Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนเล่าประวัติศาสตร์ (komkid)
•
ติดตาม
12 ก.พ. 2020 เวลา 02:42 • ประวัติศาสตร์
การค้าช้าง เพื่อทำสงคราม
อยุธยามีการค้าช้างมายาวนานตั้งแต่ช่วงราชวงศ์อู่ทอง โดยมีการค้าทั้งช้างเป็นๆและงาช้าง เนื่องด้วยพื้นที่ของอาณาจักรในยุคนั้น เป็นแหล่งอาศัยของช้างป่าจำนวนมาก นับแสนตัว แต่การค้าช้างเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูที่สุด ในรัชกาล พระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ โดยลูกค้ารายใหญ่คือ จักรวรรดิโมกุลซึ่งปกครองดินแดนเอเชียใต้ ซึ่งมีบันทึกว่า อยุธยาส่งช้างเป็นๆ ไปขายจักรวรรดิโมกุลปีละไม่น้อยกว่า 500 เชือก
ทว่าช้างที่ส่งไป มักตายระหว่างการเดินทางราวหนึ่งในสาม เนื่องจากต้องล่องเรือไปนานนับเดือน ซึ่งท่าเรือส่งออกช้างจะอยู่ที่เมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าของมณฑลตะนาวศรี ของอยุธยา (ปัจจุบันเป็นของพม่า) ช้างเหล่านี้หากไปถึงอินเดียจะทำกำไรได้มากกว่า 10 เท่า เนื่องด้วยช้างจากสยามนั้น มีกำลังมาก สูงใหญ่และฝึกง่าย จึงเป็นที่ต้องการมาก
เวลานั้น จักรวรรดิโมกุลซึ่งอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าออรังเซปกำลังขยายอำนาจลงใต้ จึงต้องการช้างจำนวนมากไปทำสงคราม(ซึ่งแน่นอนว่า ตายกันเพียบ ทำให้ต้องซื้อใหม่ทุกปี เรียกว่า มีอุปสงค์มิได้ขาด) ทว่าช้างที่อยุธยาส่งไปขายโมกุล จะต้องเลือกเฉพาะช้างป่าที่จับมาจากภูเก็ตและดินแดนริมฝั่งทะเลอันดามัน เนื่องจากช้างป่าแถบนั้นชินกับเสียงคลื่นที่ดังมาก ทำให้ไม่ตกใจเวลาได้ยินเสียงปืนใหญ่ในสนามรบ จึงเหมาะมากสำหรับใช้ทำสงคราม จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระเพทราชา จักรวรรดิโมกุลได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดแล้ว จึงทำให้ยอดสั่งซื้อช้างศึกลดลง เหลือเพียงปีละไม่เกิน 100 เชือก(บุญของช้าง)
1
ช้างศึกสวมเกราะของจักรวรรดิโมกุล
ภาพวาดการใช้ช้างทำสงคราม
3 บันทึก
13
4
3
3
13
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย