22 ม.ค. 2020 เวลา 05:50 • ประวัติศาสตร์
สุดยอดวิธีช่วยจำ “Memory Palace” เทคนิคที่คนระดับโลกเลือกใช้
วิธีการสร้าง Memory Palace Step 1: การเลือกสถานที่ที่จะมาเป็น Memory Palace ของเรา เนื่องจากมนุษย์สามารถจะจดจำสถานที่ได้ดีที่สุด ดังนั้น เราจึงต้องเลือกสถานที่นี้จะกลายเป็นทำหน้าที่เก็บความทรงจำของเรา หรือที่เราจะเรียกว่า “Memory Palace” หรือมองง่ายๆว่ามันเป็นโกดังเก็บความจำก็ได้ โดยหลักในการเลือก Memory Palace นั้น คือ
เลือกสถานที่ที่เราคุ้นเคยกับมันมากๆ และรู้จักดีทุกซอกทุกมุม
ควรเป็นสถานที่จริง(จะดีกว่าสถานที่ในจินตนาการ
Step 2: เลือกเส้นทางการเดินใน Memory Palace
การเลือกเส้นทางในการเดินใน Memory Palace ก็เพื่อที่จะทำให้เราเรียงลำดับการจำได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการจำที่ต้องการการเรียกคืนแบบเป็นลำดับ เช่น การจำวันเกิด, การจำรายการสิ่งที่ต้องทำ(todo list), การจำไพ่ในสำรับ, การจำลำดับคนเข้าก่อนหลัง เป็นต้น โดยเราจะสามารถเรียกข้อมูลกลับมาได้ “จากหน้าไปหลัง” หรือ “จากหลังกลับมาหน้า” ก็ได้ เมื่อเรามีเส้นทางที่แน่นอนแล้ว แต่ถ้าเกิดว่า ข้อมูลที่จะจำ ไม่จำเป็นต้องเรียกคืนแบบมีลำดับ เช่นข้อมูลประเภท รายการซื้อของ(shopping list), สิ่งของที่เก็บอยู่ในกล่อง เป็นต้น การกำหนดเส้นทางการเดินใน memory palace อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ โดยที่เราถ้าหวังว่า ตอนที่จะเรียกข้อมูลกลับคืน จะเดินสุ่มๆไปใน memory place แล้ว ข้อมูลนั้นจะเด่นสะดุดตาขึ้นมาทำให้เราจำได้ มันเป็นไปได้, …. แต่ก็ยังคงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้วิธีจำเส้นทาง ซึ่งจะแน่นอนในการเรียกข้อมูลกลับมามากกว่า การเลือกเส้นทางมีหลักคือ
แต่ละจุดของเส้นทางการเดิน นั้นคือ สิ่งของ(object) หรือ บริเวณ(place) ก็ได้
เริ่มจากจุดที่สังเกตง่ายจากตอนก่อนเข้าบ้าน เช่น กล่องจดหมายหน้าบ้าน, พรมเช็ดเท้าหน้าประตู, ประตู, หรือ ที่จอดรถหน้าบ้าน
เลือกเส้นทางเดินที่ปกติตัวเองจะใช้เส้นทางนั้นบ่อยๆ จะทำให้จำได้ง่ายขึ้น และถึงจะลืมไปก็จะกลับมาจำได้ใหม่ได้ง่าย
Step 3: แปลงสิ่งที่ต้องการจะจำให้กลายเป็นภาพ
สมองคนมีความสามารถในการจำภาพ ได้ดีกว่าจำตัวอักษรเป็นคำๆ และยิ่งความจำนั้นได้รวบรวมเข้ากับประสาทสัมผัสหลายๆอย่างเข้าด้วยกันแล้ว เราจะยิ่งจำอะไรได้ง่ายขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่น พอเราพูดถึง “ท่อระบายน้ำ” เราจะไม่ได้นึกออกมาเป็นคำๆว่าคำนี้ประกอบด้วยตัวอักษร ‘ท่’,’อ’,’ร’,’ะ’,’บ’,’า’,’ย’,’น้’,’ำ’ แต่เรากลับจะนึกถึง รูปร่างของมัน, สีดำของน้ำครำ, และบางคนจะรู้สึกได้ถึงกลิ่นของมันขึ้นมาทันที Water Ang กล่าวว่า …
(สมองจะจำได้ดีที่สุดในสิ่งที่ ซ้ำๆกัน, เป็นจังหวะ, มีโครงสร้างชัดเจน, และเหนือสิ่งอื่นใด สามารถทำให้เป็นภาพได้ง่าย)
และยังมีการค้นพบ อีกว่า …
“Words that rhyme are much more memorable than words that don’t; concrete nouns are easier to remember than abstract nouns; dynamic images are more memorable than static images; alliteration aids memory.”
(คำที่มีจังหวะ จะจำได้ง่ายกว่าคำที่ไม่มีจังหวะ; คำนามที่เป็นรูปธรรมจะจำง่ายกว่าคำนามที่เป็นนามธรรม; ภาพเคลื่อนไหวจะจำได้ง่ายกว่าภาพนิ่ง; คำคล้องจองก็ช่วยให้จำง่ายขึ้น)
ดังนั้น หลักในการแปลงสิ่งที่จะจำ คือ
แปลงสิ่งเหล่านั้นเป็นภาพอะไรก็ได้ที่มันโดดเด่นชัดเจน
ภาพเคลื่อนไหว จะทำให้จำได้ง่ายกว่า ภาพนิ่ง
ภาพที่มีสีสันฉูดฉาด จะจำได้ง่ายกว่า
ถ้าสามารถแปลงให้เป็นสิ่งที่ต้องใช้หลายๆประสาทสัมผัสร่วมกัน จะจำได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้ภาพ(ประสาทตา) ร่วมกับกลิ่น (ประสาทจมูก) หรืออาจจะพ่วงประสาทสัมผัส,การได้ยิน,และรสสัมผัสลงไปด้วย
ภาพที่จะทำให้จำติดตาได้คือ
ภาพนั้นเกี่ยวกับเพศ เช่นเพศตรงข้าม หรืออะไรทะลึ่งๆ จะทำให้คนจำได้ดี(มากๆ)
ภาพนั้นเกี่ยวกับเรื่องตลกโปกฮา หรือเรื่องแปลกประหลาด (ทำให้อารมณ์ดีมากๆ)
ภาพนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่แย่ๆ น่าเกลียดมากๆ
สำหรับการจำชื่อคน ก็พยายามนึกหน้าให้ออก และอ้างอิงกับชื่อสิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ชื่อคล้ายกัน
สำหรับการจำตัวเลข มีได้สองวิธี คือ
ใช้เพิ่มจำนวนภาพๆนั้น ให้เท่ากับ ตัวเลขที่ต้องการจำ
หรือ สร้างระบบการจำตัวเลขขึ้นมา เช่น เห็นห่วงยางหมายถึงเลข 0 , เห็นปืนหมายถึงเลข 7 เป็นต้น แล้วก็ต้องใช้วิธีท่องจำระบบนั้นเอง
สำหรับการจำประโยคหรือกลอน ที่ต้องการคำแบบเป๊ะๆ ถ้าจินตนาการให้เป็นภาพก่อนแล้วจะมีปัญหาตอนแปลงจากภาพกลับไปเป็นประโยค จะได้ประโยคไม่เหมือนเดิม โดยทางแก้คือ ให้เปลี่ยนจากการแปลงให้เป็นภาพ(ประสาทตา) ให้แปลงให้เป็นเสียงแทน(ประสาทหู) และทำให้ประโยคหรือกลอนนั้นอยู่ในรูปแบบเพลง หรือกลอนที่มีจังหวะชัดเจนให้ได้ แล้วจึงใช้เสียงนี้กับใน memory palace (โดยอาจจะเพิ่มภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงด้วย เช่น นักร้องที่ชอบกำลังร้องเพลง(กลอน)นี้ หรือว่าเป็นเครื่องเสียงเปิดแผ่นกำลังเปิด
Step 4: นำภาพๆ นั้นเอาไปไว้ในตำแหน่งต่างๆ ในเส้นทางเดินที่เราตั้งไว้
ขั้นตอนนี้ก็ง่ายๆ แค่เพียง จินตนาการว่า ของสิ่งที่เราคิดภาพเอาไว้แล้ว มันไปอยู่ตามจุดต่างๆ ตามทางเดินใน memory palace ของเราเท่านั้นเอง เพียงแค่วางลงไปในมโนภาพ ก็ถือว่าเราได้จำมันแล้ว
Step 5: การเรียกใช้ Memory Palace
เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการเรียกใช้ Memory Palace เราก็เริ่มด้วยการไปที่จุดตั้งต้นของเส้นทางการเดิน นั้น แล้วก็เดินตามมโนภาพไป และคอยสังเกตไปด้วยว่าเราเห็นสิ่งอะไรบ้างในระหว่างนั้น โดยถ้าสิ่งที่เราจำเป็นภาพเคลื่อนไหวด้วยแล้ว มันก็จะเตะตาทำให้เราเห็นได้โดยง่าย หลังจากนั้นจึงมาตีความย้อนกลับไปว่า สิ่งที่เห็นนั้นมีความหมายว่าอะไร เมื่อได้แล้ว ก็ก้าวต่อไปตามเส้นทางการเดินต่อไปจนจบทางเดิน
Step 6: เมื่อต้องการจะจำข้อมูลใหม่
เมื่อต้องการจะเลิกจำข้อมูลใหม่ เราอาจจะทำโดยการเริ่มสร้าง Memory Palace เป็นอีกสถานที่นึงที่เป็นคนละที่กับอันเก่าก็ได้ หรือ ถ้าเราต้องการที่จะใช้ที่ๆเดิม ก็ให้ใช้วิธีจำว่าของ/คนที่เคยอยู่ตรงนั้นได้เดินจากไปจากตำแหน่งนั้นแล้ว และให้จินตนาการของใหม่ที่ต้องการจะจำเข้าไปแทนที่ ลองเอาเทคนิคนี้ไปใช้กับชีวิตและการทำงาน ซึ่งถ้าลองฝึกฝนดีๆ จะสามารถช่วยเราในหลายๆเรื่องเลยทีเดียว
โฆษณา