7 ก.พ. 2020 เวลา 11:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รู้หรือไม่ โลกของเราเคยเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่มาแล้วถึง 5 ครั้ง
จากการสูญพันธุ์ครั้งที่ผ่านมา สิ่งที่น่ากังวลคือ ระยะห่างของการสูญพันธุ์แต่ละครั้งกลับสั้นลง
มนุษย์เป็นตัวเร่งให้เกิด การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 (The Sixth Extinction) เร็วขึ้น
แล้วการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 จะเกิดขึ้นตอนไหน ??
การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต คือ การที่สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ไม่สามารถปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ไม่ได้ หรือ เกิดจากการล้มตายของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก จนเกิดการสูญพันธุ์
สาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งที่ 1-5 นั้นเกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติมักเกิดจากเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถรับมือได้ เพียงแต่ใช้เวลานานหลายล้านปีกว่าจะเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่แต่ละครั้ง
การสูญพันธุ์เป็นเรื่องพื้นฐานที่เกิดขึ้น เพราะทุกวันๆ ก็มีสิ่งมีชีวิตบางชนิดหายไป และมีสิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นมาแทน เรียกว่า "Background Extinction" คือในรอบ 100 ปี จะมีสายพันธุ์หายไปไม่เกิน 1 ใน 10,000 สายพันธุ์
ย้อนกลับไปดูการสูญพันธุ์ครั้งที่ผ่านมา...
1
☄️ การสูญพันธุ์ครั้งที่ 1 สิ้นยุคออร์โดวิเชียน (End-Ordovician) เมื่อ 443 ล้านปีก่อน
ยุคที่มีสิ่งมีชีวิตพวกประการัง ไบรโอซัว และปลาหมึกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเริ่มเกิดสิ่งมีชีวิตพวกปลาที่มีขากรรไกร และพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ในยุคถัดมา การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดจาก "ความหนาวสะท้าน" ทำให้น้ำทะเลลดระดับลงถึง 100 เมตร กลายเป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ แต่เมื่อน้ำแข็งนั้นละลายลงกลับมีออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำสูญพันธุ์ราว 60-70% ของสายพันธุ์ทั้งหมด
1
☄️ การสูญพันธุ์ครั้งที่ 2 ปลายยุคดีโวเนียน (Late Devonian) เมื่อ 360 ล้านปีก่อน
1
ยุคของปลาดึกดำบรรพ์ และเกิดแมลงขึ้นเป็นครั้งแรก การสูญพันธุ์ของยุคนี้สันนิษฐานว่าเกิดจาก "สภาพภูมิอากาศแปรปรวน" ส่งผลต่อส่ิ่งมีชีวิตในลุ่มน้ำตื้น และสังหารประการังโบราณไปกว่า 70%
☄️ การสูญพันธุ์ครั้งที่ 3 ระหว่างยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic) เมื่อ250 ล้านปีก่อน
เป็นยุคที่เกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์บกและสัตว์เลื้อยคลาน และนับเป็น "ยุคที่มีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุด" โดยมีข้อสันนิษฐานหลายข้อ หนึ่งในนั้นคาดว่าเกิดจากภูเขาไฟระเบิดรุนแรงเป็นเวลานานในไซบีเรีย ทำให้เกิดหมอกดำปกคลุมไปทั่วและทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปถึง 95% เลยทีเดียว
☄️ การสูญพันธุ์ครั้งที่ 4 ระหว่างยุคไทรแอสซิก-จูราสสิค (Triassic-Jurassic) เมื่อ 200 ล้านปีก่อน
ในยุคนี้ เริ่มเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ หลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ มีสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลของไดโนเสาร์ ในยุคนี้พืชยังเจริญเติบโตได้ไม่ดี จึงมีเฉพาะพืชจำพวกสน ปรง และเฟิร์น สาเหตุการสูญพันธุ์ในยุคนี้เกิดจาก "การปะทุของภูเขาไฟใต้ทะเล" และเกิดลาวาจำนวนมหาศาล ทำให้กวาดสิ่งมีชีวิตทั่วโลกสูญพันธุ์ไปกว่า 22%
☄️ การสูญพันธุ์ครั้งที่ 5 ระหว่างยุคครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary) เมื่อ 65 ล้านปีก่อน
ยุคที่เราคุ้นเคยกันดีกับสิ่งมีชีวิตจำพวก "ไดโนเสาร์" ที่วิวัฒนาการให้มีผิวหนังที่หนาเพื่อป้องกันภัย และมีสิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นมากมาย สาเหตุการสูญพันธุ์ในยุคนี้เกิดจาก "ดาวเคราะห์น้อยพุ่งขนาดใหญ่พุ่งชนโลก" และเกิดการปะทุของภูเขาไฟ กลายเป็นยุคสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ และเป็นโอกาสในการวิวัฒนาการของ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วนนม" มาจนถึงยุคปัจจุบัน
แต่ครั้งนี้ชักน่าหวั่นใจ เพราะการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมีอัตราเร่งที่สูงจากสิ่งมีชีวิต 1 สายพันธุ์ กลายเป็น 2 สายพันธุ์ ต่อ 10,000 สายพันธุ์หายไปในรอบ 100 ปี
.
และมีหลักฐานว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้่งหมดจะเสี่ยงสูญพันธุ์ถึง 114 เท่า!! มากกว่าในศตวรรษที่ผ่านมา
2
🔥การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 (The sixth extinction)🔥
ครั้งนี้แปลกกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาที่สิ่งมีชีวิตถูกเล่นงานโดยธรรมชาติ แต่ในครั้งนี้กลับเป็น “ผลงานของมนุษย์” ที่มีส่วนเร่งให้การสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดเร็วขึ้น
ในปี 2017 มีงานวิจัยออกมาว่า โดยนักวิจัยเรียกว่า "Biological Annihilation" หรือ การทำลายร้างทางชีวภาพ โดยสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น วาฬ เต่าทะเล ฉลาม และหอยขนาดใหญ่ จะเริ่มสูญพันธุ์เป็นอันดับแรกๆ เมื่อสัตว์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ก็จะส่งผลต่อสัตว์ชนิดอื่นล้มต่อกันเป็นทอดๆ
หอยขนาดใหญ่ วาฬ ฉลาม เต่าทะเล
เกิดจากสาเหตุหลักๆ 3 ข้อ
1. พื้นที่ป่าที่ลดลง ทำให้สัตว์ป่าหายตาม
จากรายงานสถานการณ์ป่าไม้พบว่าพื้นที่ป่าไม้นั้นยังลดลงเรื่อยๆ ทุกปี โดยในปี 2018 ทีผ่านมา ภาพถ่ายจากดาวเทียมและเครื่องตรวจจับระยะไกลประเมินความเสียหายของพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายไป พบว่า มีพื้นที่ป่าไม้กว่า 12 ล้านเฮกตาร์ (ราว 120,000 ตารางกิโลเมตร) เกือบเท่าพื้นที่ของอังกฤษถูกทำลายลง
หรือเทียบเท่าพื้นที่สนามฟุตบอล 30 สนามถูกทำลายในทุกๆ 1 นาที ส่งผลให้สถานการณ์ป่าไม้โลกอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง
สาเหตุหลักคือการแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตร เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พยายามถีบตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ก็เพื่อสนองความต้องการบริโภคของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้น
2. สัตว์ต่างถิ่นรุกราน
การเพิ่มจำนวนของสัตว์ต่างถิ่น ที่ไปรุกรานที่อยู่อาศัยของสัตว์ประจำถิ่น สัตว์ต่างถิ่นนั้นมีการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดเป็นเลิศ ความดิ้นรนของมันส่งผลให้เกิดการทำลายวงจรชีวิตชนิดพันธุ์ประจำถิ่นอื่นๆ คือ ทำให้ห่วงโซ่อาหารที่มีอยู่ขาดตอน
สัตว์ต่างถิ่น เช่น หอยเชอร์รี่ ที่มีทักษะการแย่งอาหารเป็นเลิศ และแย่งอาหารหอยโข่งพันธุ์พื้นเมือง Pila spp และมักผสมพันธุ์กับหอยโข่งจนมีการปนเปื้อนทางพันธุกรรม
3. มลภาวะ เช่น สารปรอท ไมโครพลาสติกในน้ำ
มลภาวะที่มาจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่น การทิ้งของเสีย สิ่งปฎิกูลลงในแหล่งน้ำ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่สลายเป็นไมโครพลาสติก ซี่งทำให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และไม่พ้นที่จะย้อนกลับมาสู่ตัวเรา เพราะมนุษย์ยังต้องพึ่งพาแหล่งอาหารอย่างสัตว์น้ำเป็นหลัก
มนุษย์จะสูญพันธุ์ด้วยไหม ?
คงเป็นเรื่องที่ยังไกลตัวนักที่ประชากรมนุษย์กว่า 7.2 พันล้านคนจะสูญพันธุ์ในเร็วๆ นี้ เพราะมนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างดีเลิศ แต่ปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์คือ "อาหาร" หากห่วงโซ่อหาร แหล่งน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติได้รับผลกระทบแล้ว มนุษย์จะดำรงชีวิตกันต่อไปได้นานแค่ไหน
แล้วอารยธรรมแบบไหนที่จะยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และคนรุ่นต่อไปจะอยู่กันแบบไหน จะเหลืออะไรอยู่บ้าง คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนมิใช่น้อย...
ส่วนเราจะมองดูและปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามเวลา หรือจะลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อตัวเองและคนรุ่นต่อๆ ไป... นั่นคือสิ่งที่ทุกคนควรตระหนัก
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้สรุปไว้ในคลิปวิดีโอด้านล่าง👇🏻
มนุษย์ทำอะไรลงไปกันบ้าง คลิปนี้คงเป็นคำตอบให้ทุกคนได้ครับ 😊
โฆษณา