Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mizzle
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2020 เวลา 02:26 • ความคิดเห็น
8 ขั้นตอนเลือกหุ้นด้วย Check list 🤨
Check list ที่จะอธิบายต่อไปนี้ เป็นแค่การคัดกรองหุ้นเบื้องต้น ทำให้เรามีหุ้นอยู่ใน list เพื่อรอหาจังหวะเข้าซื้อเมื่อมีโอกาส
Check list เป็นการใช้ข้อมูลจาก factsheet ซึ่งเป็นข้อมูลแบบ static ไม่ใช่แบบ dynamic
Check list สามารถนำไปปรับใช้ได้ ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
ขั้นตอนการวิเคราะห์หุ้น จาก factsheet สามารถทำได้ง่าย ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. สัญลักษณ์หมวดหมู่
การที่หุ้นถูกเลือกเข้ามาอยู่ในกลุ่ม เช่น SET50 จะทำให้หุ้นถูกลงทุนโดยสถาบัน หรือกองทุนต่างๆ
เราอาจจะเคยเห็นการโฆษณาของกองทุนรวม ที่เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET50 หรือเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีธรรมาภิบาล (CG score) เป็นต้น
ส่วนตัวผมจะตั้งเกณฑ์ไว้ว่า หุ้นที่เลือกมาอย่างน้อยต้องอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน SET50 SET100 SETTHSI หรือ SETHD ก็คือ ขอแค่มีสัญลักษณ์อันใดอันหนึ่ง
และ CG score ไม่ต่ำกว่า 3 ดวง
หรือหากไม่มีสัญลักษณ์ใดเลย CG score ก็ไม่ถึง 3 ดวง ให้ไปหาต่อว่าอยู่ในกลุ่ม ESG ของสถาบัน thaipat หรือ กลุ่ม DJSI MSCI หรือไม่
www.thaipat.org
ถ้าหุ้นที่เลือกอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ ก็ไปกันต่อขั้นตอนถัดไป
2. P/BV indicator บอกค่าความนิยม
หลายๆตำราสอนไว้เสมอว่ายิ่ง P/BV ต่ำยิ่งดี
แล้วทำไมหุ้นบางกลุ่ม P/BV สูงมาก ราคาก็ยังขึ้นต่อ
CPALL ซื้อขายกันที่ P/BV 7 เท่า
BDMS ซื้อขายกันที่ P/BV 5 เท่า
ก็เพราะว่าหุ้นเหล่านี้ คือหุ้นยอดนิยม คำว่ายอดนิยมหมายถึง "ใครๆก็รู้จัก"
ให้ลองถามเพื่อนที่ไม่ได้ลงทุนในหุ้นดูว่า รู้จัก 7-11 ?
จากนั้นให้ถามเพื่อนต่อว่ารู้จัก ธนพิริยะ ?
แน่นอนว่า คำตอบคือ ทุกๆคนรู้จัก 7-11 , และมีแค่ไม่กี่คนที่รู้จัก ธนพิริยะ
คำถามต่อมาคือ แล้ว หุ้น TNP (ธนพิริยะ) จะสามารถซื้อขายกันที่ P/BV สูงเท่า CPALL ได้ไหม
คำตอบก็คือ ไม่ได้ เพราะหุ้นที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักลงทุนไม่รู้จักเลย P/BV ไม่ควรจะสูง
ดร.นิเวศน์ เคยสอนไว้ในหนังสือตีแตก ว่า P/BV ไม่ควรเกิน 3 เท่า
ดังนั้น หากหุ้นที่มีค่า P/BV มากกว่า 3 เท่า ต้องเป็นหุ้นยอดนิยม เป็นธุรกิจที่ไม่ว่าใครก็รู้จัก หรือถ้าหากหุ้นที่เราเลือกมา P/BV น้อยกว่า 3 เท่าก็สามารถดูขั้นตอนถัดไปได้เลย
3. จำนวนหุ้นจดทะเบียน
ขั้นตอนนี้ต้องระวัง หลายครั้งเราตัดสินใจซื้อหุ้นเพราะกำไรดี แต่บริษัทกำลังจะมีการเพิ่มทุน !!
การเพิ่มทุนจะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นโดยตรง ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลงตามมา 🤔
การแจกวอแรนต์ ก็ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะเมื่อมีการใช้สิทธิเปลี่ยนวอแรนต์เป็นหุ้นแม่ในอนาคต จำนวนหุ้นก็จะเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น หุ้น A แจกวอแรนต์ในอัตรา 2:1 หมายความว่า หากในอนาคตมีการใช้สิทธิทั้งหมดจำนวนหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นถึง 50%
มีหุ้น A 1 ล้านหุ้น แจก W 2:1 เท่ากับว่าได้ W 5 แสนหุ้น ถ้ามีการใช้สิทธิครบ หุ้นทั้งหมดก็จะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านหุ้น
ดังนั้นต้องวิเคราะห์และตัดสินใจให้ดีว่า ณ วันที่มีการใช้สิทธิ กำไรของบริษัท A จะเติบโตทันหรือไม่
กำไรต่อหุ้น EPS = กำไร/จำนวนหุ้นทั้งหมด
ถ้าหากกำไรเท่าเดิม / จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น EPS ก็จะลดลง ราคาหุ้นก็จะถูก dilute (ลดลง) ซึ่งในตลาดจริงราคามักจะถูก dilute ณ วันที่จ่าย W เลย
และบางครั้งการเพิ่มทุนก็อาจจะไม่เลวร้ายเสมอไป หากเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนสร้างการเติบโตให้แก่บริษัทได้อย่างคุ้มค่า 😂
รวมไปถึงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะทำให้จำนวนหุ้นลดลง อัตราส่วนทางการเงินก็จะดีขึ้น
แต่ทำไมบริษัทถึงต้องซื้อหุ้นคืน ........
อาจจะเพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
หรืออาจเป็นเพราะกำไรกำลังลดลง แต่บริษัทต้องการรักษาระดับกำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆไว้ที่ระดับเดิม
4. อัตราผลตอบแทน ขั้นตอนนี้สำคัญมาก😈
ตัวอย่างจาก factsheet VNT
Payout ratio อัตราส่วนปันผลต่อกำไร
ตัวอย่างของ VNT มีการจ่ายในอัตรา 0.47 ก็หมายถึง กำไร 1 บาท จ่ายปันผล 0.47 บาท นั่นเอง
แล้วเท่าไหร่ถึงจะดี ลองมาดูตัวอย่าง
หุ้น A ราคา 50 บาท มีกำไรต่อหุ้น 2 บาท Payout ratio 0.9
หุ้น B ราคา 15 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท Payout ratio 0.5
หุ้น A จะจ่ายปันผลเท่ากับ 1.8บาท/หุ้น หรือ 3.6%
หุ้น B จะจ่ายปันผลเท่ากับ 0.5บาท/หุ้น หรือ 3.3%
จะเห็นว่าปันผล ก็ไม่ได้ต่างกันมาก แต่ถ้าหากว่า กำไรของบริษัทมีปัญหา จนทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
ตัวอย่างเช่น ทั้งหุ้น A กับ B ต่างมีกำไรลดลง 20%
กำไรต่อหุ้น A จะลดลงเหลือ 1.6 บาทต่อหุ้น การจะจ่ายปันผลที่ 1.8 บาทเท่าเดิมนั่นแปลว่าจะต้องเอากำไรทั้งหมดรวมกับกำไรสะสมเดิมมาจ่ายเป็นปันผล ( payout 1.12 ) ก็พอเป็นไปได้ แต่บริษัทจะไม่มีเงินไปลงทุนต่อเลย
หรือหากจะจ่ายที่ payout 1 ก็คือ 1.6 บาท ปันผลก็ยังลดลงเหลือ 3.3%
หรือหากจะจ่ายที่ payout 0.9 เท่ากับปีก่อน ก็คือ 1.44 บาท คิดเป็น 2.88%( ณ ราคาหุ้น 50 บาทเท่าเดิม )
กำไรต่อหุ้น B จะลดลงเหลือ 0.8 บาทต่อหุ้น
ถ้าหุ้น B จ่าย payout เท่าเดิมที่ 0.5 ปันผลก็จะได้ 0.4 บาท คิดเป็น 2.6% แต่ถ้าหากบริษัท B จะรักษาระดับปันผลไว้ที่ 3.3% ก็ยังสามารถเพิ่ม payout ratio ขึ้นมาได้ เป็น 0.65 (ซึ่งก็ยังเหลือเงินไปลงทุนต่ออีกด้วย)
จากตัวอย่างที่อาจจะดูเข้าใจยาก 😆😂 ก็จะสรุปว่า ยิ่ง payout ratio น้อย แต่ % ปันผลมาก จะยิ่งดี
และไม่ควรจะเกิน 0.75 ตัวเลขนี้นำมาจากตำราหลายๆเล่ม เพราะหากเกินกว่านี้แสดงว่าบริษัทเริ่มอิ่มตัว ไม่ค่อยเน้นการลงทุนเพิ่มแล้ว
จากตัวอย่าง VNT จ่าย payout 0.47 ได้ % ปันผล 5.3% หากอนาคตกำไรบริษัทยังเท่าเดิม แล้วบริษัทจ่าย payout มากขึ้น % ปันผลก็ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีก
จากนั้นให้มาดู ตัวเลขเงินปันผลที่จ่าย ซึ่งควรจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหรืออย่างน้อยควรจะเท่าเดิม
และดูวันที่จ่ายปันผลด้วยว่าจ่ายวันไหน จ่ายจริงไหม จ่ายต่อเนื่องไหม
หลายคนคงรู้ว่าหากเราซื้อหุ้นก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD 1-3 เดือน เราก็มักจะได้กำไรจาก capital gain !! *** แต่ก็ไม่เสมอไป
หากกำไรเพิ่ม บริษัทคงอัตรา payout ที่ระดับเดิม เงินปันผลที่ได้ก็มักจะเพิ่มขึ้น
VNT จ่ายปันผล 1.3 บาท ซึ่งเพิ่มจากปี 61 ที่จ่าย 0.9 บาท ถ้าหากค่าเฉลี่ยการจ่ายปันผล ของ VNT คือ 5% เราก็จะใช้ประโยชน์ในการหาจังหวะซื้อได้
Yeilds valuation matrix 🤔🤯
ปันผล 1.3 บาท เทียบกับ ........( Fair value )
5% เทียบกับ 100%
FV = 1.3 × 100 / 5
FV = 26 บาท
การหาจังหวะซื้อต้องใช้ margin of safty คือ ส่วนลด อีก 15-20% จาก FV
ก็คือ 22 บาท (MOS15%)
ถ้าราคาลงมาถึง 22 บาท ก็คือ จังหวะเข้าซื้อ
แต่วิธีนี้อาจจะต้องมาวิเคราะห์เพิ่มในส่วนของกำไร ว่าจะได้อย่างน้อยเท่าเดิมของปีที่ผ่านมาหรือไม่
และต้องรู้ % ปันผลของปีที่ผ่านๆมา ยิ่ง จำนวน n มากยิ่งมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งปัจจุบันเราก็สามารถหาได้จากเวปไซค์ต่างๆมากมาย
อีก 4 ขั้นตอน ขอมาต่อในโอกาสหน้า
ขอบคุณมากครับ 😀
8 บันทึก
12
5
3
8
12
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย