27 ม.ค. 2020 เวลา 16:20 • ท่องเที่ยว
🔴 ฟอสซิลทวดกบโบราณ ในอำพัน
มากกว่าหนึ่งในสามของสายพันธุ์กบ และคางคกจำนวน 7,000 สายพันธุ์ สามารถพบได้ในป่าฝนเขตร้อนทั่วโลก
กบในยุคปัจจุบัน ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในป่าฝนเขตร้อนทั่วโลก
แต่ฟอสซิลของกบที่อยู่ในอำพันเหล่านี้ มีความต่างออกไป เนื่องจากมันมีช่วงชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่สภาพแวดล้อมแบบป่าฝนเขตร้อนเพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นไม่นาน
อำพันที่มีซากกบจากยุคไดโนเสาร์อยู่ข้างใน ก้อนนี้ถูกพบในพม่า (ภาพถ่ายโดย Chen Hai-Ying)
ก้อนอำพันจากยุคครีเตเชียสได้เผยให้เห็นซากของกบโบราณจากยุคไดโนเสาร์จำนวนสี่ตัว พวกมันคือฟอสซิลกบโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
และชิ้นส่วนที่ถูกกักเก็บไว้มีความสมบูรณ์มากพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า พวกมันคือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Electrorana limoae
➡️ (ปกติแล้ว ฟอสซิลกบที่มีสภาพสมบูรณ์นั้นมีน้อยมาก และเจ้ากบสายพันธุ์ Electrorana นี้ก็เป็นอะไรที่หายากมากด้วย) ⬅️
มุมมองที่ต่างกันของอำพันคนละก้อนแสดงให้เห็นถึงฟอสซิลของกบโบราณภายใน (ภาพถ่ายโดย Chen Hai-Ying)
➡️ (ในช่วงชีวิตของกบเหล่านี้ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวไม่เกินหนึ่งนิ้ว) ⬅️
และในเหมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่านี้ ยังเป็นสถานที่พบฟอสซิลในอำพันอีกมากมายหลายสายพันธุ์
ไม่ว่าจะเป็นหางไดโนเสาร์, ลูกนกโบราณ, ปีกนกโบราณ ไปจนถึงแมลง หนอนกำมะหยี่ และแมงมุมน้ำ
ซึ่งบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมในยุคครีเตเชียส น่าจะเป็นป่าฝนเขตร้อน เช่นเดียวกับสถานที่ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของพวกมันในปัจจุบัน
ป่าฝนเขตร้อน ในยุคปัจจุบัน
🔴 “ปาฏิหาริย์” จากการบริจาค
สถาบันบรรพชีวินวิทยา Dexu เมืองเฉาโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ได้รับฟอสซิลหายากชิ้นนี้มาจากนักสะสมในจีน ที่ตั้งใจบริจาคให้แก่สถาบัน
โดยก่อนหน้านี้ทางสถาบันมีตัวอย่างของฟอสซิลกบอยู่แล้วสามตัวอย่าง ทว่าพวกเขามีแค่ส่วนรยางค์แขนขา และร่างกายที่ปราศจากหัวเท่านั้น
และการได้รับบริจาคฟอสซิลกบที่สมบูรณ์ชิ้นนี้ เปรียบดังปาฏิหาริย์สำหรับสถาบัน Dexu เลยก็ว่าได้
เพราะมันเป็นเหมือนการเข้ามาเติมเต็มให้งานวิจัยของพวกเขาพัฒนาไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น
ภาพจากเทคโนโลยีซีทีสแกนเผยให้เห็นโครงสร้างของกบ (ภาพถ่ายโดย Chen Hai-Ying)
➡️(เนื้อเยื้อของมันถูกย่อยสลายไปส่วนหนึ่ง แต่ยังสามารถมองเห็นโครงกระดูกของมันได้ชัดเจน)⬅️
ด้วยเทคโนโลยีซีทีสแกนได้เผยให้เห็นถึงลักษณะกายวิภาคแบบสามมิติของกบโบราณนี้ ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างของ Electrorana นั้นคล้ายคลึงกับกบในปัจจุบันแทบจะทุกด้าน
และดูเหมือนว่ากบสายพันธุ์นี้จะเป็นบรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของกบในปัจจุบัน และรวมไปถึงญาติผู้ใกล้ชิดอย่างคางคกด้วยเช่นกัน
รายละเอียดบางอย่างนอกเหนือจากโครงกระดูกยังคงหลงเหลืออยู่ (ภาพถ่ายโดย Chen Hai-Ying)
🔴 ไม่ใช่แค่กบ แต่มีด้วงด้วย
เนื่องจากความหลากหลายของฟอสซิลที่พบในแหล่งแร่อำพันแห่งนี้ นอกเหนือจากองค์ความรู้ทางกายวิภาคแล้ว ฟอสซิลสุดพิเศษนี้ยังให้ข้อมูลของลักษณะอาหารของพวกมันอีกด้วย
ภายในก้อนอำพันยังบรรจุซากของตัวด้วง ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าพวกมันคืออาหารของกบในยุคไดโนเสาร์ ข้อมูลอื่นๆ จากการวิจัยระบุว่ากบตัวนี้ยังคงเป็นกบวัยรุ่น
กระดูกของมันยังคงเป็นกระดูกอ่อน และมีบางส่วนของกระดูกที่หายไป ซึ่งอาจให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้ว่ามันมีพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนอยู่ในระบบนิเวศแบบใด ซึ่งชิ้นส่วนที่ว่าก็ได้แก่ กระดูกบริเวณข้อต่อสะโพก และกระดูกหูชั้นใน
กบสีน้ำตาลในป่าฝนเขตร้อน ที่อาศัยอยู่ในยุคปัจจุบัน
พวกฟอสซิลชิ้นใหม่ๆ ที่กำลังรอการถูกค้นพบในอนาคต จะเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาและเปรียบเทียบกบโบราณกับกบสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยไขปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยได้ว่าพวกมันมีชีวิต และวิวัฒนาการมาเป็นกบในปัจจุบันได้อย่างไร
🐸
เพราะทุกวันนี้ ระบบนิเวศแบบป่าฝนเขตร้อนเต็มไปด้วยกบมากมายหลากหลายสายพันธุ์ และเป็นไปได้ว่าป่าฝนเขตร้อนในยุคครีเตเชียสก็น่าจะมีสัตว์อีกหลายสายพันธุ์ที่กำลังรอให้เราไปค้นพบด้วยเช่นกัน ⭕
thx ข้อมูลจาก
⬇️
⬇️
⬇️
🙇🏾♂️🐸
โฆษณา