15 ก.พ. 2020 เวลา 07:50 • การศึกษา
#กว่าจะมาเป็นเภสัชกรตอน2 เป็นเภสัชทำงานอะไรได้บ้าง
หลังจากสอบติดคณะเภสัชศาสตร์แล้ว หลักสูตรที่เรียนเป็นหลักสูตร 6 ปี เดิมจะมีเภสัชกรที่เรียน 5 ปีด้วย แต่ตั้งแต่รุ่นเราเขาบังคับให้เป็นหลักสูตรให้เรียน 6 ปีทั่วประเทศ หลักสูตรเภสัชที่เราเรียนคือหลักสูตรที่เอามาจากอเมริกา ผู้ก่อตั้งคณะก็เป็นชาวต่างชาติด้วยนะ มหาวิทยาลัยที่เราเรียนเป็นคณะที่เปิดใหม่เราเรียนรุ่นที่ 10 เป็นหลักสูตร Doctor of Pharmacy หรือเรียกสั้นๆว่า PharmD คือเป็นหลักสูตรที่เรียกเต็มๆว่า "บริบาลเภสัชกรรม" คือจะเน้นการดูแลผู้ป่วยโดยตรง ส่วนใหญ่จะทำงานที่โรงพยาบาล หรือจะทำร้านยาก็ได้นะ รายละเอียดเดี๋ยวเล่าให้ฟังนะคะ หรือใครสงสัยอยากรู้เรื่องอะไรสามารถ comment ถามได้นะคะ
บางม.จะมีหลายหลักสูตรให้เลือก เช่น เภสัชสายโรงงานหรือสายผลิต คือ จะเน้นเกี่ยวกับการผลิตยา ทำงานในโรงงานยา การทดสอบยา ความคงตัวยา การตั้งตำรับยา เป็นต้น แต่เภสัชทุกคนก็ต้องเรียนเรื่องพวกนี้เหมือนกันนะ อาจจะเน้นมากน้อยต่างกันแล้วแต่สายที่เลือก นอกจากนี้ก็มีเภสัชภรสายสสจ.หรือสาธารณสุขจังหวัด ที่จะทำงานในสสจ.หรืออย. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานตรวจร้านยา คุ้มครองผู้บริโภค ขึ้นทะเบียนยา ตรวจสอบโรงงานต่างๆในเขตที่รับผิดชอบ และก็มีสายที่สามารถไปทำเกี่ยวกับผู้แทนยาในบริษัทยาต่างๆ
วิชาชีพเภสัชกรเป็นวิชาชีพหนึ่งที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ถือว่ามีตัวเลือกที่เราจะเลือกทำได้เยอะเหมือนกัน เช่น โรงพยาบาลก็มีให้เลือกทั้งรพ.รัฐบาล ใครที่อยากรับราชการเป็นข้าราชการ ข้อดีก็คือมีสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเบิกตรงใช้สิทย์ข้าราชการ สามารถครอบคลุมค่ายา ค่าการรักษาต่างๆดีมาก ยาที่ได้จะเป็นยาที่ดี ยา original ยานอกบัญชี ค่าหัตถการต่างๆครอบคลุมเยอะ และที่ดีไปกว่านั้นคือสิทธิ์การรักษาพยาบาลนั้นครอบคลุมไปถึง พ่อแม่ คู่สมรสสามี-ภรรยา และลูกจนถึงอายุ 18 ปีด้วย ส่วนงานความหนักความเหนื่อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของรพ. จำนวนเตียง จำนวนคนไข้นอกและคนไข้ในที่มาใช้บริการ
หรืออาจจะเลือกทำรพ.เอกชน ซึ่งมีผลตอบแทนที่สูง รพ.เอกชนก็มีหลายแบบ เช่น บางรพ.รับคนไข้ UC หรือบัตรทอง รับคนไข้ประกันสังคม รับคนไข้ที่ใช้ประกันชีวิต หรือรับเฉพาะเงินสด สิทธิ์การรักษาพยาบาลที่เภสัชกรที่ทำงานในรพ.เอกชนที่ได้ก็สิทธิ์ประกันสังคมและสิทธิ์สวัสดิการที่รพ.ที่เราทำงานอยู่จะมีวงเงินต่อปีให้ว่าได้ปีละเท่าไหร่ แบ่งเป็น OPD หรือคนไข้นอก และ IPD หรือคนไข้ใน
นอกจากนี้ใครที่ชอบแนวร้านยาก็เป็นเภสัชกรประจำร้านยาได้นะ ร้านยาก็มีทั้ง Full-time คืออยู่ประจำร้านยาตลอดเวลาทำงาน หรือเภสัชกร part-time ที่อาจจะมาทำบางวัน บางเวลาที่สะดวก หรืออยากจะทำ ร้านยาก็ทีทั้งอยากจะเปิดร้านยาเองเป็นเจ้าของกิจการเอง บริหารเองก็ได้ หรือจะเป็นเภสัชกรประจำร้านยาคนอื่น เช่น ร้านยา chain ต่างๆที่เราเห็นตามห้าง หรือตามเมืองใหญ่ๆ หรือบางคนก็เปิดร้านยาหลายสาขา โดยจ้างเภสัชกรมาอยู่ประจำร้านยา full-time ก็ได้
นอกจากนี้เภสัชกรทำอะไรได้อีกบ้างก็ที่เเล่าไปก่อนนี้ คืออาจจะเป็นผู้แทนยาหรือเรียกกันว่าดีเทลยา ส่วนตัวไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้เพราะไม่เคยทำมาก่อน ที่พอจะทราบก็คือ มีหน้าที่ในการนำเสนอขายยานำเข้ารพ. ร้านยา มีการจัดประชุมวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับยาของบริษัทนั้นๆ ที่จะนำเสนอยาเข้ารพ. หรือ ยาเข้ารพ.แล้วมีการนำเสนอข้อมูลยา ความรู้เรื่องยาเพิ่มเติมก็มี
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา