8 ก.พ. 2020 เวลา 07:51 • กีฬา
ทำความรู้จักกับทีมบอลอังกฤษที่เจ้าของทีมเป็นคนไทยกันครับ
การลงทุนไม่ว่าในเรื่องใดก็ตามยิ่งมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็ยิ่งสูง ตามคำกล่าวที่ว่า “High Risk High Return”
การลงทุนในสโมสรฟุตบอลก็เช่นกันครับ
ด้วยผลตอบแทนจากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจำนวนมหาศาล
ทำให้สโมสรฟุตบอลในอังกฤษนั้นก็เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายในการลงทุนทำทีมฟุตบอลของมหาเศรษฐีทั่วโลก รวมถึงเศรษฐีจากประเทศไทยด้วยเช่นกัน
การซื้อทีมที่อยู่ในลีกสูงสุดอย่างพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก
เพราะต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล หากไม่ได้รวยมากอาจจะไม่สามารถทำการเข้าซื้อได้
ดังนั้นทางเลือกที่มีความเป็นไปรองลงมาจึงเป็นการคัดเลือกทีมในลีกรองของอังกฤษอย่าง “อีเอฟแอล แชมเปียนส์ชิพ” หลังจากนั้นจึงบริหาร ปลุกปั้นทีมให้ขึ้นไปสู่พรีมียร์ลีก
เหมือนอย่างที่ “เลสเตอร์ซิตี้” ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้นั่นเองครับ
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับทีมฟุตบอลที่เจ้าของเป็นคนไทยหรือเคยเป็นของคนไทยกันคร่าวๆครับ
1)เลสเตอร์ซิตี้ เจ้าของทีม: คุณ ต๊อบ อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา
ไม่มีใครไม่รู้จักครับสำหรับทีมนี้ เพราะเป็นหนึ่งในทีมที่พลิกประวัติศาสตร์
สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกมาครองได้อย่างเหลือเชื่อ หักปากกาเซียนทุกสำนัก
โดยในปีที่คว้าแชมป์มีประธานสโมสรคือ คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของอาณาจักรสินค้าปลอดภาษี duty free อย่าง “King Power”
เป็นการเข้าซื้อในปี 2010 เป็นจำนวนเงิน 39 ล้านปอนด์ ราวๆ 1.9 พันล้านบาท
ตลอดเวลาที่เขาได้เข้ามาบริหารสโมสรแห่งนี้ รู้สึกดีใจแทนแฟนๆและชาวเมืองเลสเตอร์เป็นอย่างมาก
ที่พวกเขาได้ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี พัฒนา ซื้อผู้เล่นใหม่เข้าทีมมาอย่างสม่ำเสมอ
จนทำทีมประสบความสำเร็จในที่สุดครับ สังเกตได้จากหลังข่าว เฮลิคอปเตอร์ของคุณวิชัยตก ชาวเมืองและแฟนบอลเลสเตอร์จำนวนมากต่างแสดงอาลัยบริเวณที่สนามคิงส์ เพาเวอร์สเตเดียม
สมกับวลีที่ว่า “อยู่ให้รัก จากไปให้คิดถึง” จริงๆเลยครับ
หลังจากนั้นคุณต๊อบจึงรับไม้ต่อเพื่อนำเลสเตอร์ ซิตี้ไปให้ไกลกว่าเดิม
โดยผลงานในปัจจุบันถือว่ายอดเยี่ยมครับ อยู่ลำดับที่ 3 บนตารางคะแนนพรีเมียร์ลีก
2)เชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ เจ้าของทีม: คุณ เดชพล จันศิริ
สำหรับเชฟฟิลด์นี้เป็นทีมหนึ่งที่อยู่ในลีกรองของอังกฤษ คุณเดชพล เป็นเจ้าของ บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรสเซ่น
ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง
หนึ่งในบริษัทส่งออกทูน่าใหญ่ที่สุดของโลก
ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่เรารู้จักกันดี
เขาได้เข้าซื้อทีมเมื่อปี 2015 ด้วยเงินส่วนตัว 37.5 ล้านปอนด์ ราวๆ 1.8 พันล้านบาท
โดยได้ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐถึงการเข้าซื้อไว้ดังนี้
“จริงๆแล้วผมไม่มีความสนใจและความรู้เกี่ยวกับฟุตบอลอยู่แล้ว เผอิญลูกชายผมเขาชอบฟุตบอล แต่ก็ไม่ได้ถึงขนาดตัดสินใจซื้อเพราะเขาชอบทีเดียวนัก"
"พอดีมีคนมาเสนอให้ผมพิจารณาอยู่หลาย ผมจึงได้ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์และค่อยๆ ศึกษาความเป็นมาของแต่ละทีม ก็ค่อยๆ ซึมซับไปเรื่อยๆ เกี่ยวกับประวัติและความเก่าแก่ของแต่ละทีม"
"จนสุดท้ายผมเลือกที่จะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียดเพียงทีมเดียว นั่นคือ เชฟฟิลด์ เวนส์”
โดยเขาได้เล่าถึงแมตช์ที่ประทับใจไว้ดังนี้
“ถ้าเจอกับทีมใหญ่ก็คงเป็นอาร์เซนอลเราชนะ 3-0 แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาร์เซนอลใช้ทีมสำรองในส่วนตรงนั้น"
"คือจริงๆ แล้วทุกเกมที่ทีมเราลงแข่งก็ภูมิใจทุกเกมนะครับเพราะเราก็คิดว่าเราพยายามทำดีที่สุด”
ปัจจุบันเชฟฟิลส์อยู่ที่ 11 ประจำลีก EFL แชมป์เปียนส์ชิพ ครับ เป็นกำลังใจให้ทีมขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกให้ได้ครับ
3)เรดดิ้ง เจ้าของทีม : กลุ่มทุนจากไทย คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์, คุณ สัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ ธนะกาญจนสุทธิ์ และ คุณ นรินทร์ นิรุตตินานนท์
โดยถือหุ้นในสัดส่วน 75% เข้าซื้อทีมเมื่อปี 2014 ครับ จนกระทั่งปี 2017 ไต้ หยงเก๋อ และ ไต้ ซิ่ว หลี่ สองพี่น้องนักธุรกิจจากจีน ได้เข้ามาซื้อหุ้นใหญ่กลายเป็นเจ้าของทีมรายใหม่แบบเต็มตัวแล้ว
4)แมนเชสเตอร์ซิตี้ : คุณ ทักษิณ ชินวัตร
คุณทักษิณเป็นคนแรกๆที่บุกเบิกการซื้อทีมฟุตบอลในอังกฤษของคนไทย
โดยถือหุ้นในสัดส่วน 75% ด้วยเงินจำนวน 81.6 ล้านปอนด์เมื่อปี 2007
ซึ่ฝ ณ ขณะนั้น ซิตี้ยังเป็นเพียงทีมกลางตาราง โดยมีเป้าหมายนำพาซิตี้มุ่งสู่หัวตาราง ด้วยการแต่งตั้งกุนซือมากประสบการณ์อย่าง “สเวน โกรันอีริกสัน”
แต่ภายในเวลาไม่ถึงปี คุณทักษิณจึงต้องยอมขายทีมให้กับ “อาบูดาบี ยูไนเต็ด กรุ๊ป”
กลุ่มทุนจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเงิน 210 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท)
จบไปแล้วนะครับสำหรับทีมฟุตบอลอังกฤษที่มี(เคยมี)เจ้าของเป็นคนไทย ในอนาคตไม่แน่นะครับอาจจะมีอีกหลายคนเลยก็ได้ครับ
จากมุมมองของผมสิ่งสำคัญสิ่งแรกของการเข้าซื้อที่ประสบความสำเร็จคือ ต้องมีเงินจำนวนมากๆครับ
เป็นที่รู้กันว่าสโมรสร มีรายได้จากการขายตั๋ว ขายเสื้อ(อาจมีส่วนแบ่งกับแบรนด์เสื้อ
้อ) ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสปอนเซอร์บนอกเสื้อ
แต่ในขณะที่รายจ่าย ต้องจ่ายให้นักเตะและสตาฟทีมงาน อีกหลายสิบหลายร้อยชีวิต ค่าน้ำไฟในสนามในสำนักงาน
แต่เงินก้อนที่ต้องจ่าย เพื่อตอบสนองความต้องการของแฟนบอล นั่นคือเงินที่ต้องจ่ายซื้อนักเตะครับ ซึ่งต้องยอมรับว่าตลาดค่อนข้างเฟ้อในระดับหนึ่ง
สำหรับข้อนี้หากมีผู้บริหารและทีมงาน รวมถึงนักบัญชีต้นทุนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการรายรับรายจ่าย ก็อาจจะไม่เข้าเนื้อของเจ้าของก็ได้ครับ
สิ่งถัดมา คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียกับทีมครับ
ไม่ว่าจะเป็นแฟนบอล ที่ต้องปรับความเข้าใจให้เขารู้ว่าเรามาเพื่อตั้งใจพัฒนาจริงๆ
ไม่ใช่มากอบโกยกำไร เห็นทีมบอลเป็นของเล่นเศรษฐี ส่วนใหญ่ที่ทำคือการเข้าไปพูดคุยกับแแฟนบอลว่าต้องการ ขาดเหลืออะไรที่สามารถเติมเต็มได้บ้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับแฟนบอลก็จะเกิดขึ้นแล้วครับ :)
ขอบคุณที่ติดตามครับ :)
#ใครไม่หลีกพรีเมียร์ลีก!
โฆษณา