22 ม.ค. 2020 เวลา 16:09 • การเมือง
#ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
การประชุมคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 18
วันนี้ เรื่องที่พิจารณาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
เชิญผู้เข้าร่วมการประชุม
1. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
2. สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
3. กรมเจ้าท่า
4. กรมโยธาธิการและผังเมือง
5. ผู้แทนภาคประชาชน ชมรม Beach for life
.
ผู้ร้องเรียน ชมรม Beach for life
ร้องเรียนว่ากำแพงกันคลื่น ทำให้พลังงานเข้าปะทะชายฝั่งสูงขึ้น และเกิดปัญหาการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ มติ 17 พ.ย. 56 ได้ทำให้กำแพงกันคลื่นถูกนำออกจากสารระบบไม่ต้องทำ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทางชมรมเรียกร้องให้ภาครัฐ ควรทำ EIA ของโครงการตั้งแต่ปี 57 เพื่อตรวจสอบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือไม่
.
สำนักงานนโยบายและแผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ชี้แจงว่าการติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการสร้างกำแพงริมทะเลชายฝั่งที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วนั้น หน่วยงานได้ตรวจวิเคราะห์ก่อนดำเนินการโครงการ ว่ามีการกัดเชาะชายฝั่งแค่ไหนถึงเริ่มดำเนินการ เมื่อก่อนกฏหมายระบุ ระยะเกิน 200 ม. ต้องทำ EIA(รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม) แต่การทำ EIA ใช้ระยะเวลานานอย่างน้อย 6-8 เดือน ทั้งที่สภาพปัญหามีความเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไข ถ้าไม่ทำอะไรเลย วงรอบของปัญหาการกัดเชาะจะนานกว่าการฟื้นฟูตัวเองทางธรรมชาติ EIA เลยไม่มีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาแล้วจึงเห็นควร ยกเว้นให้การก่อสร้างกำแพงริมชายฝั่งความยาวตั้งแต่ 200 ม. ขึ้นไป ไม่ต้องจัดทำรายงาน EIA เพื่อลดระยะเวลาของขั้นตอนและกระบวนการจัดทำและพิจารณารายงาน เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะที่กระทบต่อทรัพย์สินและที่ดินของตนเองได้อย่างรวดเร็ว
ทส. โดย สผ. และ ทช. ได้หารือร่วมกับ กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธฺการและผังเมือง เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 ได้ข้อสรุปร่วมกันในการดำเนินการระยะต่อไป
.
1. การจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะต้องทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environment Assessment : SEA) ด้วย
2. โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ไม่ต้องทำรายงาน EIA ให้จัดทำเป็นรายงานด้านสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบด้วย เช่น Environmental checklist
.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
ชี้แจงว่าปัญหาทางทะเลและชายฝั่ง เพราะการขาดสมดุลของตะกอนเข้า-ออก ตามกระแสน้ำ และปัญหา Climate change การยกเลิก การทำรายงาน EIA ทำให้ ทช. ดำเนินการได้ทันต่อสภาพปัญหาในพื้นที่ รักษาพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะได้มากขึ้น กำแพงกันคลื่นเป็นตัวรบกวนตะกอนทางธรรมชาติมากที่สุด และไม่ควรสร้างในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่มีการกัดเซาะของชายฝั่ง ปัญหาปัจจุบันคือทาง ทช.ยังขาดงบแบบบูรณาการ ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะ
.
กรมโยธาธิการและผังเมือง และ กรมเจ้าท่า
ชี้แจงว่าจะดำเนินการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะ ตามคำร้องขอของประชาชนในพื้นที่ โดยจะทำการสำรวจ รับฟังความคิดเห็น ศึกษาออกแบบ และถึงดำเนินการก่อสร้างโดยทำเพื่อปกป้องบ้านเรือน ถนน ที่ทำกินประชาชนเป็นหลัก ป้องกันการสูญเสียดินแดนทางธรรมชาติ และยอมรับว่าการกัดเซาะท้ายเขื่อนมีจริง จากการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และไม่สามารถรอให้มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติได้
.
ผู้ร้องเรียน ชมรม
Beach for life
เสนอแนะว่าบางโครงการไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง เรียกร้องความรอบคอบในการพิจารณา ความจำเป็นในการทำ EIA
.
ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
มีข้อเสนอแนะว่า ควรดูขนาดของปัญหา ถ้าการกัดเซาะเป็นแบบชั่วคราว ควรใช้โครงสร้างป้องกัน
แบบชั่วคราว ถ้าการกัดเซาะเป็นแบบถาวร ก็ควรใช้โครงสร้างป้องกันแบบถาวร ซึ่งในต่างประเทศก็มีการป้องกันชายฝั่งแบบนี้ ในเชิงวิศวกรรมสามารถทำได้ ให้พิจารณาหลักความจำเป็นต้องมาก่อน ว่าจำเป็นแค่ไหน? มีผลกระทบที่ตามมาอย่างไร?
.
มติคณะกรรมาธิการ มีข้อสรุปว่า
ควรออกมาตราการให้มีการทำแผนการจัดการงบประมาณแบบบูรณาการ ปี 64 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นเจ้าภาพ โดยการศึกษาผลกระทบของกำแพงกันคลื่นแบบแข็ง และเสนอจัดทำรูปแบบการป้องกันที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
.
ปษ.กมธ.ทส
อัศวรักษ์
โฆษณา