11 ก.พ. 2020 เวลา 03:10 • ธุรกิจ
ปลาทาโร หรือ เถ้าแก่น้อย ขายดีกว่ากัน?
“ทาโร” และ “เถ้าแก่น้อย” ถือเป็นแบรนด์ขนมไทยที่แข็งแกร่งทั้งคู่
1
ทาโร ครองส่วนแบ่งการตลาดขนมปลาเส้น 80%
เถ้าแก่น้อย ครองส่วนแบ่งการตลาดขนมสาหร่าย 70%
แล้วหากผู้ชนะจากทั้ง 2 กลุ่มขนมขบเคี้ยวมาวัดกัน
ใครจะน่าสนใจกว่ากัน?
ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นที่บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ทาโร
ปี 2559 รายได้จากการขาย 4,053 ล้านบาท กำไร 345 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้จากการขาย 4,186 ล้านบาท กำไร 502 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้จากการขาย 4,472 ล้านบาท กำไร 365 ล้านบาท
รายได้เติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี
ซึ่งเป็นรายได้จากประเทศไทย 80% ต่างประเทศ 20%
สำหรับกำไรก้าวกระโดดปี 2560 มาจากรายการพิเศษจากเงินลงทุน
1
ทีนี้มาดูบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ปี 2559 รายได้จากการขาย 4,705 ล้านบาท กำไร 782 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้จากการขาย 5,264 ล้านบาท กำไร 608 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้จากการขาย 5,663 ล้านบาท กำไร 456 ล้านบาท
1
รายได้เติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี
โดยเป็นรายได้จากประเทศไทย 40% ต่างประเทศ 60%
1
ซึ่งกำไรที่ตกลงหนักในปี 2561 มาจากค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตัดทำลายสินค้า
จากการเปลี่ยนผู้แทนจำหน่ายในประเทศจีน
3
แล้วรายได้ของทั้ง 2 บริษัทมาจากอะไรบ้าง?
พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง เจ้าของ ทาโร มาจาก
1
ธุรกิจผลิต จัดจำหน่ายสินค้า 79%
ธุรกิจผลิตอาหารปลาทูน่า อาหารทะเล ซอส 19%
ธุรกิจอาหารแช่แข็งและให้บริการพื้นที่ห้องเย็น 1%
อื่นๆ 1%
2
ในขณะที่ รายได้ทั้งหมดของเถ้าแก่น้อยมาจากสินค้าที่บริษัทเป็นผู้ผลิตขึ้นเอง
1
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ อัตรากำไรขั้นต้น ที่คิดจากรายได้หักต้นทุนการผลิต
1
พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
ปี 2559 อัตรากำไรขั้นต้น 28%
ปี 2560 อัตรากำไรขั้นต้น 27%
ปี 2561 อัตรากำไรขั้นต้น 28%
1
เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง
ปี 2559 อัตรากำไรขั้นต้น 36%
ปี 2560 อัตรากำไรขั้นต้น 32%
ปี 2561 อัตรากำไรขั้นต้น 31%
สาเหตุที่ บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำกว่า เพราะบริษัทมีธุรกิจจัดจำหน่ายที่กำไรน้อยอยู่ด้วย
ซึ่งบริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง มีแผนที่จะทำธุรกิจจัดจำหน่ายน้อยลง
และหันมาโฟกัสธุรกิจผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น
Cr. Premier Marketing
จากเรื่องนี้ก็จะทำให้ระยะสั้น บริษัทอาจมีรายได้ลดลง
แต่ระยะยาว อัตรากำไรขั้นต้นของพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สำหรับเถ้าแก่น้อยที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่า
แต่มีแนวโน้มที่ลดลง
เพราะมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตัดทำลายสินค้าจากการเปลี่ยนผู้แทนจำหน่ายในประเทศจีน
มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าแม้ทั้ง 2 บริษัทจะขายขนมเหมือนกัน
แต่ลักษณะการทำธุรกิจแตกต่างกันพอสมควร
พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง การเติบโตไม่สูงเท่า เถ้าแก่น้อย
บริษัทโฟกัสธุรกิจในประเทศไทยเป็นหลัก
แบรนด์ทาโร เป็นเจ้าตลาดขนมปลาเส้น
มีการกระจายธุรกิจอื่นๆ เช่น จัดจำหน่าย อาหารทะเล ซอส
1
บริหารกำไรขั้นต้นได้คงที่ ธุรกิจคาดการณ์ได้ง่าย
1
เถ้าแก่น้อย เป็นบริษัทเติบโตเร็ว
โฟกัสการเติบโตในตลาดต่างประเทศ
สินค้าผลิตเองทั้งหมด กำไรขั้นต้นสูง
แต่ก็มีความเสี่ยงทั้งจากอัตราแลกเปลี่ยนและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในต่างประเทศ
Cr. The National
สำหรับสิ่งที่ทั้ง 2 บริษัทมีเหมือนกันก็คือ
ทั้ง 2 บริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
และทั้ง 2 บริษัท ไม่มีหนี้และมีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงทั้งคู่
1
ทีนี้เรามาดูว่า นักลงทุนให้ราคาทั้ง 2 บริษัทนี้อย่างไร?
ปัจจุบัน..
กำไร 1 บาทของปลาทาโร มีมูลค่า 14 บาท
กำไร 1 บาทของเถ้าแก่น้อย มีมูลค่า 49 บาท
2
สะท้อนให้เห็นว่ากำไรที่เถ้าแก่น้อยทำได้ สร้างมูลค่าบริษัทได้มากกว่า เป็น 3.5 เท่าของกำไรปลาทาโร..
1
ถึงตรงนี้ เราก็อาจสรุปได้ว่า
นักลงทุนคาดการณ์การเติบโตของเถ้าแก่น้อยสูงกว่าปลาทาโร่
ซึ่งเรื่องนี้อาจมาจากการเน้นขยายธุรกิจในต่างประเทศของเถ้าแก่น้อย
ถ้าเถ้าแก่น้อยทำสำเร็จ มันก็จะทำให้รายได้เติบโตกว่านี้อีกหลายเท่า
แต่ก็เป็นคำถามที่น่าคิดว่านักลงทุนคาดหวังสูงเกินไปหรือไม่
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่.. คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ คุณต๊อบ เถ้าแก่น้อย อยู่ดีๆ ก็ได้เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับที่ 6 ของบริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำนวน 6,010,100 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท..
1
โฆษณา