1 ก.พ. 2020 เวลา 23:19 • ปรัชญา
วงโคจรชีวิต
Circular of life
ทุกสิ่งเคลื่อนตัวเป็นวงกลม( Circle)เป็น
วงจร เมื่อใดที่เราเริ่มเข้าใจวงจรชีวิตของเรา เราจะสามารถเข้าถึงจังหวะของวิถีชีวิตที่เป็นไปต่างๆได้
บางทีชีวิตคนเรานั้นอาจเปรียบได้เหมือนกับการกระโดดเชือกที่แกว่งหมุนเป็นวงจร การกระโดดเข้าวงได้ และอยู่ในวงเชือกได้ในทุกจังหวะ คือการเรียนรู้จังหวะที่พอเหมาะพอดี
การกระโดดที่ได้จังหวะ สามารถเข้าจังหวะ ไปในวงได้ ชีวิตคนเราก็จะมีความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว กับวิถีวงจรจึงราบรื่นไม่ติดขัด
การเข้าEnter กับการออกExit นั้นไม่ต่างกันมากนัก ตรงที่ต้องรู้จังหวะของเวลาว่าควรเข้าและควรออกไปเมื่อใด
สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อขาเข้า ต้องใช้ความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง อย่างมีจังหวะที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว
ส่วนเมื่อขาออก จากวงต้องใช้ความรู้ตัวที่รู้จักพอ ไม่ฝืนที่จะไปต่อเมื่ออ่อนแรง
การกระโดดเชือกยิ่งเร็วมาก เมื่อติดจะเท่ากับถูกเชือกฟาดใส่ ย่อมยิ่งเจ็บปวดมากเช่นกัน บางทีเหมือนถูกหวดด้วยแส้
วงของเชือกนั้น จะเร็วหรือช้าเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่า การกระโดดเชือกนั้นเป็นการแข่งขันความเร็ว หรือเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ
ชีวิตคนเรานั้น ล้วนต่างมีวงเป็นกรอบชีวิตของตนเอง การเข้าร่วมวงหรือออกจากวงนั้น คนเราสามารถที่จะเลือกได้ ว่าอยากจะเข้าไปเล่นในวงใดบ้าง
เพียงต้องปรับให้เข้ากับวิถีของวงนั้นให้ได้
หากจะว่าไปแล้ววงจรที่คนเรา มักเจออย่างน้อยที่สุดก็คือ 6วงจร (Six Circles of our life)ที่คนเราจำเป็นต้องเลือกวิถี ในการหาจังหวะเข้าไปให้เหมาะสมกับตนเอง ดังนี้
"ปรัชญาแนวคิด..ตองแอล"
(1)วงจรส่วนตน (Circle of yourself)
วงนี้ถือเป็นวงจรที่อยู่ด้านในสุด ที่สะท้อนถึงการสร้างความเป็นตัวตนของคนเราว่า ได้สร้างชีวิตมาได้ด้วยจังหวะเช่นไร
จังหวะวงจรชีวิตของคนเรานั้น อาจกล่าวได้อย่างง่ายๆ ว่ามีสามจังหวะ คือ
"การตั้งต้น...การดำรงอยู่..และการเป็นไป"
สิ่งที่คนเราจะสามารถสร้างและรักษาวิถีวงจรของตนเองอย่างมีจังหวะได้ดีเพียงใด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การมีความตระหนักรู้..ตื่นตัวในการกระโดดเชือกชีวิตของตนเองให้เหมาะสม ว่าเวลาใดควรช้า เวลาใดควรเร็ว
ที่สำคัญคือการใช้..สติคอยกำกับความคิด..คำพูดและการกระทำของตน ตลอด3จังหวะของชีวิต เพื่อถึงพร้อม
ให้"รู้ตน..รู้ตัว และรู้ตาม"..ทุกจังหวะที่กำลังเผชิญทุกเหตุการณ์ในชีวิตได้
(2)วงจรของครอบครัว(Circle of family)
ถือเป็นวงที่สองที่มีความสำคัญ ดั่งเป็นศูนย์บ่มเพาะชีวิตให้คนเรามีความอบอุ่นอย่างอุ่นใจ พร้อมสู้ทุกสิ่ง
เป็นวงจรที่ช่วยรักษา ให้ครอบครัวเป็นเขตปลอดภัยและคุ้มครองใจให้กับคนเราได้
สิ่งที่ต้องรู้คือการใช้จังหวะอย่างไรให้วงจรการกระโดดเชือกร่วมกันของคนในครอบครัวเดียวกัน ไปกันได้ด้วยดีอย่างยาวนาน
จังหวะของวงจรสร้างครอบครัว คือการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเข้าใจกันและกัน มีวงจรที่สำคัญ3จุด มีระยะบ่มเพาะตั้งแต่
"การเริ่มต้น...การเติมเต็ม...การผูกพัน..."
ทั้งสามระยะดังกล่าวจะดำรงคืบหน้าไปได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนต้องรู้จังหวะการเข้าวงและถอยออกอย่างลงตัว
ด้วยการใช้หลักการกระโดดที่ต้องใช้"5.อ."มาเสริมสร้างให้ผ่านไปได้ด้วยดีคือ
"อดทน..อดกลั้น ..อาทร ..เอาใจใส่ ..และอภัยกันได้"
(3)วงจรของการเป็นผู้นำตน(Circle of Leadership)
ถือเป็นผลพวงที่ถูกวางรากฐานมาจากสองวงแรก เพื่อให้ชีวิตมีความมั่นคง และสามารถก้าวเดินหน้าไปต่อได้ เมื่อต้องเปิดโลกกว้างไปสู่วงจรอื่นๆในชีวิตที่ตนเองได้เลือก
วงจรของการเป็นผู้นำ อาจจัดได้เป็น5ระยะ โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชีวิตผู้นำในตน
"ตั้งต้น ต่อยอด ต้นแบบ ต่อเนื่อง และเป็นตำนานได้"
การสร้างจังหวะชีวิตของผู้นำ ในแต่ละระยะของวงจรสร้างความเป็นผู้นำในตนนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือการกระโดดเชือกสู่การเป็นผู้นำได้นั้น
จำเป็นต้องเสริมสร้างสมรรถนะให้มี5สิ่งที่เรียกย่อๆว่า"C.H.I.E.F"อย่างเหมาะสมเพียงพอดังนี้คือ
@Conformance(ความสอดคล้อง)
@ Harmonious (ความกลมกลืน)
@Inspiration (แรงบันดาลใจ)
@ Equilibrium (ดุลยภาพ)
@ Fit together (เป็นหนึ่งเดียวกัน)
(4)วงจรของผู้คน (Circle of Human)
วงนี้คือการเปิดตัวเองออกไปสู่โลกภายนอก จะสามารถคิด พูด ทำได้ดีหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับเรื่องการมีขีดความสามารถที่จะกระโดดเข้าร่วมวงไปกันได้กับผู้คนได้หรือไม่
วงจรของผู้คนนั้นจะเริ่มต้น พัฒนาเป็นไปอย่างง่ายๆ4ระยะตั้งแต่
"คบหา ...คุ้นเคย ...คนกันเอง และเป็นคนใกล้ชิด"
ทั้งนี้เพียงต้องหมั่นฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับเรื่องคนอย่างจริงจัง เพื่อที่จะเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา สู่วงจรได้อย่างมีประสิทธิผล ด้วยการ
"มองคนออก..บอกความต้องการของได้..ใช้คนเป็น..และเห็นคุณค่าคน"
จังหวะของการกระโดดและการแกว่งเชือกให้เป็นวงกลมที่กว้างมากพอ เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้สามารถเข้าสู่วงจรระหว่างกันได้
จำเป็นต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการฝึกฝนจึงจะเชี่ยวชาญ
(5)วงจรการทำงาน(Circle of work)
เป็นวงที่ช่วยเติมเต็มความฝันให้ไปถึงเส้นทางฝัน ที่ได้เลือกไว้ของชีวิตคนเรา คือการสร้างความสุขบนความสำเร็จจากการทำงานในอาชีพต่างๆ
จังหวะวงจรของการสร้างสรรค์งานให้เกิดผลความสำเร็จ มีวงรอบที่สำคัญ อยู่5ระยะคือ"5S"ดังนี้
@ขึ้นงานได้ (Start )
@ทำงานเป็น (Steps )
@ตามงานได้ (Situation )
@ปรับงานเป็น(Shape up )
@จบงานได้.(Success )
การที่คนเราจะสามารถกระโดดเชือกเพื่อเข้าวงการทำงานในสายอาชีพใดก็แล้วแต่
สิ่งที่จะช่วยให้คนเราสามารถหมุนเวียนไปได้ในวงโคจรอย่างมีความสุขและพบความสำเร็จได้นั้น
พึงระลึกถึงจังหวะการแกว่งให้สอดประสานไปกันได้กับทีมอยู่เสมอ ด้วยการยึดหลักพื้นฐาน4ประการไว้ให้มั่น คือ
@ทำทุกสิ่งด้วยใจเป็นตัวตั้ง
@เรียนรู้ที่จะอดทนและรอได้ด้วยความเพียร
@จดจ่ออย่างทุ่มเทในสิ่งที่ทำ
@รู้จักคิดพัฒนาแก้ไขปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมเสมอ
(6)วงจรสังคม (Circle of Social)
เมื่อเราเป็นมนุษย์ก็ยากที่จะปลีกวิเวกไปจากสังคมได้ง่ายๆนัก เพราะเราต่างเกิดมามีบ่วงแห่งภาระหน้าที่มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่บทบาทที่ตนได้เลือก
การเข้าวงจรสังคมนั้นมีหลากหลาย คนเราสามารถ"เลือก"สังคมที่น่าอยู่ได้เสมอ แต่ก็ไม่เท่ากับการได้"สร้าง"สังคมให้น่าอยู่ด้วยเช่นกัน
วงโคจรของสังคมนั้น ถ้าจะว่าแบบย่อๆก็มี 4ลำดับของระยะโดยเริ่มตั้งแต่
"ระยะการเข้าร่วม ...
ระยะการเป็นส่วนหนึ่ง ...
ระยะการร่วมรับผิดรับชอบ ...
และระยะความพร้อมแบ่งปัน "
การที่คนเราจะกระโดดเชือกเพื่อเข้าวงจรของสังคมนั้น ก็ต้องมีจังหวะที่สอดคล้องกับสังคมนั้น
.."ไม่ใช่กระโดดไปก็วงแตก..กระโดดออกก็วงสลาย"
ดังนั้นพึงเข้าวงให้ได้โดยไม่ติดเชือกจนมีใครบาดเจ็บ ในแต่ละระยะ ..ควรคำนึงถึง 4สิ่งนี้ไว้เป็นเครื่องเตือนเพื่อสร้างสังคมให้น่าอยู่ ดังนี้คือ
@รู้จักสร้างสปิริต
@รู้จักสื่อสารจริงใจ
@รู้จักสนับสนุนช่วยเหลือ
@รู้จักสม่ำเสมอวางตัว
ชีวิตคนเรานั้น ล้วนเริ่มต้นจากการกระโดดเชือก ด้วยตนเองก่อนให้มั่นคง ย่อมมีวงเชือกที่สามารถบังคับควบคุมตนได้ดีพอ
แต่เมื่อต้องก้าวข้ามไปยังเขตวงต่างๆ สิ่งที่จำเป็นต้องปรับคือการเรียนรู้ให้เข้าใจสภาวะวงจรของวงต่างๆ ให้ดี
เพื่อที่จะหาจังหวะเข้า และหาจังหวะออกจากวงจรแต่ละเรื่องได้..
คนที่ประสบความสุขบนความสำเร็จในชีวิต ล้วนแล้วคือคนที่มีความเข้าใจจังหวะของชีวิตได้อย่างเหมาะกับห้วงเวลา สถานการณ์ที่เป็นไป และเลือกใช้จังหวะ ในการสร้าง รักษา ชีวิตได้อย่างลงตัว
พวกเขาจึงมีชีวิตโคจรได้อย่างราบรื่นไปในทุกวงการของชีวิตที่เขาเลือกเสมอ..."LL&L 2/2/63
โฆษณา