13 ก.พ. 2020 เวลา 11:45 • ไลฟ์สไตล์
ชุมชนฮักน้ำจาง เกษตรอินทรีย์ลำปาง กลุ่มนี้มีสมาชิกอยู่ 80 คน สามารถเก็บผักส่งให้ได้ 40 คน ใน40 คน นี้จะส่งผักมารวมกันทุกวันที่ศาลาหน้าโรงเรียน ทำให้กลุ่มมีผักอินทรีย์ส่งไปขายในเมืองทุกวันได้
ชุมชนฮักน้ำจาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
กลุ่มนี้มีชื่อเสียงด้านการขายผัก อินทรีย์ ให้กับคนลำปางเราจะพบเจอกันได้ในหลายๆจุด เห็นหน้า ธกส. ห้างสรรพสินค้าเสรี ที่โรงพยาบาลศูนย์จังหวัดลำปาง หลายครั้งที่เราได้ยินชื่อเสียงของกลุ่มฮักน้ำจางจาก หน่วยงานราชการกลุ่มฮักน้ำจางก็จะได้ การสนับสนุนจากหน่วยงานรับราชการ เรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ หรือแม้กระทั่งเป็นกลุ่มที่ลงหนังสือพิมพ์ ออกทีวีอยู่บ่อยครั้ง
วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปพบกับกลุ่มนี้ ผมมีข้อสงสัยต่างๆนานาเรื่องเกี่ยวกับการทำมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นเรื่องที่เราเคยทำกับกลุ่ม We Market Lampang
พอเริ่มการอบรมแทนที่จะเริ่มเข้าเนื้อหาผมแอบเปิด wiki เรื่องของอำเภอแม่ทะ พบเรื่องที่น่าสนใจหนึ่งเรื่องที่จะเปิดประเด็นทั่วไปเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน คือเรื่องเล่าต่างๆที่ถูกเล่าผ่านกาลเวลาสืบต่อกันมา....เรื่องมีอยู่ว่า
ในสมัยปู่ย่าตายายมีชาวบ้านดื่มน้ำจากโพรงไม้
ที่นกเก็บเมล็ดพันธ์ต่างๆ มารวมกันไว้ ซึ่งมีน้ำขังอยู่ เกิดการหมักตัวกลายเป็นน้ำเมาเมื่อนำมาดื่มจึงมีอาการเมาเหมือนสุรา
รู้สึกสนุกสนานจึงจับกันโจ้ขึ้น (โจ้เป็นภาษาเหนือหมายถึง โยน จึงเป็นที่มาของชื่อ "น้ำโจ้")
บางท่านก็เล่าว่าน้ำที่ตักมาดื่มมีกลิ่นเหมือนน้ำโจ่เดิมเรียกกันว่าน้ำโจ่ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "บ้านน้ำโจ้"
(น้ำโจ้เป็นผลผลิตขั้นตอนหนึ่งของการทำสุราพื้นบ้านทางภาคเหนือ)
และโพรงไม้ที่กล่าวถึงคือ ต้นโพธิ์สามต้นที่ยังมีให้เห็นได้ในปัจจุบันอยู่ที่บ้าน น้ำโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
และมีแม่น้าโจไหลผ่านเสมอเป็นเหตุเหมาะในการปลูกพืชผัก...ขณะที่เล่าเรื่องนี้ให้ชาวบ้านฟัง บ้างก็บอกไม่เคยได้ยินกระบวนการแลกเปลี่ยนในวงก็้ริ่มขึ้น
คุยกันได้สักพักเนื้อหาที่ต้องการก็เริ่มขึ้น จากคำถามที่แอบท้าทาย...
กลุ่มฮักน้ำจางมีอะไรดีเหรอใครๆก็บอกแบบนี้ ?
-มีความหลากหลาย พืชผักหลายชนิด
-มีความเข้มแข็ง
-มีความยั่งยืน
(อะไรนะที่ทำให้ชาวบ้านคิดแบบนี้ ?)
...ไหนลองเล่าให้ฟังอย่างเป็นรูปธรรม
ชาวบ้านก็เงียบ นิ่งไป....
ถามใหม่ครับ....กลุ่มเราที่ว่าเข้มแข็งและยั่งยืนเรามีวิธีกาาเก็บผักขายอย่างไร
ทุกคนเริ่มช่วยกันตอบ....
ผักจะถูกเริ่มเก็บตั้งแต่ตี4-5 ทะยอยเอามาส่งที่กลุ่ม ก่อน 8.00 น.ในวัน จ-ศ ส่วน ส-ท ต้องมาส่งเช้ากว่าเดิม 6-7 โมงเช้า พอมาถึงผักจะถูกมัดไว้หลักเลย ราคา 10 บาท ต้นหอมผักชี 5 บาท ถ้ามีอย่างอื่นที่แพงกว่านั้นต้องติดราคามาเองเช่นกล้วยหวีละ 20 บาท ฟักทอง 25 บาทเป็นต้น
แต่ละคนจะต้องซื่อสัจ เอาผักใส่ตระกร้าที่เตรียมไว้ให้เอง แยกตามประเภทผักต่างๆและลงบัญชีที่เขียนขึ้นมาง่ายๆบนสมุดประจำตัวว่าเอาผักอะไรมาส่งบ้าง ผักทุกมัดจะมีสัญลักษณ์พิเศษเป็นของตนเองเพื่อให้รู้ว่าถ้าเหลือกลับมาเป็นของใคร ผักบางมัดห่อด้วยใบตอง บางมัดห่อด้วยใบไม้ บางมัดใช้ตอกมัด
จากนั้นจะมีสมาชิกกลุ่มนำไปขายจุดต่างๆในเมือง
วันจันทร วันศุกร์ ขายที่ศาลากลางจังหวัด ยอดขายประมาณ 5000 บาทต่อวัน
ที่ Big-C ขายทุกวัน 1000-2000 บาท ต่อวัน
วันอังคารกับวันพุธ ขายที่หน้าห้างสรรพสินค้าเสรี ยอดขายประมาณ 5000 บาท ต่อวัน
วันจันทร์ วันศุกร์ ขายที่ธนาคารเพื่อกาาเกษตร ประมาณ 5000 บาท ต่อวัน
ที่อื่นๆอีกไม่ประจำเช่น โรงพยาบาลแม่ทะ 1500-2000 บาท ต่อวัน อีกที่หนึ่งสั่งประจำคือ Top superMarket ยอดขายหลักหมื่นและจะมีวิํธีจัดการอีกแบบ เสียดายคนที่เล่าเรื่องนี้ได้ไม่ได้มาในวันนี้...ถ้าการไปขายแล้วขายไม่หมดทำอย่างไร ? ผมเริ่มถามต่อ ผักทุกอย่างที่เหลือจะถูกย้ายไปที่จุดขายของ ที่ Big-C เพราะที่นี่จะต้องอยู่ถึงห้างปิด การย้ายมาที่นี่ อาจจะทำให้ขายหมดโดยไม่ต้องขนกลับเลยและเป็นจุดสุดท้ายที่รถรับส่งจะมารับ ที่มีระยะทางจากชุมชนฮักน้ำจาง 25-30 กิโลเมตร
เงินที่ได้จากการขาย 100% จะถูกหักออกเป็น20% ส่วนนี้จะถูกแบ่งเข้ากลุ่ม 5% หักค่ารถ 200 บาท ที่เหลือเป็นค่าแรงให้กับคนขาย
..ตอนนี้กลุ่มมีเงินกองกลางกว่า 1 แสนบาท ก็สามารถนำไปพัฒนากลุ่มหรือนำไปใช้พัฒนาชุมชนต่อได้เช่น สร้างบันไดวัด สนับสนุนโรงเรียน
เรามาลองดู ตัวเลขคร่าวๆนี่เป็นตัวเลขที่ก่อให้เกิด รายได้ของแต่ละครัวเรือนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อ 1 ครอบครัวต่อ 1 วัน ชุมชนนี้ดำเนินกิจกรรมแบบนี้มากกว่า 12 ปี มูลค่าที่เกิดจากทรัพยากร ทางการเกษตร ช่วยหล่อเลี้ยงชุมชนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
เราได้เห็นพัฒนาการของการบริหารจัดการร่วมกันในชุมชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กว่าจะมาถึงวันนี้อุปสรรคก็มีมากมาย กว่าจะจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง กลุ่มได้ผ่านการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆให้เข้ากับสถานการณ์กฏระเบียบที่เกิดขึ้น ถูกตั้งขึ้น และ ยกเลิกไปพร้อมๆกันเพื่อให้เกิดความสะดวกง่ายในการบริหารจัดการและเหมาะกับชุมชน วันนี้ ยังคงมีปัญหาตามมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดน้ำในการทำการเกษตร เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ แม้กระทั่งวันนี้ผมเองในฐานะของวิทยากรก็เห็นว่าชุมชนสามารถเพิ่มศักยภาพได้มากกว่านี้ ถ้า มีความรู้ในการปลูกพืชผักอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการอาจจะสามารถเพิ่มกำลังผลิตโดยใช้พื้นที่เท่าเดิมได้มากถึง 2-3 เท่าตัว
ชุมชนฮักน้ำจางเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็น พัฒนาการ ในการ ออกแบบการอยู่ร่วมกัน โดยอาศัยทรัพยากรของในชุมชนที่มี ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
อีกสิ่งหนึ่ง ที่ผมรู้สึก ในวันนี้ คือ "ความภูมิใจ" ของกลุ่ม ที่ถูกถ่ายทอดจากการเล่าความเป็นมา เป็นไป การเติบโตของกลุ่ม ไม่ได้ผ่านการเล่าแค่ปากผู้นำ อีกหลายคน ที่นั่งอยู่ตรงหน้าผมนี้ ก็สามารถเล่าได้อย่างออกรสเช่นกัน
>>มือใหม่หัดเขียนติชมได้เต็มที่เลยครับ
เล่าจากประสบกาณ์ล้วนๆ อยากให้ชุมชนเติบโตอย่างเข้มแข็ง
ใครอ่านแล้วอยากไปเที่ยวชุมชนนี้..ป่ะ
เราไปด้วยกัน แล้วจะพาไป ^___^
#เสน่ห์ลำปาง
โฆษณา