27 ม.ค. 2020 เวลา 23:30 • การศึกษา
จงทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว แต่อย่าก้นรั่ว
1
ผมมั่นใจว่าทุกคนเคยเห็นหรือได้ยินคำว่า น้ำไม่เต็มแก้วกันมาแล้ว ซึ่งก็หมายถึงการที่ไม่แสดงความว่ารู้แล้ว หรือพร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเสมอ เหมือนแก้วที่ยังใส่น้ำได้เรื่อยๆ
ดูเหมือนว่าจะดูดีเลย ถ้ามองโดยผิวเผิน แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีก เราจะเห็นข้อเสียของสิ่งนี้ นั่นคือ การที่เรารู้อย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ หรืออาจจะใช้ไม่เป็น พูดหรือกล่าวได้อย่างเดียว ซึ่งอาจตรงกับสำนวนไทยนึงของไทยคือ
"ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด"
ผมจึงอยากเติมคำว่า แต่อย่าก้นรั่ว เพิ่มเข้าไป
คือการที่ไม่ปล่อยผ่านให้ความรู้อยู่เฉยๆ ไม่ได้ใช้ เมื่อไม่ใช้ ตามหลักของสมอง เราก็จะลืม เปรียบเหมือนน้ำที่รั่วจากก้นแก้วนั่นเอง
ผมเชื่อว่าทุกคนมีแก้วหลายใบ บางแก้วก็เต็มเร็ว บางแก้วยังไงก็ไม่เต็ม บางแก้วก็ก้นรั่ว และไม่รั่ว
ยกตัวอย่าง
1. เรามีแก้วแห่งคณิตศาสตร์ ที่เต็มเร็วมาก แต่ก้นไม่รั่ว คือเราเรียนรู้เสร็จ ก็คิดว่าน่าจะพอสำหรับการ นำไปใช้ได้ แต่หาความรู้เพิ่มเองไม่ได้ อาจจะต้องรอคนมาเติมเสมอ ซึ่งนั่นก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ถ้ามองดูแล้ว
2. เรามีแก้วแห่งอังกฤษ ที่เต็มเร็วมาก แต่ก้นรั่ว คือไม่เห็นความสำคัญของอังกฤษเลย เนื่องจากไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง และคิดว่าตัวเองรู้แค่นี้ก็พอใช้แล้ว แค่รอคนมาสอน ก็พอใจแล้ว และก็รู้แค่นั้น รู้แต่ไม่ได้เอาไปใช้ สุดท้ายก็ลืมในที่สุด
3. เรามีแก้วแห่งสังคม ที่ไม่เต็มแก้ว แต่ก้นรั่ว
จะดีกว่าข้อ 1 เพิ่มมานิดหน่อย คือชอบที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับคนอื่นหรือตัวเองเท่าไหร่ หรือาจจะนำไปใช้ไม่เป็น ซึ่งส่งผลให้รู้อย่างเดียว เอาตัวไม่รอด
1
4. เรามีแก้วแห่งฟิสิกส์ ที่ไม่เต็มแก้ว และก้นไม่รั่ว
จะดีที่สุดเลยถ้าเราสามารถเป็นแก้วประเภทนี้ได้ เพราะว่าได้เรียนรู้ตลอดเวลา และเรียนรู้ด้วยตัวเอง แถมนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง พอได้ใช้บ่อยๆ ก็ไม่ลืมนั่นเอง เปรียนเหมือนน้ำที่ไม่รั่วออกจากแก้ว
เราทุกคนมีแก้ว 4 ใบนี้อยู่ในตัวทุกคนครับ
เราเพียงแค่ต้องเริ่มสังเกตตัวเอง ว่าแก้วไหนสำคัญกับเรา เรามีแก้วแบบไหนมากกว่ากัน
แล้วทำการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ตรงกับตัวเรามากที่สุด
สุดท้ายแล้ว ความสำคัญอันไหนมาก่อนกัน จะบ่งบอกถึงตัวเราได้มากที่สุดนั่นเอง...
โฆษณา