางครอบครัวเลือกประเมินโดยแบ่งเป็น2เทอม ก็จะประเมินเทอมละ1 ครั้งก็มีค่ะ
ที่ต้องบอกแบบนี้นั้น เนื่องด้วย โฮมสคูลค่อนข้างมีความหลากหลาย
นั่นก็เพราะว่า โฮมสคูลจะอิงจากแผนการเรียนรู้ของแต่ละครอบครัว ซึ่งเขียนขึ้นมาให้อิงตามตัวบุคคล เพื่อเน้นการเรียนรู้รายบุคคล
ถามว่าเด็กโฮมสคูล ทำข้อสอบไหม ครอบครัวที่เรียนรู้และใช้การทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลก็มีค่ะ
แต่ก็อาจจะไม่ใช่ทุกวิชา และควรเป็นข้อสอบที่ถามในเรื่องที่เรียนมาตลอดทั้งปี
😕😕 อ้าว! แล้วถ้าไม่ใช้ข้อสอบ เราจะใช้อะไรได้อีกล่ะ? 😟😟
โดยส่วนใหญ่ หากลองไปสืบค้น จะพบว่า วิถีการเรียนของโฮมสคูล จะใช้การประเมินตามสภาพจริง
คือ เรียนอะไรมา รู้อะไรมา ก็ประเมินตามนั้น
ในการประเมินผล เด็กจะแสดงร่องรอยการเรียนรู้ตลอดปี จะด้วยวิธีการใดก็ได้ ตามแนวทาง วิถี และความเหมาะสม
เช่นเด็กเล่นสเก็ต เป็นนักกีฬาทีมชาติ ด้วยนะ จะให้มานั่งทำข้อสอบ คุณจะเห็นถึงศักยภาพจริงๆ ไหมคะว่า เด็กทำได้จริงไหม หากไม่ได้การันตีด้วยคำว่า นักกีฬาทีมชาติ
การประเมินตามสภาพจริงจึงเป็นการประเมินที่จะได้เห็นว่า เด็กมาลงมือทำให้ดู อธิบาย พูดคุย แสดงศักยภาพ โชว์ทักษะการเล่นให้ชมกันสดๆไปเลย อยากรู้อะไรก็ถามตอบกันสดๆตรงนั้นเลย
และในการประเมินแบบนี้ นอกจากทักษะทางกีฬาแล้ว ผู้ประเมินหรือครูหรือคณะกรรมการ ยังจะได้เห็นทักษะการใช้ภาษา การนำเสนอผลงานของตัวผู้เรียน มนุษยสัมพันธ์ เทคนิคการเล่าเรื่องการพูดคุย ใครมีมุกอะไรบ้างไหม บ่งบอกไปถึงนิสัยได้อีกด้วย ชัดเจนกว่านั่งทำข้อสอบในกระดาษแล้วหยิบไปส่งให้กรรมการที่คุมสอบอีก ใช่ไหมล่ะคะ
1
การประเมินผลของคนเราก็แตกต่างกันไปนะคะ
ต้องมาดูที่วัตถุประสงค์ของการประเมินหรือการทำสอบในครั้งนั้นๆ ด้วยนะคะว่า ผู้จัดต้องการผลไปเพื่ออะไร
#การสอบ/ #การประเมินผล
โรงเรียนสอบเพื่อเก็บคะแนน วัดผลเพื่อผ่านหรือไม่ผ่านสู่ระดับชั้นต่อไป
....
บ้านเรียนหรือโฮมสคูล ประเมินเพื่อ ดูพัฒนาการ แนวทางการเรียนรู้ ศักยภาพที่มีการพัฒนาของผู้เรียนในช่วงเวลาตลอดหนึ่งปีนั้นๆ เพื่อนำไป ปรับปรุงแก้ไข พัฒนาต่อยอด
มีในเรื่องใด ที่เด็กยังอ่อน หรือเรียกว่า ควรพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็สามารถแนะนำ สนับสนุน ให้เด็กได้มีการพัฒนาในส่วนนั้นๆ เพิ่มขึ้น ถามว่ามีคำว่า สอบตกหรือซ้ำชั้นไหม ...บอกเลยว่า ไม่ควรมีนะคะ
อาจจะให้ลองมองอิงความจริงนิดหนึ่งว่า เด็กคนหนึ่งอายุ 5 ขวบ เขาต้องท่องก.ไก่ถึงฮ.นกฮูกให้ได้และถูกต้อง
แต่บังเอิญเด็กยังไม่สนใจ วันประเมิน เด็กยังท่องได้ไม่ครบ หรือท่องผิดๆ ถูกๆ ถ้างั้นครูไม่ให้ผ่านนะคะ กลับไปเริ่ม 5 ขวบใหม่นะคะ จะได้เรียนรู้ ก.ไก่ถึงฮ.นกฮูกใหม่นะคะ กรณีเดียวกันกับซ้ำชั้น คือ เด็กต้องเรียนเหมือนเดิม ในปีถัดไป ไม่ได้เลื่อนชั้น
แต่ของบ้านเรียน เด็ก 5 ขวบคนนี้ อาจจะยังไม่สนใจท่อง ก.ไก่ ครูก็แนะนำให้ฝึกฝนมากขึ้น เพราะในอนาคตเขาจำเป็นต้องใช้ ถึงตรงนี้คุณผู้อ่านคงจะเกิดคำถาม
อ้าวเฮ้ย! ท่องไม่ได้แล้วให้ผ่านเหรอ ...ผ่านได้ไงอ่า...ตลอดอายุ 5 ขวบมันท่องไม่ได้ก็แสดงว่ามันไม่ได้เรียนอะไรเลยนะ 😕😟
ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย!!! ...จริงเหรอ!!!...
ถ้างั้น เรามาลองมองใหม่อีกทีค่ะ
เด็ก 5 ขวบ เรียน ก.ไก่มาทั้งปี...จริงๆ แล้วเขาได้เรียนไหม ถ้าหากเขาสนใจ
แล้วถ้าเขาไม่สนใจเขาจะเรียนไหม ??
แล้วบังเอิญเด็กสนใจเรื่องต่อเลโก้ แต่ยังไม่สนใจจะต้องมานั่งท่องก.ไก่ ถามว่าผิดไหม ไม่ผิดนะคะ เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ได้ตามวัย ความสนใจ และศักยภาพ
การต่อเลโก้ เด็กได้อะไร
เด็กได้รู้เรื่องจำนวน การคิด คำนวณ การวางแผน เรื่องจินตนาการ เรื่องโครงสร้างปูพื้นฐานสู่เรื่องสถาปัตได้อีก ดีไม่ดี หากที่ตัวเลโก้มีตัวก.ไก่ถึงฮ.นกฮูกติดอยู่ เด็กก็จำภาพตัวอักษรเหล่านั้นได้นะคะ (แต่กระนั้น หากเด็กไม่ได้สนใจ ก็อาจจะไม่ต่างจากสายลมพัดผ่านนะคะ อิอิ ^_^ )
เพราะฉะนั้น เด็กเรียนรู้มาตลอดทั้งปี แสดงว่าเขาได้เกิดกระบวนการเรียนรู้แล้ว เราก็ประเมินในส่วนของเรื่องที่เด็กได้เรียนรู้มาค่ะ
ส่วนไหนที่ยังไม่ได้เรียน ปีต่อไปก็อาจจะสอนเสริมในส่วนของเรื่องพยัญชนะต่างๆ จัดไปตามช่วงเวลาและความพร้อมของตัวเด็กเป็นสำคัญ
💖💖การเรียนรู้สำคัญต่อคนทุกคน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ มีความรู้ต้องมาคู่กับคุณธรรมด้วยนะคะ (ฝากถึงทุกคนเลยค่ะข้อนี้)💖💖
ภาพและบทความโดย แม่หญิง 2563-01-19

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา