20 ม.ค. 2020 เวลา 03:10
บริษัทต้องมีกำไรเท่าไร ถึงจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้?
2
การเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกเรียก IPO
คำว่า IPO เป็นสิ่งที่เจ้าของบริษัทหลายคนใฝ่ฝัน
โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัปที่ยึดคำว่า IPO เป็นตัวชี้วัดว่าบริษัทนั้นประสบความสำเร็จ
7
IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering ซึ่งแปลว่าการนำหุ้นของบริษัทไปขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้กับคนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยจุดประสงค์หลักก็เพื่อระดมเงินทุนเพิ่มเติม
1
สิ่งที่เป็นคำถามต่อไปของทุกคนก็คือ
แล้วบริษัทเราต้องกำไรมากแค่ไหนถึงจะ IPO กับเขาได้?
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ของไทยเรา มี 2 ตลาด คือ SET และ mai
การระดมทุนใน 2 ตลาดนี้ บริษัทของเราจะต้องมีสถานะเป็น บริษัทมหาชนจำกัด เสียก่อน
นอกจากนั้นบริษัทยังต้องมีผลประกอบการตามเกณฑ์ที่กำหนดด้วย
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิ 2 - 3 ปีล่าสุด รวมกันมากกว่า 50 ล้านบาท
โดยในปีล่าสุดกำไรสุทธิจะต้องเกิน 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 300 ล้านบาท
3
ส่วนตลาด mai บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดมากกว่า 10 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 50 ล้านบาท
2
แต่ถ้าบริษัทที่ต้องการจะ IPO ไม่มีกำไร บริษัทสามารถเลือกใช้อีกเกณฑ์ได้ ซึ่งก็คือเกณฑ์ของมูลค่าตลาด
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 7,500 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วน mai บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
1
และนี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมสตาร์ตอัปในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะขาดทุน แต่ก็ IPO ในตลาดหลักทรัพย์ได้
1
ยกตัวอย่างเช่น UBER ที่เพิ่ง IPO เข้าตลาดในเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา
ก็ขาดทุนอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะขายหุ้นให้กับนักลงทุนทั่วไป
2
ผลประกอบการ UBER
1
Q3 ปี พ.ศ. 2560 รายได้ 91,000 ล้านบาท ขาดทุน 30,000 ล้านบาท
Q4 ปี พ.ศ. 2560 รายได้ 92,000 ล้านบาท ขาดทุน 27,000 ล้านบาท
Q1 ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 96,000 ล้านบาท ขาดทุน 31,000 ล้านบาท
1
Cr. Wall Street Journal
หรือแม้แต่กรณีของ Wework ที่เตรียมจะ IPO ในช่วงปลายปีที่แล้ว
ก็มีผลขาดทุนในปี 2018 เกือบ 6 หมื่นล้านบาท
2
แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้เข้าตลาดเนื่องจากปัญหาความไม่โปร่งใสและการบริหารงานของ CEO
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ IPO ในตลาดต่างประเทศอาจแตกต่างจากของประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยเองก็มีบริษัทที่ขาดทุน แต่ก็สามารถ IPO ได้เช่นกัน
2
รู้หรือไม่ว่า ANAN หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง IPO ในปี พ.ศ. 2555 ในตอนนั้นบริษัทก็มีผลประกอบการขาดทุน
ผลประกอบการของ ANAN ปี พ.ศ. 2554 รายได้ 5,661 ล้านบาท ขาดทุน 317 ล้านบาท
1
ซึ่งถ้าดูในกรณีของ ANAN บริษัท IPO ด้วยราคา 4.20 บาทต่อหุ้น บริษัทจะมีมูลค่า 13,999 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2554 มี EBIT 204 ล้านบาท
ด้วยเหตุนี้ ANAN จึงสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้แม้ว่าจะขาดทุน แต่ใช้เกณฑ์มูลค่าตลาดแทน
1
Cr. Ananda
อ่านมาถึงตรงนี้เราคงจะเห็นว่า
จริงๆ แล้ว การนำบริษัทเข้า IPO ไม่ได้จำเป็นต้องมีกำไรมหาศาล
ขั้นต่ำสุดก็เพียง 10 ล้านบาท
หรือหากบริษัทขาดทุน แต่มีขนาดใหญ่พอ ก็สามารถใช้เกณฑ์มูลค่าตลาดอย่างในกรณีของ ANAN ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหนึ่งในข้อกำหนดของการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
เพราะจริงๆ แล้ว การ IPO ยังมีเงื่อนไขอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในด้านตัวเลขงบการเงิน รวมถึงการบริหารงานที่เป็นระบบ ทั้งการกำกับดูแลกิจการ และการควบคุมภายใน
1
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อความน่าเชื่อถือของบริษัทจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน
2
แต่อย่าลืมว่า ต้นทุนของบริษัทที่จะต้องตามมาหลังจากนี้ ก็คือ ต้นทุนในการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงความอิสระในการบริหารงาน
1
เพราะว่าบริษัทจะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้นมา นั่นก็คือ ผู้ถือหุ้นที่เป็นสาธารณชน นั่นเอง..
References
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีของ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
1
โฆษณา