25 ม.ค. 2020 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
แผนเติบโตของ Sabina
Sabina ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งในช่วงแรกของการดำเนินกิจการ บริษัทฯ เน้นไปที่การทำธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM) เป็นหลัก
ต่อมา..ในปี พ.ศ. 2549 บริษัทฯ เริ่มเน้นไปที่การสร้างแบรนด์ตัวเองมากขึ้น ทำให้บริษัทฯ มีการเติบโตทั้งรายได้และกำไรขั้นต้น (GPM)
มาวันนี้ Sabina มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตอยู่พอสมควร เรามาลองดูกันดีกว่าว่ากลยุทธ์ต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง
ธุรกิจของ Sabina
Sabina ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในสตรี โดยมีรายได้มาจาก 2 ส่วน คือ ขายสินค้าแบรนด์ตัวเอง และรับจ้างผลิต (OEM)
ปัจจุบันบริษัทฯ มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าของตัวเองผ่านทางหน้าร้าน หรือ Sabina Brand และช่องทาง Non Store Retailing ต่างๆ เช่น home shopping รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ เช่น Shopee official store, Lazada flagship store เป็นต้น
นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังมีการส่งออกไปยัง CLMV ผ่านทางตัวแทนจำหน่าย (Distributor) อีกด้วย
หากย้อนดูผลประกอบการในอดีตจะพบว่าสัดส่วนรายได้จาก OEM ค่อย ๆ ลดลงมาจาก 60% ในปี 2006 มาเหลือเพียง 9% ในปี 2018 ขณะที่สัดส่วนรายได้ของสินค้าแบรนด์ของบริษัทเองเพิ่มขึ้นจาก 40% ในปี 2006 มาเป็น 91% ในปี 2018
นี้จึงทำให้ GPM ของบริษัทดีขึ้นมาก
แผนการเติบโตของ Sabina
Sabinaได้แจ้งใน Opportunity Day Q3/2019 ถึงกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ ซึ่งพอจะสรุปประเด็นได้ ดังนี้
1.เน้น Outsourcing มากขึ้น
หากไปดูกำลังการผลิตของ Sabina จะพบว่า ใกล้ 100% มานานแล้ว แต่การที่รายได้ยังโตขึ้นได้ เป็นเพราะมีการจ้างผลิต (Outsourcing) จากต่างประเทศมากขึ้นนั้นเอง
โดยในปี 2017 บริษัทฯ มีการจ้างผลิตอยู่ราว 4% พอปี 2018 เพิ่มขึ้นมาเป็น 18% และใน 9 เดือนแรกของปี 2019 เพิ่มมาอีกเป็น 35% การเพิ่มสัดส่วนตรงนี้จะช่วยให้บริษัทฯ มี GPM ที่ดีขึ้น และทางบริษัทฯ วางแผนในการ Outsourcing เพิ่มขึ้นประมาณ 3-5% ต่อปี
โดยบริษัทฯ จะจ้างผลิตเฉพาะในส่วนที่ใช้ฝีมือแรงงานไม่สูงมากเท่านั้น ส่วนที่ต้องใช้ฝีมือแรงงานสูงๆ บริษัทฯ ยังเก็บส่วนนั้นไว้ทำเองอยู่
2.เน้นขายผ่านช่องทาง Online มากขึ้น
ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปซื้อสินค้า Online มากขึ้น Sabina เลยไม่ได้เน้นขยายสาขามากนัก โดยจะเห็นว่าในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมา Sabina ขยายสาขาเพิ่มขึ้นเพียง 2 สาขาเท่านั้น โดยปัจจุบันมีสาขาอยู่ราว 582 สาขา
แต่..สิ่งที่บริษัทฯ ทำ คือ การพยายามขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ให้ได้มากขึ้น โดยทางบริษัทฯ เอง มีช่องทางออนไลน์หลายช่องทาง ทั้งในส่วนของ Lazada, JD Central, Shopee เป็นต้น
3.ขยายสู่ต่างประเทศแบบค่อยเป็นค่อยไป
Sabina เริ่มขยายสู่ตลาด CLMV แล้ว แต่ไม่ได้ขยายตลาดแบบเชิงรุกมากนัก แต่เน้นขยายแบบค่อยเป็นค่อยไป
โดยทาง Sabina จะทำการขายสินค้าให้กับตัวแทนจำหน่ายในแต่ละประเทศ หลังจากนั้นตัวแทนจำหน่ายเหล่านั้นจะนำสินค้าของ Sabina ไปขายต่อยังจุดจำหน่ายต่างๆ เอง
4.ไม่เน้น OEM
Sabina ให้ความสำคัญกับ OEM ลดลง ไม่เหมือนกับในอดีต ที่เป็นแบบนั้นเป็นเพราะธุรกิจ OEM มีกำไรขั้นต้นที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับขายสินค้าแบรนด์ตัวเอง ดังนั้น บริษัทฯ จะเลือกรับจ้างผลิตให้กับสินค้าที่มี Margin สูงเท่านั้น
เป้าหมายการเติบโตของ Sabina
Sabina ได้วางเป้าหมายการเติบโตของรายได้ในช่วงปี 2019 – 2023 ไว้ที่ปีละ 5-10%
โดยสัดส่วนรายได้ของแต่ละช่องทางในปี 2023 จะเปลี่ยนไป รายได้ที่มาจาก shop จะเป็นสัดส่วนประมาณ 67% ทาง NSR ประมาณ 20% ส่งออก 5% และ OEM ที่ประมาณ 8%
ซึ่งหากสัดส่วนออกมาเป็นแบบนี้จริง GPM ของ Sabina น่าจะดีขึ้นไปอีก ซึ่งเราคงต้องติดตามดูกันต่อไป
รับชมในรูปแบบ VDO 👇
ติดตาม “InvesTalk – สนทนาภาษานักลงทุน” ได้ทาง
ขอบคุณครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา