29 ม.ค. 2020 เวลา 12:25 • ประวัติศาสตร์
🌺 เล่าเรื่องบ่าเก่าผ่านผ้าซิ่น : ซิ่นต๋าลือเวียงยอง
🌺 ภาพประกอบจากกลุ่มสาวนุ่งซิ่นถิ่นล้านนา..(เฮานุ่งเพื่อการอนุรักษ์)
🌺 คนยองคือใคร มาจากไหน...ชาวยองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อหรือไทลื้อกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานอยู่ ณ เมืองยอง เป็นเมืองที่มีชื่อเดียวกับแม่น้ำคือแม่น้ำยอง อยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง
2
ในอดีตเมืองยองมีชื่อว่า มหิยังคนะ (ทว่าคนเมืองยองเองที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่เรียกเมืองว่า เจงจ้าง - เมืองเชียงช้าง) และเรียกตัวเองว่าชาวไตเมืองยอง
🌺เมืองยอง สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยชาวพื้นเมือง ต่อมามีผู้คนอพยพจากเมืองเชียงรุ้งเข้าไปสร้างบ้านแปงเมือง โดยมีเจ้าเมืองซึ่งเป็นชนชาวพื้นเมืองเชื้อสายไทลื้อปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันมา
บางช่วงเวลาเมืองยองก็เป็นเมืองร้างอันเนื่องมาจากศึกสงคราม และในปัจจุบัน เมืองยองมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของรัฐฉานในประเทศพม่า
🌺ในปี พ.ศ.2348 ภายหลังจากที่พระเจ้ากาวิละได้ปลดแอกจากพม่า (ล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าระหว่าง พ.ศ.2101-2347) และสถาปนาเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ขึ้นมาอีกครั้ง
แล้ว ก็มีความคิดที่จะกอบกู้เมืองลำพูนด้วยเช่นกัน ด้วยทรงเห็นว่าในอดีตเคยเป็นราชธานีหริภุญไชยอันรุ่งเรืองมาก่อนเมืองอื่น
🌺พระเจ้ากาวิละได้อพยพชาวไตจากเมืองยองมาราวหมื่นคนเศษ ส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชั้นสูงระดับเจ้านาย ขุนนาง ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือ อพยพจากเมืองยองลุ่มน้ำโขงสู่ลุ่มน้ำปิง
จากปี พ.ศ.2348 ถึงเมืองลำพูนราวเดือนเมษายน พ.ศ.2349 นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรียกยุคนั้นว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” (ซ้า แปลว่า ตะกร้า) ได้มีการทำพิธียกเมืองเวียงยอง ซึ่งตั้งอยู่ ณ ฟากตะวันออกของแม่น้ำกวง (แม่น้ำปิงเก่า) ตรงข้ามกับวัดพระธาตุหริภุญไชยให้แก่ผู้มาใหม่
🌺สำหรับศูนย์กลางของชาวยองยุคเริ่มแรกอยู่ที่วัดหัวขัว วัดต้นแก้ว วัดแม่สารป่าขาม แม่สารบ้านตอง ต่อมาค่อยๆ กระจายไปสู่ป่าซาง แม่ทา บ้านโฮ่ง เวียงหนองล่อง และลี้ ที่ป่าซางมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดอินทขิล
วัดป่าซางงาม วัดฉางข้าวน้อยเหนือ และวัดพระพุทธบาทตากผ้า ชาวยองได้นำวัฒนธรรมประเพณีของตนจากสิบสองปันนามาใช้ในวิถีชีวิต ทั้งด้านเครื่องแต่งกาย ภาษา ดนตรี การฟ้อนรำ อาหาร ฯลฯ
🌺อ่านบทความทั้งหมดได้ที่ https://mgronline.com/travel/detail/9540000145872
ขอบคุณ : ภาพประกอบจากกลุ่มสาวนุ่งซิ่นถิ่นล้านนา..(เฮานุ่งเพื่อการอนุรักษ์)
โฆษณา