20 ก.พ. 2020 เวลา 18:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทยาศาสตร์ทึ่ง❗ ซาลาแมนเดอร์ตัวนี้อยู่กับที่มากว่า 7 ปี (เฉื่อยกว่าสล็อต..ก็เจ้าตัวนี้แหล่ะ😝)
นักวิทยาศาสตร์พบซาลาแมนเดอร์พฤติกรรมประหลาด
ไม่ขยับเขยื้อนตัวจากตำแหน่งเดิมมากว่า 7 ปีแล้ว
แหล่งอาศัยบริเวณถ้ำ เขตทะเลลึกฝั่งตะวันออกของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Eastern Bosnia-Herzegovina)
ซาลาแมนเดอร์จอมขี้เกียจตัวนี้ อยู่ในสายพันธุ์ Proteus anguinus หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Olm (โอล์ม)
โอล์มมีรูปลักษณ์ที่น่าเอ็นดู ตัวใส ๆ สีโทนพาสเทล ตัวยาวเรียวคล้ายปลาไหลย่อส่วน มีระยางค์ 2 คู่ ที่ด้านบนและล่างของช่วงตัว ดูคล้ายแขนและขาขนาดจิ๋ว
เมื่อโตเต็มวัยจะยาว 1 ฟุต มีน้ำหนักอยู่ที่ 20 กรัม (หรือ 0.2 ขีด)
เนื่องจากโอล์มอาศัยอยู่ในถ้ำที่มืดเกือบตลอดเวลา
พัฒนาการดวงตาของมัน จึงรับรู้ได้เฉพาะความแตกต่างโทนแสง ที่สว่างมาก-น้อย
แต่ขณะเดียวกัน ก็กลับมีทักษะด้านอื่นทดแทน
คือ การรับรู้กลิ่นและคลื่นสะเทือนของน้ำที่อยู่รอบตัว ซึ่งเรียกว่า Rheotaxis
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ถึง 2018 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่ติดตามชีวิตของซาลาแมนเดอร์สายพันธุ์นี้ที่บริเวณดังกล่าวมาโดยตลอด
พบว่ามี โอล์ม 26 ตัวอาศัยอยู่บริเวณนั้นตลอด 8 ปี นับตั้งแต่ฟักตัวออกจากไข่
มีการเคลื่อนที่ไปมาในระยะสั้นมาก คือ รวมแล้วน้อยกว่า 10 เมตร หรือราว 33 ฟุต
ในบรรดาซาลาแมนเดอร์ (โอล์ม) ทั้งหมด 26 ตัว มีตัวหนึ่งที่ขี้เกียจที่สุด
มันมีอายุอย่างน้อย 2,569 วัน (เมื่อหาร 365 วัน/ปี ==> เท่ากับ 7 ปี) โดยนับอายุตั้งแต่พบมันเป็นครั้งแรก
โดยมันไม่ได้เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมที่พบเลย ตลอดเวลา 7 ปี!
อนึ่ง เคยมีการศึกษาพบว่าซาลาแมนเดอร์พันธุ์นี้ แม้ไม่กินอาหารเลย 4 ปี ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ (ปกติยังชีพด้วยการกินหอยทากและสัตว์ทะเลขนาดเล็ก)
แต่ว่านักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้ว่า เพราะเหตุใด เจ้าซาลาแมนเดอร์สุดขี้เกียจตัวนี้ จึงไม่ขยับตัวจากที่เลยตลอด 7 ปี แล้วยังมีชีวิตรอดอยู่ได้
จึงได้แต่ยกตำแหน่งซาลาแมนเดอร์ที่ “ขี้เกียจ” ที่สุดในโลกให้ไปครองอย่างงง ๆ 😄
🔰ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากไดโนสคูล
สิ่งมีชีวิตล้วนมีวิวัฒนาการ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้จากรุ่นสู่รุ่น
เช่น การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนรูปร่างของมนุษย์ยุคหินแต่ละช่วงสมัย มาถึงมนุษย์ยุคปัจจุบัน
สายพันธุ์ใดที่ปรับเปลี่ยนได้ช้า ไม่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ก็สูญพันธ์ไป ตามการคัดสรรโดยธรรมชาติ
เช่น ไดโนเสาร์ แมมมอธ กวางไอริช แทสมาเนียน ฯลฯ
สำหรับโอล์ม นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีความหลากหลายทางพันธุกรรม Genetic diversity ต่ำ ทำให้โอกาสที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตสูง
การใช้ชีวิตก็เช่นกัน หากเราไม่ปรับตัวให้ทันต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ก็อาจต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตรูปแบบต่าง ๆ
คงมีโอกาสน้อยเต็มที ที่อยู่เฉย ๆ ไม่ขยับไปไหน แล้วจะอยู่รอดได้ อย่างเจ้าซาลาแมนเดอร์จอมขี้เกียจตัวนี้ 😅
ถ้าจะหาทางออกใช้ชีวิตรอดได้ยาว ๆ แบบซาลาแมนเดอร์ที่ได้ “มงกุฏสุด Lazy”
ด้วยการ “กินน้อย ๆ หายใจเบา ๆ เผาผลาญต่ำ ๆ”
ก็เท่ากับการเสียโอกาสใช้ศักยภาพที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ไป
แล้วนั่น ชีวิตจะมีความหมาย เช่นไร❓
[เพราะ..อายุ ไม่จำกัดการเรียนรู้]
นก ไดโนสคูล🐦
โฆษณา