20 ก.พ. 2020 เวลา 05:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ROYAL THAI AIRFORCE : WHITE PAPER 2020
ARTICLE : SPACE DOMAIN ความทรงพลังเหนือขอบฟ้า
การพัฒนากิจการอวกาศนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศ การเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ห้วงอวกาศนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และหน้าที่ในการดูแลและเฝ้าระวังความมั่นคงด้านอวกาศของประเทศไทยจึงเป็นหน้าที่ของ "กองทัพอากาศ" ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและรักษาความมั่นคงในมิติของห้วงอากาศและอวกาศทั้งหมดของประเทศไทย
ในตลอดระยะช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีการเข้าร่วมโครงการอวกาศครั้งแรกในช่วงต้นปี 2514 ในโครงการดาวเทียมสำรวจทรัพยากร "ERTS-1" ของ NASA ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาโครงการด้านอวกาศรวมไปถึงองค์ความรู้ด้านอวกาศและการใช้งานข้อมูลจากอวกาศ
ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็น 1 ประเทศที่มีขีดความสามารถทางด้านอวกาศขั้นสูงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามนั้น ด้านความมั่นคงทางอวกาศเมื่อก่อนเรายังคงต้องพึ่งพาข้อมูลจาก GISTDA (Geo-Informatics and Space Technology Development Agency : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) ซึ่งจะได้ภาพถ่่ายดาวเทียมในการสำรวจทรัพยากรมาใช้งานด้านความมั่นคง และด้านบรรเทาสาธารณะภัย
แต่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศที่ต้องการจะเป็น "One of the best Airforce in ASEAN" กองทัพอากาศจึงได้ร่างแผนเพื่อการพัฒนา SPACE Domain หรือ มิติด้านอวกาศของกองทัพอากาศขึ้น เพื่อให้ประเทศนั้นมีขีดคามสามารถในการดูแลความมั่นคงด้านอวกาศของตนเองได้ต่อไปในอนาคต
โดยใน WHITE PAPER ของกองทัพอากาศฉบับนี้นั้นมีแผนงานและโครงการด้าน SPACE Domain ดังนี้
**หมายเหตุ** (เพื่อป้องกันการผิดพลาดของข้อมูลจึงขอนำข้อมูลจาก WHITE PAPER ของกองทัพอากาศมาใส่โดยตรง)
4/64-S โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 1)
7/65-S โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 2)
6/67-S โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 3)
4/70-S โครงการพัฒนาการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ (ระยะที่ 4)
1. เหตุผลและความจำเป็น
ความสำคัญของการพัฒนากิจการด้านอวกาศ และความมั่นคงทางอวกาศเพื่อสนับสนุน
การปฏิบัติการในมิติอื่น ๆ ของกองทัพอากาศ ได้แก่ มิติอากาศ และมิติทางไซเบอร์
2. วัตถุประสงค์
พัฒนาขีดความสามารถด้านการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ ด้านการสังเกตการณ์ห้วงอวกาศ
การตรวจการณ์จากอวกาศ และการสื่อสารและโทรคมนาคมด้วยระบบดาวเทียม
3. ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะที่ 1 ผูกพันงบประมาณ 3 ปี ปีงบประมาณ 2564 - 2566
ระยะที่ 2 ผูกพันงบประมาณ 3 ปี ปีงบประมาณ 2565 - 2567
ระยะที่ 3 ผูกพันงบประมาณ 3 ปี ปีงบประมาณ 2567 - 2569
ระยะที่ 4 ผูกพันงบประมาณ 3 ปี ปีงบประมาณ 2570 - 2572
4. ความต้องการหลัก
1) ระยะที่ 1 ดาวเทียม Micro Satellite จำนวน 2 ดวง พร้อมอุปกรณ์ Software
และสถานีภาคพื้นรับสัญญาณ โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนารวมทั้งการใช้งานที่เหมาะสม
ให้แก่ประเทศไทย
2) ระยะที่ 2 กล้องโทรทัศน์ 1 ระบบ พร้อมสถานีภาคพื้น รวมทั้งระบบการตรวจจับ
เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ
3) ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 Micro หรือ Mini Satellite สำหรับการตรวจการณ์ รวมทั้ง
การสื่อสารและโทรคมนาคมด้วยระบบดาวเทียม
5. งบประมาณ
ระยะที่ 1 จำนวน 1,470,000,000 บาท
ระยะที่ 2, 3, 4 วงเงินตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ
6. ผลลัพธ์ของโครงการ
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการในห้วงอวกาศ รองรับการใช้กำลังทางอากาศให้
สามารถปฏิบัติการโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์
**หมายเหตุ** (สิ้นสุดการใช้ข้อมูลโดยตรงจาก WHITE PAPER ของกองทัพอากาศ)
#สรุป
จากข้อมูลโครงการดังข้างต้น จะเห็นได้ว่าทางกองทัพอากาศนั้นได้มีการวางแผนการพัฒนา SPACE DOMAIN อย่างเป็นระบบ ซึ่งการวางแผนดังกล่าวนั้นย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต รวมไปถึงการต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมตลอด Supply Chain ของอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศไทยต่อไปอย่างแน่นอน
และรู้หรือไม่ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มี "ดาวเทียมสำหรับหน่วยงานทางทหารโดยเฉพาะ" ประเทศแรกในอาเซียน ด้วยการเตรียมปล่อยดาวเทียม Nano Satellite ขนาด 6U แบบ NAPA-1 และ NAPA-2 ในเร็วๆนี้
#DEFNET
#RTAFSymposium
20.02.2020
โฆษณา