26 ม.ค. 2020 เวลา 02:32 • ประวัติศาสตร์
“จุฬาฯ ชูบทบาทมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
คือคำโปรยบนข่าวประชาสัมพันธ์งาน CU Meet The Press เมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ที่จัดให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังการแถลงผลงานและนโยบายจากผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ sustainable development goals – SDGs ตามเป้าหมายของสหประชาชาติ
ศ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ระบุว่า จุฬาฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านภารกิจหลัก 4 ด้านของมหาวิทยาลัย ทั้งการเรียนการสอน การวิจัยและสร้างนวัตกรรม การกำหนดนโยบายและดำเนินงานภายใน และการสร้างความเชื่อมโยงกับสังคมและประเทศ
สำหรับผลงานที่จุฬาฯ นำมาแสดงว่า ได้ดำเนินการตาม SDGs แล้ว มีอาทิ
– Chula MOOC คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เปิดมาเป็นปีที่ 3 แล้ว
– โครงการจุฬาฯ-ชนบท ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน ที่เรียนดีแต่ยากจน ให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่จุฬาฯ
– โครงการสงฆ์ไทยไกลโรค พัฒนาสื่อที่ช่วยแก้ปัญหาโภชนาการของพระสงฆ์ (ดูได้ที่: http://sonkthaiglairok.com)
– Smart Farming ทำงานวิจัยร่วมกับผู้ร่วมโคนม แก้ปัญหาการเลี้ยงโคนมในสภาพอากาศร้อนชื้น
– สร้างการเรียนรู้อยู่กับฝุ่น PM2.5 ด้วยการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นทั้งในจุฬาฯ และบริเวณโดยรอบ โดยสามารถเช็คค่าฝุ่นได้ที่ http://www.bems.chula.ac.th/web/pm2.5/#/
– ใช้ราคอร์ไรซ่าเพิ่มประสิทธิภาพฟื้นฟูป่าไม้ประจำถิ่นในประเทศ
– พัฒนาชุมชนต้นแบบแก้ปัญหาพิษสุนัขบ้า จ.อุดรธานี
– นำความรู้พัฒนาแก้ไขปัญหา จ.น่าน
– พัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน และรถยนต์ไฟฟ้า
ฯลฯ
“เวลาที่สังคมมีปัญหา เราก็มักจะคุยกันว่าจุฬาฯ น่าจะมีคำตอบให้ เราอยากเป็นตัวอย่างดีๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาสำคัญทั้งของสังคมไทยและของโลก” ศ.บัณฑิตกล่าว
ลองดูโครงการต่างๆ ที่จุฬาฯ หยิบมานำเสนอ อยากให้ช่วยกันฟีดแบ็กกลับไปยังมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า สิ่งที่ทำไปแล้วหรือทำอยู่เพียงพอกับคำว่า ‘มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’ หรือไม่
เชื่อว่าในฐานะมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องน่าจะยินดีรับฟังความเห็นที่เป็นประโยชน์จากทุกๆ คน
โฆษณา