22 ก.พ. 2020 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
รู้จัก Xpeng Motors รถยนต์ไฟฟ้าจีน
แรงบันดาลใจจาก TESLA
เราเคยได้อ่านประวัติความเป็นมาของบริษัท Xiaomi (เสียวหมี่) ของ Lei Jun (เหลย จุน) ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศาสดาสตีฟ จ็อบส์ อย่างไร กันไปแล้ว...
4
มาในบทความนี้ แอดมินขอนำเสนอ บริษัทจีน อีกบริษัทหนึ่ง ที่มีความฝันที่ยิ่งใหญ่ ที่จะปฏิวัติวงการรถยนต์ไฟฟ้า ให้เหมือนอย่างที่ Tesla ทำได้
1
บริษัทนั้น มีชื่อหน้าว่า Xiao (เสี่ยว) เหมือน Xiaomi แต่ชื่อเต็มๆ คือ Xiaopeng (เสี่ยวเผิง) หรือ Xpeng Motors
ที่สำคัญ ผู้ก่อตั้ง เป็นเพื่อนซี้ของ เหลย จุน ซะด้วย
เราไปดูความเป็นมาเป็นของ Xpeng, สภาพการแข่งขันในจีน และโอกาสทางการตลาดในไทยกัน
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
5
1) He Xiaopeng (เหอ เสี่ยวเผิง) เกิดในมณฑลหูเป่ย (แหล่งกำเนิด Covid-19) โดยมีพ่อแม่เป็นช่างเทคนิคทั้งคู่
2
He Xiaopeng Cr.Business Insider
หลังจากจบการศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เข้าได้ทำงานด้านเทคโนโลยี ก่อนที่จะก่อตั้งเว็บบราวเซอร์ ที่ชื่อว่า UCWeb ในปี ค.ศ. 2004 และ ขายกิจการให้ Alibaba ไปในปี 2014 ด้วยมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
2
นับเป็นการซื้อขายกิจการเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์จีน ส่งผลให้ เหอเสี่ยวเผิง กลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้านเหรียญฯ
2
2) เหอเสี่ยวเผิง มีความฝัน ที่จะทำสิ่งที่ "ใช้นวัตกรรม ในการเปลี่ยนแปลงโลก" โดยไอเดียหนึ่งของเขาคือ การสร้างเมืองในมหาสมุทร (อารมณ์น้ำท่วมโลก) แต่เขาก็พบว่าปัญหาเรื่องการจัดการด้านพลังงานและขยะ เป็นเรื่องยาก
1
3) หลังจากขายกิจการ UCWeb ให้ Alibaba เหอเสี่ยงเผิง ก็เลยเอาเงินมาลงทุนในอีกไอเดียหนึ่ง ที่น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลง (ในทางบวก) ได้ นั่นก็คือ "รถยนต์พลังงานไฟฟ้า"
2
เหอเสี่ยวเผิง ตั้งชื่อบริษัท ตามชื่อของเขาเลย ก็คือ Xiaopeng หรือ Xpeng Motors
2
โดยมีวิสัยทัศน์ว่า อยากที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นจุดเริ่มต้นในการบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่กว่า คือ การเคลื่อนย้าย (ผู้คน) อัจฉริยะ
4) รถยนต์ที่ออกมาของเสี่ยวเผิง ทั้งรุ่น Xpeng G3 ที่เป็น SUV หน้าตาละม้ายคล้าย Tesla Model X และรุ่น P7 ที่ออกมาชนกับ Tesla Model 3
1
G3 Cr. Motortrivia
ภายในรถก็มีหน้าจอควบคุมตรงกลางใหญ่ยักษ์ เหมือนกันเด๊ะ แต่เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีน ก็ต้องเพิ่มคาราโอเกะ และกล้องที่หมุนได้ 360 องศา มาถ่าย Selfie ได้
แยกไม่ออก
5) เรื่องลอกรูปลักษณ์ภายนอกว่าหนักแล้ว ที่หนักกว่า คือ การซื้อตัววิศวกร และผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำทั้ง Qualcomm ผู้ผลิตชิพ, Tesla, Toyota, Apple เป็นต้น
โดยที่เป็นประเด็น ก็คือ ทั้ง Tesla และ Apple ฟ้องว่า พนักงานที่ลาออกจากทั้ง 2 บริษัท ไปทำงานที่ Xpeng ได้ละเมิด โดยนำข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา และความลับทางการค้า ไปใช้
3
6) ถึงจะมีภาพลักษณ์การโคลน หรือลอกเลียนแบบ Tesla แต่ เหอเสี่ยวเผิง ก็ยังได้รับความไว้วางใจจาก นักธุรกิจ/นักลงทุนชั้นนำ
1
ไม่ว่าจะเป็น แจ็คหม่า แห่ง Alibaba, Foxconn บริษัทที่รับจ้างผลิตสินค้า Apple, และที่พลาดไม่ได้คือ เหลย จุน แห่ง Xiaomi เพื่อนร่วมงาน ตอน UCWeb และปัจจุบันยังเป็น Mentor (พี่เลี้ยง) แนะนำการแก้ปัญหาธุรกิจ ให้ เหอเสี่ยวผิงอีกด้วย
1
โดยเงินลงทุนรวมทั้งหมดที่ใส่มาในบริษัทนี้ ประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรืเกิน 5 หมื่นล้านบาท และ มูลค่ากิจการอยู่ที่ราวๆ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
2
7) ด้วยเงินลงทุนขนาดนี้ แต่ยอดขายของน้องเสี่ยวเผิง ยังต้องพิสูจน์ตัวเอง หากดูยอดขายในจีน ย้อนหลัง
2
ปี 2018 ยอดขาย 371 คัน
ปี 2019 ยอดขาย 16,608 คัน
ปี 2020 เจอ ไวรัส Covid-19
ขายไป 1 เดือน...630 คัน
2
โดย ยอดขายเฉพาะรุ่น G3 ส่วนรุ่น P7 ราคาเริ่มต้น 1.2 ล้านบาท วิ่งได้ 650 กิโลเมตร น่าจะออกมากลางปี 2020 นี้ มียอดจองในงานเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่แล้วไป 15,000 คัน
2
Xiaopeng P7 Cr. Elektrec
8) สำหรับ GM ที่ขายโรงงานรถยนต์ในไทยไป ส่วนหนึ่งก็มาจากกลยุทธ์ ที่จะทุ่มการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า อย่างเต็มที่ ดังนั้น การขายโรงงานผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ให้บริษัทจีน ก็ถือเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล
9) การแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ที่ผ่านมาคึกคักมาก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากรัฐบาลสนับสนุนเยอะมากๆ บางทีให้ส่วนลดกว่า 300,000 บาท ต่อรถ 1 คัน
แต่ช่วงนี้พอมาเจอ Covid-19 ก็ต้องบอกว่ายอดขายลดลงอย่างมาก แต่ก็น่าจะแค่ชั่วคราว
โรงงานของ Tesla ในจีนก็เริ่มกลับมาทำการผลิตแล้ว ตลาดน่าจะแข่งขันกันสนุก โดยโรงงาน Tesla ในจีนรองรับการผลิตได้กว่า 5 แสนคัน และการใช้จีนเป็นฐานการผลิต ทำให้ Tesla ไม่ต้องจ่ายภาษีนำเข้าแพงๆ ทั้งยังทำตลาดใน ASEAN ได้ด้วย
อย่างไรก็ตามส่วนลดดังกล่าวจากรัฐบาล กำลังจะหมดไปในปี 2020 นี้ ทำให้การลงทุนชะงักไปเหมือนกัน (ดูทรงแล้วคงต่อมาตรการ)
1
10) สาเหตุที่จีน มีความได้เปรียบในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ก็เนื่องมาจาก จีนคือ แหล่งผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน รายใหญ่ที่สุดในโลก
5
โดย 2 ใน 3 ของการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้อยู่ที่จีน และแบตเตอรี่ชนิดนี้ เป็นที่นิยมใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า
11) ช่วงปี 2000 ยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในจีนเพียง 1 ล้านคัน ผ่านมากว่า 10 ปี ยอดทั้งปี 10 ล้านคัน และปีที่แล้ว เกิน 25 ล้านคัน (เทียบไทยประมาณ 1 ล้านคัน ที่เหลือส่งออก)
โดยยอดขาย รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ประมาณ 1 ล้านคัน หรือ 5% ซึ่งรัฐบาลจีนวางเป้าว่าในปี 2022 ผู้ผลิตรถยนต์ในจีน ต้องผลิตรถ EV อย่างน้อย 10% ของรถทั้งหมด ดังนั้นยังมีโอกาสทางการตลาดอีกมาก
1
12) ภาพลักษณ์ของรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนในปัจจุบัน ทั้งที่คนไทยพอคุ้นๆ อย่าง MG (ของเจ้าสัว CP) หรือ Great Wall Motors ที่พึ่งมาซื้อโรงงานต่อจาก GM ยังเป็นรถยนต์ราคาถูก ที่คุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่
4
แต่ก็อย่าลืมว่า 50 ปี ที่แล้วบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่ผลิตรถขนาดเล็กออกสู่ตลาด สร้างความสงสัยในตอนนั้นว่าจะขับได้จริงไหม
1
ปัจจุบันกลายเป็นยักษ์ใหญ่ทั้ง Toyota, Honda, Nissan
ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าบริษัทจีนเหล่านี้ รวมไปถึง 2 สตาร์ทอัพจีนอย่าง Xpeng Motors และ อีกเจ้าที่ไม่ได้เล่ารายละเอียดวันนี้ก็คือ NIO
1
อาจก้าวขึ้นมาแทนที่ญี่ปุ่น ก็เป็นได้
1
13) สำหรับไทยเอง ก็มีแบรนด์ไทยเหมือนกัน อย่างเช่น Mine Mobility ของ EA ที่ CEO อย่างคุณสมโภชน์ ก็ได้ฉายาว่าเป็นอีลอน มัสก์ เมืองไทยเหมือนกัน
Mine Cr. Blognone
หลัง Covid-19 คงกลับมาสู้กันสนุก
เราคงได้เห็นการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีน เข้ามาตีตลาดรถยนต์ไทยเพิ่มขึ้น
2
เพราะอย่าลืมว่า ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมาไทย เขาใช้ข้อตกลง FTA ภาษีนำเข้า มันคือ 0%
════════════════
ช่วย SMEs นำเข้า-ส่งออก
════════════════
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ กดติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
⚓เช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศ
👫 ร่วมกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
โฆษณา