Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Payapmork Investor
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2020 เวลา 07:29 • ธุรกิจ
การขาดดุล งบประมาณ คืออะไร มีผลอย่างไรกับ เศรษฐกิจ จากประกาศล่าสุด คลัง กู้เงินสถาบันการเงินในประเทศ 20,000 ล้านบาท เพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ
เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า
กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 มาตรา 20 (1) และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ประจำปี งบประมาณ 2562 ที่มีการขยายระยะเวลาเงินกู้ออกไปภายหลังจากวันสิ้นปีงบประมาณสำหรับ การเบิกจ่ายกันเหลื่อมปี โดยการทำสัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan ) จากธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงินกู้รวม 20,000 ล้านบาท (สองหมื่นล้านบาทถ้วน)
2. อายุเงินกู้ 1 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 ครบกำหนดชำระ ต้นเงินกู้ทั้งจำนวนในวันที่ 24 มิถุนายน 2564
3. อัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR ) ระยะ 6 (หก) เดือน ที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นฐานในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลบด้วยส่วนต่าง (Spread ) เฉลี่ยร้อยละ 0.15019 (ศูนย์จุดหนึ่งห้าศูนย์หนึ่งเก้า) ต่อปี
4. การเบิกเงินกู้ กระทรวงการคลังจะทยอยเบิกเงินกู้ นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยจะแจ้งผู้ให้กู้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเบิกเงินกู้เป็นงวดเรียงลำดับจากวงเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดก่อน และเมื่อเบิก เงินกู้ครบจำนวนของวงเงินดังกล่าวแล้วจึงจะเริ่มเบิกรับเงินกู้ในวงเงินกู้ลำดับถัดไป
5. การชำระดอกเบี้ย ตลอดเวลาที่สัญญายังมีอายุอยู่ให้แบ่งชำระดอกเบี้ยปีละสองงวด คือ วันที่ 24 มิถุนายน และ 24 ธันวาคม ของทุกปี โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรก ในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 และชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 พร้อมต้นเงินกู้ ณ วันสิ้นสุดตามสัญญากู้ยืมเงิน หากวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดตามประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทย ให้เลื่อนไปชำระในวันทำการถัดไป โดยไม่นับวันหยุดตามประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยดังกล่าว เข้ารวมเพื่อคำนวณดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระ ยกเว้นการชำระหนี้งวดสุดท้าย ให้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันก่อนวันชำระหนี้ ทั้งนี้ ในการคำนวณดอกเบี้ย ให้ถือว่าหนึ่งปีมี 365 (สามร้อยหกสิบห้า) วัน นับตามจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง เศษของหนึ่งสตางค์ให้ปัดทิ้ง
6. การชำระต้นเงินกู้ กระทรวงการคลังสามารถชำระหนี้ต้นเงินกู้ก่อนครบกำหนด ได้ทั้งจำนวนหรือบางส่วน โดยจะทยอยคืนต้นเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จะแจ้งให้สถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้) ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ โดยกระทรวงการคลัง จะชำระดอกเบี้ยคงค้างของต้นเงินกู้ที่ค้างชำระ พร้อมกับการชำระต้นเงินกู้ก่อนกำหนดนั้น ทั้งนี้ ดอกเบี้ยคงค้างให้คำนวณนับตั้งแต่วันที่กระทรวงการคลังชำระคืนดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจนถึงวันก่อนวันที่ กระทรวงการคลังชำระคืนต้นเงินกู้ก่อนกำหนด หากวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงินกู้คราวใดตรงกับ วันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้เลื่อนไปชำระคืนในวันทำการถัดไป
7. ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ
ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562
โดยทั่วไป รัฐบาลจะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือสำคัญของนโยบายการคลัง งบประมาณแผ่นดินเป็นแผนการเงินของรัฐบาล ประกอบด้วยประมาณการรายได้และรายจ่าย รวมทั้งการจัดหาเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามประมาณการรายจ่ายในช่วงระยะเวลา 1 ปี การจัดทำงบประมาณแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. งบประมาณสมดุล คือ งบประมาณที่รายรับและรายจ่ายเท่ากัน ใช้เพื่อการจัดสรรทรัพยากรและเพื่อการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
2. งบประมาณเกินดุล คือ งบประมาณที่รายได้มากกว่ารายจ่าย ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง รัฐบาลจะลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลลง และเพิ่มภาษี เพื่อช่วยดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ
3. งบประมาณขาดดุล คือ งบประมาณที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลลง และลดภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย
1
ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้
การบริโภคของประชาชน (C) และการลงทุนของภาคเอกชน (I) น้อย รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ (NX) ก็น้อย ทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา GDP ต่ำ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล (G) ที่มีศักยภาพอยู่ตัวเดียวในสมการต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายขาดดุลงบประมาณเพื่อระดมทุนมาเพิ่มผลผลิต เพิ่มการลงทุน และการจ้างงาน ให้ C, I และ NX กลับมามีศักยภาพครับ
1
เมื่อภาคการลงทุนของเอกชนชะลอตัวหรือหยุดการลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอก => การลงทุนของภาคเอกชน (I) น้อย
พอภาคเอกชนไม่ลงทุนเพิ่ม การจ้างงานก็น้อยลง บางรายอาจเลิกจ้างหรือล้มละลาย เพราะขาดสภาพคล่อง ทำให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายน้อยลง คนที่มีเงินก็ชะลอการใช้ => การบริโภคของประชาชน (C) น้อย
พอภาคเอกชนไม่ลงทุนเพิ่ม กำลังการผลิตใหม่ๆ ก็ไม่เพิ่ม => การส่งออก (NX) น้อย
ดังนั้น "รัฐบาล" เป็นเพียงผู้เดียวที่มีศักยภาพในการใช้เงิน ผ่านโครงการต่างๆ
ทำถนน หนทาง ทำรถไฟ ทำท่าเรือ ทำนิคมอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
ในโครงการดังกล่าวจะไปกระตุ้น
1. การซื้อขายที่ดิน
2. การซื้อขายอสังหา
3. สินค้าในวงจรงานก่อสร้าง
4. ดึงนักลงทุน เกิดการจ้างงาน
พอมีการซื้อขายที่ดิน มีการจ้างงาน มีการซื้อขายบ้าน ก็จะมีเงินหมุนเวียนกลับมาในระบบเศรษฐกิจ
พอคนมีงานมีเงินใช้ เกิดความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น มีตลาด มีแม่ค้า มีการซื้อขาย สุดท้ายก็มีภาษีไหลกลับเข้ามาหารัฐบาลเป็นวงจร ในทางทฤษฎีเขาว่ากันแบบนี้ นะครับท่านผู้ชม
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย