16 ม.ค. 2020 เวลา 09:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราต้องใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะสรา้งนิสัยแบบใหม่ขึ้นมาได้ ???
เราต้องทำซ้ำนานแค่ไหนถึงจะถึง "Habit Line"
เราเคยสงสัยกันไหมว่า
จริงๆแล้วเราจะสร้างนิสัยใหม่ได้ภายในกี่วัน ???
การสร้างนิสัยจำเป็นจะต้องทำซ้ำๆผ่านเส้นนิสัยหรือ habit line ขึ้นไป
แน่นอนว่าต้องมีคนตอบว่า 21 วัน
ตาม "กฏ 21 วัน"
เราจะสร้างนิสัยใหม่ได้ภายใน 21 วัน !!!
แต่จริงๆแล้วเราสามารถสร้างนิสัยใหม่ได้ใน 21 วันจริงหรือเปล่า ???
(คงไม่จริง เพราะจั่วหัวมาขนาดนี้แล้ว)
แล้วกฏ 21 วันมันคืออะไร
มาจากไหนกันแน่ ???
ในปี 1950 มีหมอ plastic คนนึงชื่อ Dr. Maltz
หมอคนนี้แกสังเกตได้ว่าเวลาผ่าตัดศัลยกรรมคนไข้
คนไข้จะชินกับใบหน้าใหม่ในเวลาประมาน 21 วัน
หรือเวลาตัดแขน ขา คนไข้
(อันนี้คือจำเป็นต้องตัดนะ ไม่ใช่แกซาดิสท์)
คนไข้จะมี phantom pain ก่อนที่จะปรับตัวได้ใน 21 วันเช่นกัน
โฉมหน้าของ Dr. Maltz Maxwell ต้นกำเนิดกฎ 21 วัน
ทำให้ Dr. Maltz คิดว่า มันใช้เวลาอย่างน้อยประมาน 21 วันในการสร้างความคุ้นเคยใหม่ๆ
เรื่องของเรื่องคือ ต่อมา Dr. Maltz ไปเขียนหนังสือเรื่อง Psycho-Cybernetics แล้วมีประเด็นนี้อยู่ด้วย
แถมหนังสือก็ฮิตระเบิด ขายไปได้กว่า 30 ล้านเล่ม
หนังสือขายดีของ Dr. Maltz
และแล้วเกมบอกต่อๆกันก็เริ่มขึ้น
ทำให้จาก "อย่างน้อยใช้เวลา 21 วัน"
กลายเป็น "เราใช้เวลา 21 วันในการสร้างนิสัยใหม่"
และกลายเป็น "กฏ 21 วัน"
เมื่อเราพูดข่าวลือซ้ำๆ
คนก็จะเชื่อ
และมันก็จะเป็นความจริงในที่สุด
แถม 21 วันหรือ 3 อาทิตย์
ดูเป็นตัวเลขที่สั้นพอจะสร้างแรงบันดาลใจให้เราทำ
และนานพอจะทำให้เชื่อได้ว่ามันเปลี่ยนนิสัยจริงๆ
แล้วใครจะไม่ชอบความคิดที่ว่า เวลา 3 อาทิตย์ก็เปลี่ยนชีวิตได้เนอะ
เปลี่ยนนิสัยใหม่ใน 21 วัน !!!
ที่สำคัญที่สุดคือ Dr. Maltz ใช้การสังเกตคนรอบข้าง ไม่ได้ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์จริงๆในการเขียนกฏ อย่างน้อย 21 วัน
แล้วจริงๆเราต้องใช้เวลากี่วันกันแน่ในการเปลี่ยนนิสัย
(เกริ่นมายาวอิ๊บอ๋าย)
Phillippa Lally ได้ทำการทดลองจริงๆจังๆเกี่ยวกับเรื่องนี้
และได้ข้อสรุปมาว่า
โดยเฉลี่ยเราใช้เวลา"มากกว่า" 2 เดือนในการสร้างนิสัยใหม่
หรือจะเอาให้ตรงหัวข้อคือ มากกว่า 66 วันนั่นเอง
ซึ่งคำว่ามากกว่า 66 วัน บางทีอาจจะกินเวลาถึง 8 เดือนเลยด้วยซ้ำ
Phillippa Lally ผู้ที่คิดค้นกฎ 66 วันออกมา
แน่นอนว่าถ้าบอกว่าเราจะเปลี่ยนนิสัยต้องใช้เวลานานถึง 8 เดือน
คงมีคนท้อแท้เยอะแน่ๆ
แต่อย่างน้อยมันก็มีข้อดีคือ
1. เวลาเราทำอะไรแล้วไม่สามารถเป็นนิสัยใหม่ได้สักทีในระยะเวลาอันสั้น
มันไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว
เพียงแต่เราอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น
บางทีเราอาจจะต้องก้าวไปอีกสัก 4-5 ขั้นเพื่อสร้างนิสัยใหม่
2. ตลอดระยะเวลาที่คุณฝึกนิสัยใหม่
คุณไม่จำเป็นต้องทำให้มันสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ
การมีข้อผิดพลาดบ้าง
ล้มเหลวบ้าง
ไม่ได้ทำให้คุณพลาดนิสัยใหม่นั้นไป
เพราะมันไม่ใช่ all or none process
ความผิดพลาดจะทำให้เราพัฒนาวิธีการสร้างนิสัยใหม่ให้เราได้ดียิ่งขึ้น
ความล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความสำเร็จ แต่คือกระบวนการของความสำเร็จ
3. ทำให้เราเข้าใจว่านิสัยใหม่เป็นกระบวนการระยะยาว
ไม่ใช่ฝึก 21 วัน
ได้นิสัยใหม่แล้ว พอได้เลย
แต่เป็นกระบวนการที่เราต้องทำไปทีละเล็กทีละน้อย
ไม่ใช่จะทำได้ทั้งหมดในครั้งเดียว
สุดท้ายแล้วมันก็คงจะเหมือนกับการลงทุน
ที่เราต้องทำมันไปเรื่อยๆ ล้มบ้างลุกบ้าง
ปีทองที่ดีปีเดียวไม่สามารถทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงินได้
และปีที่เลวร้ายปีเดียวก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเป็นไอ้ขี้แพ้ที่ล้มเหลวตลอดเช่นกัน
บนหนทางที่ยาวนานในการเปลี่ยนนิสัย
จะ 66 วันหรือ 365 วัน ก็ต้องเริ่มที่ day 1 เหมือนกัน
นิสัยที่ดี
เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ครับ
day one กับ one day
บางที่มันต่างกันแค่ที่เราเลือกเท่านั้นจริงๆ
เราเลือกได้ครับ ว่าวันนี้จะเป็น day one หรือ one day
โฆษณา