26 ก.พ. 2020 เวลา 04:30 • ถ่ายภาพ
White Balance คืออะไร ? แต่ละแบบใช้ยังไง ? พื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้
1
White balance คือการปรับสมดุลของสีในภาพให้มีสีที่เป็นกลาง ซึ่งเจ้า White balance นี้ในกล้องถ่ายภาพทุกกล้องต้องมี เพราะ เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมเรื่องของสีในภาพ
White Balance คืออะไร ? แต่ละแบบใช้ยังไง ? พื้นฐานที่มือใหม่ต้องรู้
โดยสิ่งที่มือใหม่ทุกคนต้องรู้ก่อนเลย คือ เรื่องของอุณหภมิสี (Color Temperature) ซึ่งเป็นหลักการทำงานพื้นฐานของ White balance ในกล้องถ่ายภาพทุกแบบนั่นเอง
เจ้า อุณหภมิสี (Color Temperature) มันเป็นยังไง ?
1
หน้าตามันจะเป็นเหมือนในภาพนี้เลยครับ จะเป็นการบอกถึงอุณหภูมิสีโทนร้อนจนไปถึงโทนเย็น โดยใช้หน่วยวัดคือ เคลวิน (Kelvin)
อุณหภูมิของสีแต่ละแบบก็จะได้มาจากแหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ก็จะมาจากแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ และ ได้มาจากแหล่งกำเนิดแสงสังเคราะห์ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟตามบ้าน ไฟสตูดิโอ ไฟแฟลช ไฟ LED
แสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่ต่างกัน ส่งให้เกิดสีในภาพตามอุณหภูมิสีที่ต่างกัน
ถ้าเป็นพวกหลอดไฟกลม ไฟตะเกียบ ก็จะมีสี warm light ซึ่งจะทำให้ภาพเราติดโทนสีเหลือง ๆ หรือ Cool light ก็จะทำให้ภาพเราติดสีฟ้า ๆ
ถ้าเป็นแสงพระอาทิตย์ ก็มีให้สีในภาพเป็นโทนเหลือง ๆ ในช่วงเช้า และ ก็จะเริ่มเป็นโทนสีฟ้า ๆ ในช่วงเย็น แต่จริง ๆ แล้วแสงพระอาทิตย์ให้สีเยอะกว่านั้นตามการสะท้อน และ การหักเหของแสง
สำหรับมือใหม่ที่พึ่งเรียนรู้เรื่อง White balance ก็ยึดหลักการของ Color temperature เพื่อแก้สีเหลือง กับ สีฟ้า ในภาพก่อน
โดยในกล้องถ่ายภาพจะมีค่า Preset White balance อยู่ทั้งหมด 6-7 ตัว ขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่น แต่ละค่าย ซึ่งเจ้า preset WB นี้มันจะทำหน้าที่แก้สีฟ้า และ สีเหลืองในภาพเป็นหลัก
แล้วแต่ตัวใช้งานอย่างไรและใช้เมื่อไหร่ ? ผมจะอธิบายทีละตัวแบบง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อให้มือใหม่ทุกคนจำแล้วนำไปใช้ได้ทันทีนะครับ
1. Auto white balance
ใช้งานเมื่อเราเจอสภาพแสงที่ซับซ้อน มีแหล่งกำเนิดแสงหลายที่ เช่น เวลาเราถ่ายภาพในอาคารและมีหน้าต่างแสงผ่านเข้ามา แล้วยังมีหลอดไฟในห้องอีก อันนี้แนะนำให้ใช้ Auto white balance จะช่วยให้เราได้สีที่ค่อนข้างตรงเลยทีเดียว
หรือในอีกกรณีหนึ่งก็คือเวลาเราย้ายสถานที่ถ่ายภาพบ่อย ๆ ก็ช่วยให้เราถ่ายภาพได้สะดวกมากขึ้น
2. Tungsten
ทังสเตน คือชื่อประเภทของหลอดไฟ ที่ภาษาชาวบ้านก็คือ หลอดไฟเหลือง ๆ ที่อยู่ตามบ้านเรือน ตามอาคารต่าง ๆ นี่แหละครับ คือ ถ้าเราเข้าไปในบริเวณที่เราจะถ่าย แล้ว มีไฟเหลือง ๆ เยอะ เช่น พวกร้านอาหารจะชอบใช้มาก เพราะ ทำให้อาหารดูดีขึ้น และ สบายตา
เราก็ตั้ง WB แบบ tungsten เลยครับ แต่ก็จะมีนิดนึงถ้า final image ในหัวเราอยากได้สีเหลืองมาก ๆ แต่ดูสมจริง ไม่ต้องแก้วรมากเกินไป ก็ไปใช้ Auto WB ทดแทนได้เช่นกัน
3. Fluorescent
เข่นเดียวกันกับ WB แบบทังสเตน เพราะ มันคือขื่อประเภทหลอดไฟเช่นกัน ใช้กับบริเวณที่เราไปถ่ายมีหลอดไฟประเภทนี้เยอะ ๆ เช่นในสำนักงานต่าง ๆ เป็นต้น
4. Daylight
ใช้สำหรับการถ่ายภาพเวลาช่วงเช้า จนถึงก่อนกลางวัน ใช้กลางแจ้ง หรือ ในร่มที่แสงเพียงพอก็ได้ จะดีที่สุด ในช่วงเช้ายังมีแสงสีฟ้าอ่อน ๆ อยู่เราจึงควรใช้ตัวนี้ เพราะ เป็นการเติมสีโทนอุ่นเข้าไปแบบเบา ๆ ไม่แรงจนเกินไป จะทำให้ภาพดูมีสีสันที่ดี
5. Flash
WB แบบแฟลช ก็ต้องใช้เมื่อเราใช้แฟลชถ่ายภาพ เพราะ ตัวกล้องมีการเซ็ตค่าแก้สีที่ได้จากยิงแฟลชโดยเฉพาะ แต่ก็ใช้ WB แบบอื่นได้ ซึ่ง WB ตัวนี้ค่อนข้างมีอุณหภูมิสีที่ค่อนข้างเป็นกลางที่สุด ถ้าเราไม่ใช้แฟลช โดยทั่วไปก็จะไม่ค่อยได้ใช้ซักเท่าไหร่
1
6. Cloudy
ใช้เมื่อตอนที่บริเวณที่เราไปถ่ายมีเมฆมาก ๆ พอมีเมฆมาก โทนภาพที่เราเห็นหลังจอจะออกสีฟ้า ๆ ซึ่งเจ้า Cloudy นี้จะมีค่าเคลวินอยู่ประมาณ 6000 จะออกไปในทางโทนอุ่น ถ้าเราเห็นแล้วช่วงเช้า ๆ ที่เราไปถ่ายฟ้าไม่เปิดมาก ก็ใช้ตัวนี้ได้
7.Shade
เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสีฟ้ามาก ๆ หรือ ถ่ายช่วงเวลาตั้งแต่ บ่าย 4โมงเป็นต้นไป แดดร่มลมตกไรงี้ ค่าเคลวินจะอยู่ที่ 7000 ซึ่งเป็นการแก้ WB โดยเอาโทนอุ่นเข้าแก้
8. Color temperature (Kelvin)
ตัวสุดท้ายเป็นตัวที่ไว้ปรับตั้งค่า WB แบบอิสระ เหมือนในโปรแกรมแต่งภาพเลย แต่อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์ และ การชำนาญ ในการมองบริเวณที่จะถ่ายหน่อยว่า พื้นที่นั้นแสงออกไปในทางสีฟ้า หรือ สีเหลือง และ เราควรต้องใช้ เคลวินเท่าไหร่ มาแก้ให้ได้สีที่พอดี และ กลับมาเป็นกลาง
1
แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเคลวินประมาณเท่าไหร่ คือ อุณหภูมิสีตรงกลาง ? ไม่ต้องมาปรับแก้เยอะ
ภาพทั่วไปอุณหภูมิสีที่พอดี ภาพไม่ถูกย้อมเป็นสีฟ้า หรือ สีเหลือง ก็จะอยู่ประมาณ 5400-5700 เคลวิน ถ้าเวลาเราถ่าย ลองตั้งค่าตามที่ผมบอกไปแล้ว พอถ่ายออกมา ภาพยังติดโทนฟ้า โทนส้มอยู่ แสดงว่า เราใช้ค่าเคลวินไม่เพียงพอ ก็ปรับลดเพิ่มอีกนิดหน่อย ก็ช่วยลดเวลาในการปรับตั้งค่าไปได้เยอะเลย
1
สรุปทั้งหมดที่ผมกล่าวมาในบทความของ White balance นี้ หากเพือน ๆ เข้าใจพื้นฐานเรื่อง Color balance ก็เอามาต่อยอดในเรื่องนี้ได้ในส่วนของ WB นี้ โดยพื้นฐานจะเป็นการสีโทนฟ้า โทนเหลืองในภาพ เท่านั้น
White balance shift
ซึ่งกล้องในปัจจุบันก็มีการต่อยอด พัฒนาให้สามารถแก้สีได้ครบ RGB แล้ว แต่อาจจะยุ่งยากกับมือใหม่ซะหน่อย เราเรียกมันว่า " White balance shift " ซึ่งเด่วผมจะมาอธิบายเพิ่มในบทความถัด ๆ ไปนะครับ
หากเพื่อน ๆ มีคำถามสงสัยตรงไหนทิ้งคอมเมนต์ถามกันเข้ามาได้เลยนะครับ ผมจะเข้ามาตอบให้แน่นอนครับ
ถ้าหากบทความนี้พอจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ฝากกดแชร์และติดตามเป็นกำลังให้พวกเราด้วยนะครับ
แล้วเรื่องกล้องและการถ่ายภาพจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป " Camera So Easy เรื่องกล้องเรื่องง่าย "
โฆษณา