16 ม.ค. 2020 เวลา 04:15 • ไลฟ์สไตล์
รักโลกด้วยการงดแจกถุงพลาสติก โอเคจริงหรือ? มาดูวิธีคิดแบบเหรียญฟ้า(a blue token) และ Bags of Help/ Bags for Life แบบ Tesco ใน U.K. กันดีกว่า
อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อวันที่1 ม.ค. ที่ผ่านมา ไทยเราเปิดศักราชใหม่ด้วยการงดแจกถุงพลาสติก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ใครหลายๆคนเห็นด้วยแต่ก็ยังมีประเด็นดราม่าไม่น้อยกับคนอีกจำนวนหนึ่งที่มองว่า ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดของการลดพลาสติกบ้างล่ะ บางกลุ่มก็มองว่าห้างและร้านค้าคือคนที่ได้เปรียบเพราะลดต้นทุน แถมยังมาขายถุงอีก เป็นต้น เอาล่ะ "drama" is everywhere เป็นธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและมีคนคิดต่างอยู่เสมอ
วันนี้เพจเราจึงขอมาแบ่งปันไอเดียและเล่าเรื่องที่ได้ประสบพบเจอมาตอนไปอังกฤษเมื่อ2ปีที่แล้ว
เมื่อช่วง ก.ย. 2561 ได้มีโอกาสเข้า Tesco ซึ่ง ถือเป็น leading retailer brand ของ U.K. (ที่ต้องใช้ว่า U.K. ก็เพราะ Tesco มีอยู่ทุกหนแห่งใน U.K. ไม่เพียงแต่ในอังกฤษ (England) เท่านั้น) และเมื่อถึงตอนจ่ายเงิน หากเราไม่ได้เอาถุงมา เค้าก็จะถามเราว่าจะซื้อถุงที่เรียกว่า Bag of Help ในราคา 10p มั้ยจ๊ะ หากไม่ซื้อ(จะหอบหรือคาบของไป) หรือเอาถุงมาเอง เค้าก็จะให้เหรียญพลาสติกสีน้ำเงินสดใส (blue token) เสมือนเป็นต้นทุนราคาค่าถุงที่เค้าต้องจ่าย(ในอดีต)คืนกลับให้เรา ส่วนเหรียญฟ้านั่นเราก็จะสามารถเดินไปที่ตู้ที่อยู่ใกล้ๆที่คิดเงินเพื่อหยอดตามช่องที่เราต้องการบริจาคต้นทุนค่าถุงนี้ โดยช่องบริจาคก็จะแบ่งออกเป็นโครงการต่างๆมากมายให้เราเลือกบริจาคได้ตามจริตของเรา โดยโครงการต่างๆที่ว่า ทางTesco ได้ Join กับ Groundwork ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณะกุศลตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือสังคมที่ด้อยโอกาสในด้านต่างๆโดยมีโครงการมากมายที่องค์กรนี้ทำอยู่....แต่สำหรับคนที่จะซื้อถุงในราคา 10p ซึ่งทาง Tesco เคลมว่าถุงรุ่นนี้ทำจากพลาสติกที่recycleมา แต่มีความทนทานและนำกลับไปใช้ได้หลายครั้ง และหากชำรุดหรือเสียหายเกินกว่าจะเอามาใช้งานได้ ก็ให้เอามาเปลี่ยนใบใหม่ได้ตลอดชีพเลยจ้า (จ่าย10p ก็รับประกันถุงตลอดชีพได้นะเออ) ส่วนคนซื้อถุงก็ยังคงได้เหรียญฟ้าเช่นกัน สรุป เหรียญฟ้ามีไว้เพื่อโหวตโครงการที่คุณชื่นชอบหรือต้องการให้ Tesco มอบเงินจากการประหยัดในการใช้พลาสติกไปให้กับสังคมนั่นเอง
โดยส่วนตัว เรามองว่าความคิดนี้เวิร์คอยู่นะ ถือเป็นการช่วยพัฒนาสังคม เพราะคิดดูว่า 5p (ถ้าคิดว่าคือต้นทุนถุง) ถ้าเทียบกับค่าครองชีพไทยก็เหมือนเราบริจาคเงินแค่เศษสตางค์ซึ่งอาจจะไม่ได้มีผลหรือมี impact อะไรมากต่อผู้รับ แต่หากทุกคนช่วยกันเยอะๆ ก็กลายเป็นเงินก้อนที่สามารถช่วยสังคมได้จริงมั้ยล่ะ!!
อย่างไรก็ตาม อย่างที่บอกไปว่า "drama" is everywhere" เพราะดราม่าก็ยังไม่วายเกิดขึ้นกับประเด็นเรื่องถุงที่ขายในราคา 10p. อยู่ดี เพราะชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งกลับมองว่าในโลกความจริงคนที่ซื้อถุง 10 p ไปก็ใช่ว่าจะเอามาใช้อีก บางครั้งก็ใช้ถุง10p แค่ครั้งเดียว ก็คือทำเหมือนถุงรุ่นเก่าที่เคยได้ฟรีนั่นเองซึ่งคนกลุ่มนี้เชื่อว่าไอเดียนี้ไม่เวิร์คหรอกเพราะจะทำให้ห้างร้านผลิตถุงเยอะขึ้นอยู่ดี แถมถุงแบบหนาราคา10p นั้นยังใช้ปริมาณพลาสติกเยอะขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้ง Tesco และซุปเปอร์มาเก็ตเจ้าอื่นๆ ก็ออกมาตอบโต้ต่อประเด็นนี้ว่า ถุง10p นั้นถึงแม้จะใช้พลาสติกเยอะกว่าเดิมแต่ก็เพื่อความทนทานให้คนนำกลับมาใช้ได้อีกและพลาสติกที่ใช้ก็เป็นพลาสติกที่รีไซเคิลมาและยังเป็นแบบที่ง่ายต่อการย่อยสลายกว่าเดิมด้วย
เอาล่ะ! สรุปแล้วสรุปอีกก็คือทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดประเด็นให้คนเราคิดต่าง แต่จริงๆความคิดที่ว่ามาก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะ
1. นอกจากจะช่วยลดพลาสติกแล้ว เรายังมีส่วนร่วมในการช่วยสังคมที่ด้อยโอกาสด้วย
2. ห้างร้านต่างๆที่ใช้นโยบายนี้ก็ลดคำครหาที่ว่าเอาเปรียบผู้บริโภคโดยการลดต้นทุนค่าถุงแต่ขายของราคาเดิม
จริงๆแล้วนอกจากหลายประเทศในยุโรปจะเลิกแจกถุงพลาสติก หันมาขายถุงผ้า ถุงกระดาษ หรือถุงพลาสติกแบบทนทานแทน แต่ยังมีอีกประเทศที่เราอาจจะคาดไม่ถึงว่าเค้าเลิกใช้พลาสติกมานานกว่าเราและหลายๆประเทศในยุโรปด้วยซ้ำ นั่นก็คืออินเดีย หากใครได้ไปอินเดียและไปช้อปปิ้งซื้อของตามร้านต่างๆก็จะพบว่าเค้าใช้แต่ถุงผ้าดิบถุงกระดาษรีไซเคิล และถุงกระดาษสา ใส่ของให้ลูกค้าเท่านั้นนะจ๊ะ ซึ่งบางร้านก็คิดค่าถุง บางร้านก็ไม่คิด... ดีงามมั้ยล่ะ
ถุงกระดาษสาในอินเดีย
โฆษณา