5 ก.พ. 2020 เวลา 23:59 • ไลฟ์สไตล์
กลอุบายที่ 13 “เด็กน้อยกันหลัว ยึดเมืองได้โดยไม่ต้องรบ”
ใน36 กลอุบาย “ตีหญ้าให้งูกลัว”
กลอุบายนี้ ก็เป็นอีกกลอุบายที่มีความหมายคล้ายคลึงกับสุภาษิตของไทย”แหวกหญ้าให้งูตื่น” แม้จะมีความหมายคล้ายกันแต่กับถูกใช้ไปคนละแบบ
“แหวกหญ้าให้งูตื่น” หมายถึงการทำเหตุการณ์ใดๆ โจ่งแจ้งเกินไป เลยทำให้อีกฝ่ายรู้ตัว จนหนีไป หรือแก้ปัญหาได้ก่อน
แต่ในกลอุบายที่13 ใน36 กลอุบายนั้นคำว่า “ตีหญ้าให้งูกลัว”
กลับมีความหมายไปในทำนองการใช้คำพูดหรือการกระทำ ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามกลัวแล้วยอมทำในสิ่งที่เราอยากให้เขาทำ หรือ ไม่ทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เขาทำ โดยที่เราไม่ต้องใช้ความพยายามมากนัก ใช้เพียงแค่คำพูดเท่านั้นเอง
อย่างบทความนี้ ผมจะยกตัวอย่าง เด็กน้อยกันหลัวที่สามารถขู่กษัตริย์รัฐเจ้า จนต้องยอมยกเมืองให้ฟรีๆโดยไม่ต้องรบ
ในสมัยเลียดก๊กตอนปลาย(เลียดก๊กคือก่อนสมัยที่ฉินซีฮ่องเต๋ จะรวมประเทศได้นะครับ)
รัฐฉินเป็นรัฐใหญ่ ที่มุ่งจะรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น แต่ในขณะนั่นรัฐฉิน รัฐเอียน รัฐเจ้า เป็นรัฐใหญ่ที่มีอาณาเขตติดกัน
1
ไม่ว่าใครจะรบกับใคร ก็ต้องระแวงอีกรัฐที่อยู่ข้างๆด้วย เพราะฉะนั้นการทำศึกแบบนี้จึงเหมาะกับการศึกแบบลับฝีปากมากที่สุด
ฉิงอ๋องหรือฉินซีฮ่องเต๋ เลยแสร้งทำอุบาย ส่งทูตไปเจรจากับรัฐเอียนซึ่งเป็นรัฐที่เล็กที่สุด โดยยุยงว่า รัฐเจ้าชอบรุกรานรัฐเอียนอยู่หลายครั้ง
รัฐเอียนกับรัฐฉิน มาญาติดีกันเถอะ และร่วมมือกัน ต่อต้านรัฐเจ้า กษัตริย์รัฐเอียนก็ตกลงเห็นดีเห็นงามกับรัฐฉิน โดยให้มีการทำหลักประกันกับทั้งสองฝ่าย
ฝ่ายรัฐเอียนจะส่งมกุฎราชกุมารไปเป็นเชลยที่รัฐฉิน ส่วนรัฐฉินก็ส่ง จังถังขุนนางคนสำคัญในรัฐฉินไปเป็นเชลยในรัฐเอียน
แต่เรื่องไม่จบเพียงเท่านี้ หลวี่ปู้เหวย มหาอุปราชของรัฐฉิน ก็แอบส่งกันหลัวเด็กน้อยอายุเพียง 12ปี ที่มีฝีปากไม่ธรรมดา ไปเจรจาเกลี้ยกล่อมกษัตริย์รัฐเจ้า
เมื่อพบกษัตริย์รัฐเจ้า กันหลัวก็ถามกษัตริย์รัฐเจ้าว่า
“รัฐเอียนจะส่งมกุฎราชกุมารไปรัฐฉิน และรัฐฉินจะส่งจังถังไปรัฐเอียน นั้นหมายความว่าฉินกับเอียนจะญาติดีต่อกัน หากเป็นเช่นนั้นรัฐเจ้าก็จะมีอันตราย”
กษัตริย์รัฐเจ้า ถามกลับ กันหลัวว่า “แล้วเราควรทำอย่างไร”(ถามแบบนี้กันหลัว ก็ยิ้มสิเข้าทาง)
กันหลัว จึงแสร้งอุบาย”ตีหญ้าให้งูกลัว” กล่าวว่า
“การที่รัฐฉินกับรัฐเอียนเป็นมิตรกันก็เพราะ เตรียมที่จะยกทัพมาตีรัฐเจ้า” (แล้วก็หยุดพูดมองหน้ากษัตริย์รัฐเจ้า)
“ถ้าได้รับชัยชนะ รัฐเจ้าของท่านก็จะต้องยกพื้นที่ให้รัฐฉิน”(ผมว่าในตอนนั้น กษัตริย์รัฐเจ้า ต้องคิดว่าไอ้เด็กนี้กล้าดี ยังไงมาขู่เรา)
“แต่ถ้ารัฐเจ้ายอมยกเอาเมืองที่อยู่ติดกับรัฐฉิน ให้แก่รัฐฉินเสียบ้าง รัฐฉินก็จะไม่คืนดีกับรัฐเอียน”
“เมื่อเป็นเช่นนั้น ยามรัฐเจ้ายกทัพไปตีรัฐเอียน ทหารทัพฉินก็จะไม่ยกทัพไปช่วยรัฐเอียน และก็จะไม่ฉวยโอกาสโจมตีรัฐเจ้า”
“และเมื่อรัฐเจ้ารบชนะรัฐเอียน รัฐเจ้าก็จะได้พื้นที่รัฐเอียนอีกมากมาย”
พอกษัตริย์รัฐเจ้าได้ฟังดังนั้น ก็ตอบตกลงยอมยกหลายเมืองให้รัฐฉิน และได้ยกทัพไปรบกับรัฐเอียนจนได้ชัยชนะ ทำให้รัฐเจ้าได้พื้นที่เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก
จะเห็นได้ว่าในบางครั้งแค่การพูดเพียงบางคำ สามารถทำให้สถานการณ์พลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือได้อย่างน่าอัศจรรย์
ดูจากตัวอย่างกันหลัวอายุแค่เพียง12ปี ก็สามารถใช้เพียงวาจายึดเมืองมาจากรัฐเจ้าได้แล้ว โดยไม่ต้องออกแรงทำสงครามเลย
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ ลองเอาไปปรับใช้ดูนะครับ
อ้างอิง: มาจากหนังสือเรี่อง 36กลอุบาย โดย สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย
##ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเข้ามาเป็นกำลังใจให้เพจใจดีกันนะครับ🙇🏻‍♂️##
โฆษณา