11 ก.พ. 2020 เวลา 07:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประชากรหิ่งห้อยกว่า 2,000 ชนิดทั่วโลกกำลังใกล้สูญพันธุ์
โดยเฉพาะในประเทศไทยจำนวนหิ่งห้อยลดลงกว่า 70% ภายใน 3 ปี
ย้อนกลับไปสัก 10 ปีที่แล้ว ทุก ๆ คืนจะสามารถพบเห็นแสงกระพริบเล็กๆ จากหิ่งห้อยได้ทั่วไป ทั้งตามริมแม่น้ำ ลำคลอง สวนต่าง ๆ ซึ่งพบเห็นกันได้อย่างง่ายดาย
.
แต่ ณ ปัจจุบัน การจะพบเห็นหิ่งห้อยตัวหนึ่ง กลับกลายเป็นเรื่องที่หาได้ยาก และหากได้เห็นแม้เพียงตัวเดียวก็จะรู้สึกตื่นเต้น ทั้งที่เมื่อก่อนเราเห็นกันจนชินตา
2
ทำไมมันจึงกลายเป็นเช่นนั้น…หิ่งห้อยหายไปไหนและอะไรทำให้มันหายไป
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับแมลงชนิดนี้กันก่อน
1
แมลงปีกเเข็งที่ชื่อว่า "หิ่งห้อย (Firefly) "
หิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เป็นด้วงที่ลำตัวอ่อนและปีกอ่อน ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกเเข็งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับแมลงเต่าทอง แต่จะแตกต่างกันตรงที่เต่าทองมีปีกอ่อนซ่อนอยู่ใจ้ปีกแข็ง แต่หิ่งห้อยจะมีปีกแข็งเพียงอย่างเดียว
หิ่งห้อยเพศผู้ลำตัวยาวประมาณ 4-25 มิลลิเมตร ส่วนตัวเมียจะมีลักษณะเป็นหนอนลำตัวยาวประมาณ 100 มิลลิเมตร หิ่งห้อยจะกระพริบแสงในช่วงสั้น ๆ ของชีวิต ซึ่งช่วงที่กระพริบคือช่วงที่ต้องการสืบพันธุ์
ช่วงชีวิตอันแสนสั้นของเจ้า "หิ่งห้อย"
หิ่งห้อยตัวเต็มวัยคือ วัยที่สามารถส่องแสงได้ จะเห็นว่าช่วงเวลาของหิ่งห้อยที่ส่องแสงให้เราได้เห็นกันนั้นสั้นมาก โดยมีระยะแค่ 1 เดือนเท่านั้น
.
(หิ่งห้อยเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีอายุรวมไม่เกิน 1 เดือน)
ความลับของแสงหิ่งห้อย💡
แสงของหิ่งห้อยนั้นเกิดจากปฎิกิริยาทางเคมีในร่างกายของพวกมัน ซึ่งเริ่มจากสมองหลั่งสารเคมีชื่อ ไนตริกออกไซด์ส่งสัญญาณไปที่เซลล์ส่วนท้อง ให้กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ แปลงสารเคมีในเซลล์ให้เป็นพลังงานแสง
โดยสารลูซิเฟอริน ( Luciferin ) ทำปฎิกิริยาร่วมกับออกซิเจน โดยมีเอนไซม์Luciferase เป็นตัวกระตุ้น มีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Andenosine triphosphate) หรือ ATP เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง เป็น “การผลิตแสงโดยไม่ใช้พลังงานความร้อน” และการพริบแสงของหิ่งห้อยแต่ละชนิดนั้น มีความแตกต่างกันไป บางชนิดกระพริบเร็ว บางชนิดกระพริบช้า
หิ่งห้อยใช้การกระพริบแสงเพื่อสื่อสารกัน โดยตัวผู้จะเริ่มกระพริบแสงก่อน หากตัวเมียเห็นแบล้วพึงพอใจก็จะกระพริบแสงตอบ เพื่อให้รู้ว่าตนอยู่ที่ตำแหน่งไหน
นอกจากนี้ สารเรืองแสงพบได้แค่ในหิ่งห้อยเท่านั้น มนุษย์ยังไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้
ความงดงามคือภัย…
แมลงที่สามารถส่องแสงในตัวเองได้ หากมารวมตัวกันเยอะ ๆ จะเป็นภาพที่สวยงามเหมือนกับแฟนตาซี ทำให้ผู้คนแห่กันหลั่งไหลเข้าไปชื่นชมความงดงามของหิ่งห้อยกันอย่างล้นหลาม
ตามมาด้วยการเติบโตของชุมชนจนกลายเป็นเเหล่งท่องเที่ยว แต่ว่า…
"หิ่งห้อยมีความอ่อนไหวค่อนข้างสูง" พวกมันไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้พวกมันล้มหายตายจากพายในระยะเวลาอันสั้น
ภัยคุกคามที่ทำให้จำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว
.
การสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัย จากการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่อยู่อาศัย
.
การเพิ่มขึ้นของการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในการเกษตร
.
กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อชมหิ่งห้อย
การใช้ไฟที่มากเกินไปทำให้หิ่งห้อยสูญพันธุ์.......
แสงไฟ จากความเจริญ เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้หิ่งห้อยหายไป มันคือราคาของสิ่งที่เราต้องจ่ายเพื่อความก้าวหน้า แสงไฟที่สว่างไสวในยามค่ำคืนจากตึกสูง เป็นมลพิษทางแสงที่ไม่น่าเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรหิ่งห้อยได้
การศึกษาพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อย โดย ดร.อัญชนา กล่าวไว้ว่า
.
แสงไฟมีผลต่อพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อย โดยความเข้มแสงเพียง 0.3 ลักซ์***
ก็มีผลแล้ว ( หลอดไฟปกติที่ใช้กันมีความเข้มแสงถึง 320 - 500 ลักซ์) โดยในการทดลอง จะนำหิ่งห้อยตัวผู้และตัวเมียที่ไม่ผ่านการผสมพันธุ์มาจับคู่ในห้องที่มีความมืดสนิท
.
และสว่างขึ้นเรื่อย ๆ ผลปรากฎว่า หิ่งห้อยที่อยู่ในห้องมืดสนิท ใช้เวลาเพียง 30 นาทีในการผสมพันธุ์ แต่ในห้องที่แสงสว่าง หิ่งห้อยจะใช้เวลานานขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งที่ความเข้มแสง 0.3 ลักซ์หิ่งห้อยใช้เวลาถึง 5-7 ชั่วโมง
.
.
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ในห้องที่มืดสนิท หิ่งห้อยจะมาเจอกันได้อย่างรวดเร็ว กว่าในห้องที่มีสว่าง
เพราะฉะนั้น อย่าเปิดไฟเวลาเจอหิ่งห้อย🖐🏻‼️
อำนาจของไฟนั้นมีมากเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุมได้ หากเราใช้ไปในทางที่ผิดวิธี สุดท้ายไฟนั้นก็จะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองในที่สุด
"ไฟที่ร้อนแรงจะเผาผลาญทุกสิ่ง ไฟที่บางเบาไม่สามารถสร้างความอบอุ่น"
https://unsplash.com/photos/g5Uh7nP60FA
“ความเจริญ” กับ “มลภาวะ” เป็นของคู่กัน
หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่ต้องการความสงบ ไม่มีมลภาวะ ไม่มีผู้มารบกวน ตัวอ่อนของหิ่งห้อยต้องการแหล่งน้ำที่สะอาด ถ้าแหล่งน้ำมีสารพิษปนเปื้อนตัวอ่อนของหิ่งหอยและหอยต่างๆ ก็จะตาย
ในอดีต “ลำน้ำอัมพวา” เคยโด่งดังเรื่องจำนวนของหิ่งห้อย โดยสามารถพบได้ตามต้นลำพูที่อยู่ตามริมคลองอย่างหนาแน่น หิ่งห้อยจะกระพริบแสงสวยงามในงามค่ำคืน อย่างกับต้นไม้สวรรค์
แต่ปัจจุบันคุณภาพน้ำของคลองอัมพวานั้นด้อยลง จากการค้าขายและที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณหิ่งห้อยลดลงอย่างมาก รวมถึงการท่องเที่ยวเพื่อชมหิ่งห้อยซึ่งเป็นการรบกวนวิถีชีวิตของหิ่งห้อย หิ่งห้อยจีงหาชมได้ยากในปัจจุบัน และในหลายปีข้างหน้าอาจจะไม่มีหิ่งห้อยให้เราได้ชมกันอีก
1
หิ่งห้อย...ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ🌳
ในธรรมชาติ หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เพราะฉะนั้น "ที่ใดมีหิ่งห้อย ที่นั้นย่อมปราศจากมลพิษ" หิ่งห้อยจึงเป็นตัวบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี และ ยังชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศได้อีกด้วย
ประโยชน์ของหิ่งห้อยต่อระบบนิเวศ👇🏻
หิ่งห้อยก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่เป็นทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่าในระบบนิเวศ ซึ่งทำให้ระบบนิเวศยังคงอยู่ในสมดุล
มาช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ💦 เพื่อเป็นบ้านให้กับหิ่งห้อย และเพื่อให้เราและลูกหลานได้เห็นความสวยงามของหิ่งห้อยตัวน้อยๆ นี้กันไปนานๆ นะครับ
บทเพลงจากหิ่งห้อย
หิ่งห้อยในกล่องตอนนี้เหมือนหนอนตัวหนึ่ง ไม่สวยดังซึ่งตอนอยู่ ใต้ต้นลำพูส่องแสง
.
ยายยิ้มแล้วสอนตาม จะมองเห็นความจริง อย่าขังความจริงที่เห็น อย่างขังความงาม
.
หิ่งห้อยนับร้อยนับพัน ส่องแสงระยิบระยับกัน สว่างไสวไปทั้งต้นลำพู
.
เด็กน้อยถือกล่องออกมา เปิดฝา แล้วแง้มมองดู
.
หนอนน้อยในกล่องงามหรูก็เปล่งแสงสุกใสบินไปรวมกัน
เนื้อเพลงข้างต้นคือส่วนหนึ่งในบทเพลง "นิทานหิ่งห้อย" ของ ศุ บุญเลี้ยง ที่เล่าถึงความงามของหิ่งห้อย ลองฟังฉบับเต็มได้ในลิ้งนี้เลยครับ
***หมายเหตุ ลักซ์ คือ หน่วยที่ใช้วัดความสว่างบนพื้นที่ที่แสงตกกระทบ 1 ลักซ์ คือความสว่างที่เกิดจากแสง 1 ลูเมนตกบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา