28 ม.ค. 2020 เวลา 09:28 • การศึกษา
ข่าวปลอม ระบาดหนักมากๆ
บางที สำนักข่าวก็เล่นเอง หรือ ไปสัมภาษณ์ มาจริงๆ มีชื่อคนที่น่าเชื่อถือจริงๆ แต่ดันเล่นข่าวไปคนละทางกับข้อเท็จจริง
ข่าวประเภท ตื่นตระหนก เต็มไปหมด
ภาครัฐ มี ศูนย์ต้านข่าวปลอม พอช่วยได้ ส่วนหนึ่ง
เอาเป็นว่า ผมแนะนำวิธีเบื้องต้นละกันนะครับ
1. อย่าแค่อ่านพาดหัวแล้วแชร์เลย อันนี้ เละกันมาเยอะแล้วครับ โดยเฉพาะ กรณีที่ พาดหัวนั้น ถูกจริต ความเชื่อฝั่งตน
2. ตรวจสอบ หลายๆ แห่งข่าว ว่า มาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือหรือไม่?
ข้อนี้บางทีก็ยาก เพราะปกติแล้ว ข้อมูลจากทางการ จะมีความน่าเชื่อถือ มากกว่าแหล่งข่าวโคมลอยอื่นๆ เอาเป็นว่า ฟังข้อมูล จาก "ส่วนราชการ" ละกันนะครับ...
3. ดู ชื่อของ เวปไซต์แหล่งข่าว ถ้ามีคำว่า Zaaa ให้คิดไว้ก่อนเลย ว่า click bait ข่าวลวงแน่ๆ
4. ใช้วิจารณญาณ อย่างเป็นกลาง อันนี้ก็ยากเหมือนกัน ในแง่ของ ความเป็นกลาง อะไรคือเป็นกลาง? หลังๆ ผมเองก็เจอข่าวจริง ที่ฟังแล้ว อิหยังวะ, แบบนี้ก็ได้เหรอ, จริงดิ เยอะมาก....
5. ถ้ามีเพื่อนหลายๆ คนที่มีเหตุผล ทัก ให้ชั่งใจไว้ก่อน
เอาเป็นว่า เราอาจจะไม่สามารถแยกแยะ ข่าวปลอมได้ 100% ผมเองก็เคยพลาดเคยเงิบ แต่วิธีที่ดีที่สุด อีกอย่างหนึ่งเวลาที่เราไม่แน่ใจ เพราะมีข้อมูล หลายกระแสก็คือ รอสักพัก ไม่นาน ไม่กี่วัน เดี๋ยว ฝุ่นที่ฟุ้ง ก็จาง และจะเริ่มเห็นอะไรชัดขึ้น ไม่ต้องรีบแชร์ครับ...
โฆษณา