Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nutraceutical
•
ติดตาม
23 ม.ค. 2020 เวลา 10:07 • สุขภาพ
จริงไหมโคเอนไซม์ คิว 10 ยูบิควินอล และ ยูบิควิโนน เปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้ จะซื้อตัวไหนทานก็ไม่ต่างกัน
โคเอนไซม์ คิว 10 มี 2 รูปแบบ คือ ยูบิควิโนน (Ubiquinone) และ ยูบิควินอล (Ubiquinol) ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบจะเป็นคู่กัน สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างกันได้ จากปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า Reduction – Oxidation Reaction
หรือ เรียกสั้นๆว่า ปฏิกิริยารีดอกซ์ (เป็นปฏิกิริยาทางเคมีอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการรับและส่งอิเล็กตรอนครับ)
หรือเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า ยูบิควินอล คือโคเอนไซม์ คิว 10 ที่อยู่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเราเรียกว่า Reduced form ส่วนยูบิควิโนน คือ โคเอนไซม์ คิว 10 ที่ยังไม่สามารถออกฤทธิ์ได้
ต้องผ่านปฏิกิริยารีดอกซ์ ตามที่ผมกล่าวข้างต้นก่อน เมื่อยูบิควิโนนผ่านปฏิกิริยานี้ ก็จะกลายเป็น ยูบิควินอล ที่พร้อมจะออกฤทธิ์ได้
และเมื่อ ยูบิควินอล ออกฤทธิ์ต่างๆในร่างกายเสร็จแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นยูบิควิโนน ที่ยังไม่พร้อมจะออกฤทธิ์ จะต้องกลับเข้าสู่ปฏิกิริยารีดอกซ์ใหม่อีกครั้ง หมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดูรูปภาพประกอบจะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ
ถึงแม้ว่า โคเอนไซม์ คิว 10 ทั้งสองรูปแบบจะเปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา แต่จากการศึกษา เราพบว่า อายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ มีผลทำให้ปฏิกิริยารีดอกซ์ ที่จะเปลี่ยนยูบิควิโนนไปเป็น ยูบิควินอลที่พร้อมมออกฤทธิ์ได้ จะเกิดขึ้นได้น้อยลง ทำให้ร่างกายมีปริมาณของโคเอนไซม์ คิว 10 ที่พร้อมจะออกฤทธิ์ต่างๆในร่างกายลดลง
และถึงแม้เราจะรับประทานอาหารที่มีโคเอนไซม์ คิว 10 อยู่ในปริมาณมากก็ไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับ ยูบิควินอลมากขึ้นตามไปด้วยครับ เพราะว่าโคเอนไซม์ คิว 10 ที่อยู่ในอาหารต่างๆตามธรรมชาติ ที่ยังไม่ผ่านการประกอบเป็นอาหาร
เช่น เนื้อดิบๆ ถึงแม้จะอยู่ในรูปแบบยูบิควินอลที่พร้อมจะออกฤทธิ์ได้ทันที แต่เมื่ออาหารเหล่านั้น ผ่านการประกอบอาหาร ยูบิควินอลก็จะถูกเปลี่ยนเป็นยูบิควิโนนทันที
และถึงแม้อาหารบางชนิดที่เรารับประทานดิบๆ เช่น อาหารญี่ปุ่นพวกปลาดิบต่างๆ จะมียูบิควินอล อยู่ก็ตาม แต่เมื่อเรารับประทานเข้าไป กรดในกระเพาะอาหารก็จะเปลี่ยนยูบิควินอลไปเป็นยูบิควิโนน อยู่ดีครับ
ฉะนั้น จึงได้มีการนำโคเอนไซม์ คิว 10 ในรูปแบบยูบิควินอล มาใช้ทดแทน การที่ร่างกายสร้างได้น้อยลงในรูปแบบอาหารเสริมต่างๆครับ
สรุป โคเอนไซม์ คิว 10 ทั้งสองรูปแบบ เปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา แต่ อายุที่มากขึ้น และการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ อาจทำให้ร่างกายเปลี่ยนโคเอนไซม์ คิว 10 ให้อยู่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้น้อยลง จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การเลือกรับประทานโคเอนไซม์ คิว 10 ในรูปแบบที่พร้อมออกฤทธิ์ได้ คือ ยูบิควินอล (Ubiquinol) อาจเป็นทางเลือกหนึ่งครับ
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย