17 ม.ค. 2020 เวลา 12:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เส้นเลือด กบ 🐸🍒
ช่องอก
sinus venosus
hepatic portal system : mainly - hepatic portal vein + common bile duct
[] = Systemic Arch /// () ขาว = Renal Vein /// () เหลือง = Celiacomesenteric Artery
[] ฟ้า = Renal Artery อยู่ dorsal กว่า Vein
รูปซ้าย [] = Common Iliac Artery /// รูปซ้าย () , รูปขวา [] = Ventral Abdominal Vein
เส้นเลือด ฉลาม 🦈😬
() ขาว = Posterior Mesenteric Artery /// () ฟ้า = Anterior Mesenteric Artery /// [] = Celiac Artery /// ศร = Dorsal Aorta
Dorsal Aorta ทอดยาวตลอดลำตัว => ที่หางเรียก Caudal Artery
ภาพที่ 4 : เห็นรอย Efferent Branchial A. เหนือเพดานปาก
hepatic portal system : common bile duct + hepatic portal vein
เห็น Gill Raker แล้วก็...แมงกินลิ้น
ระบบเลือดของฉลาม เหมือนกันทั้งครีบดำและฉลามกบ
.
ถ้าเริ่มต้นดูที่หัวใจก่อน
.
หัวใจของฉลามครีบดำและฉลามกบ จะเป็นทางผ่านสำหรับเลือดดำจากร่างกายไปฟอกที่ Gill โดยเฉพาะ
.
ประเภทของระบบเลือดในฉลาม จึงเรียกว่า Single Circuit หรือมีแค่เลือดดำจากร่างกายวงจรเดียวเท่านั้น ที่ผ่านหัวใจ
.
ต่างกับในกบ ที่มีทั้งเลือดดำและเลือดแดงผ่านหัวใจ ซึ่งเรียกว่า Double Circuit หรือเลือด 2 วงจรผ่านหัวใจ อันได้แก่ เลือดดำจากร่างกาย และเลือดแดงจากปอดและผิวหนัง
.
หัวใจของฉลามนั้น เป็นทางผ่าน ของเลือดดำจากร่างกายส่วนต่างๆ ไปฟอกที่ Gill โดยเลือดดำนั้นจะเข้าสู่ห้อง Sinus Venosus ซึ่งเป็นศูนย์รวมเลือดดำจาก Common Cardinal Sinus และ Hepatic Veins จึงมีรูเปิดสำหรับ CCS และ HV อย่างละ 2 ช่อง รวมเป็น 4 ช่อง
.
เลือดดำไหลจาก Sinus Venosus ผ่านไปที่ Atrium , Ventricle , Conus Arteriosus แล้วก็ Ventral Aorta จากนั้นก็จะเข้าสู่ Gill ทาง Afferent Branchial Artery ซึ่งมีทั้งหมด 5 คู่ นับแบบอาจารย์ศัน.
.
มาพูดถึง Gill Gill นั้นมีองค์ประกอบหลักๆ 3 อย่าง คือ Gill Arch , Gill Rakers และ Gill Filaments
.
Gill Arch เป็นโครงยึด Gill filaments Gill Rakers เป็นซี่หยักๆบน Gill Arch ส่วนที่อยู่ข้างในช่องปากฉลาม มีหน้าที่ดักไม่ให้เหยื่อที่เข้าอยู่ในปากฉลาม หนีออกมาทางช่องเหงือก
.
และ Gill Filaments เนื้อเยื่อสีแดงสด ทำหน้าที่แลกเปลี่ยน Gas และถ่ายของเสีย พวก N-waste
.
แต่ถึงจะพูดแบบนี้ อวัยวะขับถ่ายของเสียหลักก็ยังเป็นไตอยู่ดี
.
แล้ว Gill Filaments ยังแบ่งออกได้เป็น Pretrematic Hemibranch กับ Posttrematic Hemibranch ซึ่งแยกกันที่ตำแหน่ง
.
หากแยงนิ้วเข้าไปใน Gill Chamber Pretrematic Hemibranch หรือ Pretrematic Gill Lamellae จะอยู่ฝั่งที่ใกล้หัวกว่า Posttrematic Hemibranch หรือ Posttrematic Gill Lamellae จะอยู่ฝั่งที่ไกลจากหัวมากกว่า
. 👅💦
.
เลือดดีที่เกิดจากการฟอกโดย Gill จะส่งออกไปเลี้ยงร่างกายทาง Efferent Branchial Artery ซึ่งมีทั้งหมด 4 คู่ นับแบบอาจารย์ศัน.
.
Efferent Branchial Arteries จากเหงือกจะมารวมกันเป็น Dorsal Aorta
.
Dorsal Aorta คือเส้นเลือดแดงแกนหลักที่พาดผ่านตลอดความยาวลำตัว และเปลี่ยนชื่อเป็น Caudal Artery เมื่อจะสื่อว่าไปเลี้ยงส่วนครีบหาง
.
แขนง'หลักๆ'จาก Dorsal Aorta มีดังต่อไปนี้ เรียงตามลำดับจากหัวไปท้าย
.
Subclavian Artery ไปรยางค์ขาคู่หน้า (ครีบ)
.
Celiac Artery ไปเลี้ยงระบบย่อยอาหาร
.
Renal Arteries ไปที่ไต อันนี้เห็นไม่ชัด
.
Anterior Mesenteric Artery ไปเลี้ยงลำไส้
.
Posterior Mesenteric Artery ไปเลี้ยงลำไส้และ Rectal Gland
.
Femoral Arteries ไปเลี้ยงครีบสะโพก Pelvic Fin
.
เป็นอันจบ ระบบเลือดแดงของฉลาม
.
เมื่อมีการลำเลียงเลือดดีไปเลี้ยงร่างกายแล้ว ก็ย่อมมีการพาเลือดเสีย หรือเลือดดำ กลับไปฟอก หมุนเป็นวงจร
.💫💌
.
ระบบเลือดดำของฉลาม เริ่มจากใกล้หัวใจ แต่พึงสังวรณ์ เลือดดำไหล 'เข้าสู่' หัวใจ
.
จำ 4 รูเปิด ที่ Sinus Venosus ได้ใช่ไหม เราจะเริ่มต้นกันตรงนั้น
.
• ° ° •
• คือทางเข้าเลือดจาก Common Cardinal Sinus
° คือทางเข้าเลือดจาก Hepatic Veins
.
หลอดเลือดที่เปิดเข้าสู่ Common Cardinal Sinus ได้แก่ Anterior Cardinal Vein, Inferior Jugular Vein และ Subclavian Vein ทั้งหมดนี้นำเลือดมาจากส่วนหัว จำสั้นๆว่า คา ลา คลา ก็ได้
.
เลือดจากส่วนลำตัว ยกเว้นตับ ถูกรวบรวมมาอยู่ที่ Posterior Cardinal Sinus ก่อนจะเป็นเข้า Common Cardinal Sinus
.
ส่วน Hepatic Veins นั้น นำเลือดมาจากตับ
.
มาพูดถึงแขนงเส้นเลือดต่างๆ เริ่มที่แขนงเข้าสู่ Common Cardinal Sinus ส่วนหัวเราไม่ต้องไปจำไรยิบย่อยอีกแล้ว ต่างจากส่วนลำตัว
.
แขนงสำคัญๆที่พาเลือดเข้า Posterior Cardinal Sinus ได้แก่ คู่ Posterior Cardinal Veins ที่ทอดขนานแกนลำตัว ขนาบ Dorsal Aorta ที่ไม่ใช้คำว่า ทับ เพราะพวกมันเป็นเส้นคู่ มองแทบไม่เห็นนอกจากย้อมสี
.
มีแขนงย่อย Renal Veins นำเลือดออกจากไตเปิดสู่เส้นเลือดนี้
.
นอกจากนี้ ระบบเลือดดำยังพิเศษกว่าเลือดแดง ตรงที่มี Portal System
.
Portal System คือ ระบบเลือดดำที่เข้าสู่อวัยวะ ได้แก่ ตับและไต
.
Hepatic Portal System ระบบเลือดดำเข้าตับ
.
เลือดจาก ตับ กระเพาะ และลำไส้เล็ก เข้าสู่ตับทางหลอดเลือด Hepatic Portal Vein ซึ่งรวมอยู่ในมัดเดียวกันกับ Common bile duct ที่พาน้ำดีจากตับเข้าสู่ Duodenum
.
Hepatic Portal Vein ของฉลามนั้น จะอยู่ค่อนไปทางลำตัวด้านขวามือฉลาม เมื่อมองจากฝั่ง Ventral ยก lobe ตับขึ้น จะเห็นเอง
.
มัดของ Hepatic Portal Vein และ Common Bile Duct จะถูกหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้อง ที่สีเหมือนกระดาษไข
.
อีกระบบ Renal Portal System ระบบเลือดดำเข้าไต
.
ประกอบไปด้วย Renal Portal Veins สังเกตเห็นได้ ว่าอยู่ขอบไตด้านนอก (ไกลสันหลัง)
.
นำเลือดจาก Caudal Vein เข้าสู่ไต
.
ภาพแรก 9 : Femoral Artery
ภาพแรก *ผ่า*กลาง Septa
-ปลา Agnatha มี Heart แล้ว
-Lamprey วิวัฒน์ไปเป็นปลา งั้นหรอ ? ทั้งที่การดำรงชีพของมันอาศัยการดูดเลือดจากปลา นะ...
โฆษณา