4 ก.พ. 2020 เวลา 03:14
Legend's Talk - Version Uncut! 2
สุจินต์ พลาวงศ์ - ธรรมศาสตร์
M: ช่วยแนะนำตัวให้น้อง ๆ รู้จักหน่อยครับ
สุจินต์: ผมชื่อ สุจินต์ พลาวงศ์ เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ และเล่นฟุตบอลประเพณี มาประมาณสักสิบปี แต่สมัยโน้นเนี่ย ฟุตบอลประเพณีเนี่ย สุดยอดเลยครับ ขนาดตอนนั้นผมติดทีมชาติเข้าไป ไปเข้าธรรมศาสตร์ปีแรก ยังไม่ได้เล่นฟุตบอลประเพณีเลย ต้องเป็นตัวสำรองคนที่สิบหก รอจนกว่าพวกพี่ๆ เขาจะเกษียณ แล้วถึงจะได้เล่น นี่คือความสำคัญของฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ
M: เริ่มเล่นฟุตบอลประเพณีตั้งแต่ช่วงประมาณปีไหนครับ
สุจินต์: ผมเข้า (25)10 ประมาณ (25)12 (M: เล่นถึงครั้งที่เท่าไรครับ) อืม เล่นมาถึงปี 2521 ประมาณสิบปี ประมาณนั้น
M: พูดถึงตัวผู้เล่นของทีมในช่วงที่ลงเล่นหน่อยครับ
สุจินต์: ก็ผมเองตอนนั้นเข้าไป ก็บอกแล้วว่า ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์เนี่ย ต้องคนที่เจ๋งจริงๆ และก็ให้เกียรติอาวุโส ส่วนใหญ่เพื่อนร่วมทีมที่เล่น ก้เป็นพวกอาวุโสซะมากกว่าเช่น พี่อัศวิน ธงอินเนตร อัษฎางค์ ปาณิกบุตร และก็ โชคชัย สุวารี อะไรต่างๆ นี้ ซึ่งแต่ละคนก็อายุ 80 กว่า ผมเองตอนนี้ก็ 74 แหละ (หัวเราะ)
อัศวิน ธงอินเนตร Cr.หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายอัศวิน ธงอินเนตร เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2509
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
โชคชัย สุวารี Cr.สูจิบัตรงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 40 (สนจ. เอื้อเฟื้อมา ณ ที่นี้)
ภาพแรก - อัศวิน ธงอินเนตร Cr.หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายอัศวิน ธงอินเนตร เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2509
ภาพสอง - อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
ภาพสาม - โชคชัย สุวารี Cr.สูจิบัตรงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 40 (สนจ. เอื้อเฟื้อมา ณ ที่นี้)
M: บรรยากาศในทีมช่วงนั้นเป็นอย่างไรบ้างครับ
สุจินต์: คือตอนนั้นเนี่ยนะฮะ ผมเองก็ซ้อมหนักเหมือนกัน เพราะว่าตอนที่อยู่ธรรมศาสตร์เนี่ย ก็เล่นกีฬาทุกอย่าง ตั้งแต่ฟุตบอล กรีฑา รักบี้ด้วยนะฮะ ผมเป็นนักวิ่ง 100 เมตร ของธรรมศาสตร์ ก็อาศัยที่วิ่งเร็ว ก็วิ่ง 100 เมตรขึ้นมา 11.15 อะไรแบบนี้ ก็ได้เปรียบ ตอนหลังก็คือ กองหน้าของคนอื่นๆ เขา ของเราอึดกว่า
M: แล้วบรรยากาศฟุตบอลประเพณีในตอนนั้นเป็นอย่างไรครับ
สุจินต์: คือตอนที่ผมเข้าไป ประมาณปีแรก สมัยนั้นนี่ เขายังมีแห่คบเพลิง ใช่ม่ะ แห่คบเพลิง คือหมายความว่า พอฟุตบอลเสร็จปั้บเนี่ย เขาจะแห่คบเพลิง เดินไปตามท้องถนน เดินจากธรรมศาสตร์ไปจุฬาฯ เพื่อจะไปฉลองอะไรต่างๆ เนี่ย ซึ่งสมัยนี้คงไม่มีแล้ว เพราะว่าเขาก็กลัวว่า การแห่คบเพลิง จะกลายเป็นมือวางเพลิง คือนักศึกษา ไม่สาจุฬาฯ-รรมศาสตร์ คือนึกวันนึกคืนให้ถึงบอลประเพณีฯ เร็วๆ เพราะแต่ละคนนี่ เขาจะได้แต่งตัวตามที่เขาต้องการ แต่งตัวสวยๆ ธรรมศาสตร์ก็ วันนั้นก็เป็นวันที่ คนแต่งสวยสุดชีวิต
M: แล้วมีเกมฟุตบอลประเพณีปีไหนที่ประทับใจมากที่สุดครับ
สุจินต์: คือปีไหนนี่ผมจำไม่ได้ แต่ได้เล่นหน้าพระที่นั่ง แล้วปีนั้นนี่ ผมก็ก็เล่นเต็มที่เลย เพราะผมเล่นเซ็นเตอร์ฮาล์ฟ เซ็นเตอร์ฮาล์ฟนี่เป็นตัวสต็อปเปอร์ ภายหลังเขาบอกว่า คือวิ่งเร็วอยู่แล้ว ทำให้เราได้เปรียบ และก็รู้สึกชนะเขามา 2-0 3-0 นี่แหละ ถ้าจำไม่ผิด แล้วขึ้นไปรับโล่ รับของขวัญจากในหลวง (รัชกาลที่ 9) รู้สึกเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจมากๆ
M: ความรู้สึกในการเล่นบอลประเพณีในแต่ละครั้ง รู้สึกอย่างไรบ้างครับ
สุจินต์: คือฟุตบอลประเพณีเป็นฟุตบอลที่เป็นเกียรติ เป็นศักดิ์เป็นศรี แล้วในฐานะที่เป็นนักกีฬาด้วย พอเราได้ใส่เสื้อเหลืองแดง แล้วก็รู้สึกดีใจในสถาบัน เหมือนกับ จุฬาฯ คือมีความผูกพัน พอถึงบอลประเพณีปั้บ เราใส่เสื้อสีชมพูเนี่ย เขาก็รู้สึก Proud ในมหาลัยเขา เวลาเราเล่นกันเนี่ย เราก็เล่นกันในฐานะนักกีฬา แพ้ชนะก็อยู่ในเกม ไม่มีการนอกเกมเลย ซึ่งน่าจะเป็น Gentleman Sprit อย่างมากๆ ในสมัยโน้นอ่ะนะฮะ
M: หลังจากที่เลิกเล่นฟุตบอลบอลประเพณี ได้มีโอกาสกลับไปช่วย หรือมีส่วนร่วมกับบอลประเพณีในส่วนอื่น ๆ ไหมครับ
สุจินต์: ก็หลังจากเลิกไปแล้วเนี่ยก็ไปดูสักสามสี่ครั้งได้ แล้วนอกนั้นก็ดูทางทีวี ซึ่งบรรยากาศมันก็คล้ายๆ กัน คือทางทีวีเนี่ย อยู่ที่บ้านเราอยู่ในชุดไหนก็ได้ ความสบายผิดกัน ตื่นเต้นเหมือนกัน
M: มองวันนี้ของฟุตบอลประเพณีอย่างไรบ้างครับ
สุจินต์: ฟุตบอลประเพณีเนี่ย ก็อยากจะให้แต่ละสถาบันเนี่ยนะ เขารักษาไว้ เพื่อจะให้มันเป้นสิ่งที่ภูมิใจของพวกนักศึกษาต่างๆ และก็เป็นแบบอย่างของสถาบันการศึกษาอื่น ที่ว่า ที่จะดำริรักษาประเพณีอันนี้ไว้ เพราะว่ามันก็เหมือน Oxford กับ Cambridge ของอังกฤษ อันนี่คู่ๆ กันเลย
M: จะฝากอะไรไปถึงน้อง ๆ นักฟุตบอล และ น้อง ๆ ชาวธรรมศาสตร์ บ้างครับ
สุจินต์: คือก็อยากให้ รุ่นน้องธรรมศาสตร์ทุกคนเนี่ย นอกจากว่าจะเรื่องกีฬาแล้วเนี่ย ก็ให้คำนึงถึงการเรียนกันด้วย เพราะว่า การเรียนเนี่ยจะเป็นสิ่งที่ช่วยเราหลังจากที่เราสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ในขณะที่เราเป้นนักกีฬาด้วย เรียนเก่งด้วย ได้เหรียญทองด้วย และก็เป็นสุดยอดทุกสิ่งทุกอย่างแล้วครับ ขอให้เอาใจช่วย
M: จะฝากอะไรไปถึงจุฬาฯบ้างครับ
สุจินต์: โอ้ จุฬาฯ เนี่ย ความจริงเนี่ย ผมก็มีเลือดเนื้อเชื้อไขอยู่จุฬาฯ นะ ลูกสาวคนเล็กเนี่ย เขาเรียนสถาปัตย์ฯ จุฬา และตอนนี้เขาจบไปแล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ย ถึงแม้ว่าจะไปห่ำหั่นกันในเกมการแข่งขัน แต่โดยความสัมพันธ์ ความรู้สึกที่ดีเนี่ย ก็รักในจุฬาฯเหมือนกัน เราก็เอาใจช่วย ขอให้จุฬาฯ เก่งๆ ผลิตทีมชาติออกมาเยอะๆ เพราะตอนนี้ทีมชาติเรา ไม่ค่อยมี
ถอดบทสัมภาษณ์ สุจินต์ พลาวงศ์ อดีตนักฟุตบอลประเพณีของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562
โฆษณา