23 ก.พ. 2020 เวลา 02:20
MovieTalk มูฟวี่ตะลอน on the Way:
กว่าจะถึง “เมืองมายา...หอภาพยนตร์” ภาคจบ
Photo by Movie
ใครที่เพิ่งมาอ่านโพสต์นี้ อาจจะไม่ต่อเนื่อง แนะนำให้ย้อนไปอ่านโพสต์
กว่าจะถึง “เมืองมายา...หอภาพยนตร์” ภาคต้นก่อนนะครับ
ตามลิงก์ด้านล่างเลยนะครับ
ที่นี้เรามาตะลอนเที่ยวกันต่อเลย
หลังจากที่น้องมัคคุเทศก์นำชมภายในพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทยกันจนครบทุกส่วนแล้ว
เราออกมาที่ด้านข้างของตัวอาคาร พอเดินมาทางด้านขวามือ เราจะพบกับ
โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
Photo by Movie
Photo by Movie
โรงหนังของหอภาพยนตร์ที่จัดฉายภาพยนตร์เรื่องยาว และกิจกรรมต่าง ๆ ของหอภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์ที่นำมาจัดฉายมีทั้งในระบบฟิล์ม โดยหอภาพยนตร์มีเครื่องฉายจำนวน 2 เครื่อง ไว้สลับม้วนฟิล์มหนัง และการฉายแบบโบลว์ฟิล์มมาเป็นไฟล์ดิจิตอลแล้ว
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
ภายในอาคารโถงด้านหน้าจะมีได้เห็นภาพถ่ายของนางเอกอมตะ เพชรา เชาวราษฎร์
สำหรับรอบที่จัดฉาย อังคาร - ศุกร์ มีรอบ 17.30 น. ส่วนวันเสาร์ - อาทิตย์ มีรอบ 13.00 และ 15.00 น. วันหยุดนักขัตฤกษ์ มีรอบ 13.00 น.
หนังจัดฉายในวันนี้คือ กลิ้งไว้ก่อน...พ่อสอนไว้ และ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว
กลับออกมาด้านหน้าของอาคารจะเป็นพื้นที่เรียกว่า
“ลานดารา”
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
ลานเกียรติยศสำหรับดาราภาพยนตร์ไทย ที่ได้ถูกเชิญให้มาประทับฝ่ามือลงบนแผ่นปูน
อยากรู้มีใครบ้างก็ต้องไปไล่ดูกันเอาเอง
ถ่ายมาให้ดูพอสังเขป และเป็นที่รู้จักในแต่ละเจน
เลยเข้าไปเป็นอาคารใหม่ของหอภาพยนตร์ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ แต่พื้นที่ด้านล่างเปิดให้บริการแล้ว
มายาพานิชย์
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
เป็นร้านค้าจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ซึ่งย้ายจากอาคารด้านหน้ามาอยู่ชั้นล่างของอาคารใหม่ ภายในมีสินค้าที่ระลึกหลากหลาย
Photo by Movie
Photo by Movie
ที่นี่คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ผมต้องมา เพื่อจะได้ซื้อ DVD หนังไทยอมตะกลับไปดูก่อนจะรีวิวในคอนเทนต์ ๑๐๐ ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรได้ดู
ได้มาทั้งหมด 5 เรื่องได้แก่ เงิน เงิน เงิน (2508), ชั่วฟ้าดินสลาย (2498), แพรดำ (2504) ,
เกาะสวาทหาดสวรรค์ (2512) และ
พระเจ้าช้างเผือก (2484) ซึ่งมีเรื่องที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ไทยด้วย
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
ใครไปเที่ยวที่นี่ แวะไปอุดหนุนสินค้าที่ระลึกกัน แต่ละชิ้นควรค่าแก่การเก็บเป็นที่ระลึกมาก ๆ ชำระด้วยเงินสด หรือ QR Code ได้ครับ
Photo by Movie
ด้านนอกของอาคารหลังนี้ มีประติมากรรม
เอ็ดวาร์ด เจมส์ ไมบริดจ์ ผู้ถ่ายภาพฝูงม้าวิ่ง และเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพถ่ายซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์สมัยใหม่ มองดูดี ๆ จะเหมือนฝูงม้ามันวิ่งอยู่เลย
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
เดินกลับออกมาเลี้ยวไปทางด้านซ้าย จะได้พบกับ
รถหนังขายยา
Photo by Movie
Photo by Movie
หลายคนที่เกิดทันคงเคยได้ยินคำว่า
“หนังขายยา” แต่ไม่รู้มันคืออะไร?
ซึ่งก็คือ รถขายยาที่ตระเวนไปตามทั่วถิ่นแดนไทยเพื่อฉายหนัง และเมื่อถึงตอนสำคัญก็หยุดฉายหนังซะงั้น แล้วขายยา ใครอยากดูหนังต่อก็ต้องซื้อยาก่อนถึงจะฉายหนังต่อ โดยรถหนังขายยาเป็นของห้างขายยาเพ็ญภาคตราพญานาค (อ๋อ...) ตอนนี้เหลือแต่ชื่อแล้ว
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
เดินย้อนกลับมา ก็พบกับอาคารเหล็กสีดำทะมึน
โรงถ่ายแบล็กมารีอา Black Maria
Photo by Movie
เป็นโรงถ่ายหนังแห่งแรกของโลกของ โทมัส เอดิสัน ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1893 เพื่อผลิตภาพยนตร์ไปฉายในตู้ Kinetoscope ที่หอภาพยนตร์จำลองขึ้นมา และยังเปิดให้บริการแก่ผู้สนใจได้ถ่ายทำหนังเงียบของจริง มีชุดคอสตูมให้แต่ง มีการตัดต่อ ใส่เสียงเพลงประกอบ แล้วส่งกลับไปให้ในรูปของ DVD หรือ ไฟล์ดิจิตอล ราคาค่าใช้จ่าย 100.-/ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนคนใช้บริการ
เปิดให้บริการเฉพาะวันเสาร์, อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.
ภายในโรงถ่ายแห่งนี้งดถ่ายภาพและวิดีโอครับ
จึงมีเฉพาะรูปภายนอกให้ชม อยากรู้เป็นไงต้องไปดูด้วยตาตนเอง
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
บริเวณด้านหน้าของโรงถ่ายจะมีประติมากรรมของ โทมัส เอดิสัน และ จอร์จ อีสต์แมน (ผู้ก่อตั้งฟิล์ม Kodak)
สถานีรถไฟศีนิมา
Photo by Movie
Photo by Movie
สังเกตไหมว่าชื่อสถานีออกเสียงคล้ายกับคำว่า Cinema ซีนีม่า
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
สถานีรถไฟสมัยรัชกาลที่ 7 มีหัวรถจักรไอน้ำ C56 จอดเทียบชานชาลา หน้าหัวรถจักรมีประติมากรรมกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ผู้บัญชีการรถไฟหลวงขณะทรงกล้องถ่ายหนัง
ใต้หัวรถจักรมีรูปปั้นจำลองของ บัสเตอร์ คีตัน
นักแสดงตลกชาวอเมริกันที่ได้ฉายาว่า
“ไอ้หน้าตาย”
Photo by Movie
ด้านข้าง ๆ ชานชาลามีบ่อน้ำ ที่จำลองการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “หวานใจ” โดย พี่น้องตระกูล
วสุวัต ผู้หญิงที่แช่น้ำคือ นางเอกของศรีกรุง มานี สุมมนัฏ ส่วนผู้ชายที่หมอบด้านหลังคือ จำรัส สุวคนธ์ พระเอกของศรีกรุง และผู้ชายที่นั่งสังเกตการณ์อยู่บนฝั่งคือ อดีตพระเอกหนังไทย ยอดชาย เมฆสุวรรณ ซึ่งเป็นผู้ปั้นหุ่นประติมากรรมเหล่านี้
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
หัวรถจักรไอน้ำ C56 และโบกี้
Photo by Movie
ประติมากรรมผู้ชายที่อยู่ในหัวรถจักรคือ
ฌอง กาแบง นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส จำลองจากฉากในหนังที่ได้ชื่อว่าถ่ายฉากรถไฟได้สวยที่สุด
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
ขึ้นไปบนรถไฟโบกี้ที่พ่วงกับหัวรถจักร จัดเป็นนิทรรศการ “ภาพยนตร์กับรถไฟ”
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
หลายคนคงสงสัยว่า ภาพยนตร์ กับ รถไฟ
มันเกี่ยวกันยังไง คำตอบก็คือ ล้อของรถไฟมีลักษณะเหมือนกับล้อของฟิล์มหนังที่ใช้ในการฉายนั่นเอง
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
ก่อนกลับ ตรงทางเข้าออก
เราจะเห็นโมเดลอาคารจำลองของโรงหนังศรีศาลายา และ ศาลาเฉลิมไทย (ใครเกิดทันบ้าง?) อใ โรงหนังที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว พื้นที่ตรงที่เคยตั้งศาลาเฉลิมไทยคือลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์นั่นเอง
Photo by Movie
Photo by Movie
ผมเชื่อว่า หอภาพยนตร์ จะกลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่จุดเช็คอินท่องเที่ยวใกล้ ๆ ที่รอคอยให้เพื่อน ๆ มาสัมผัส มาถ่ายรูป และร่วมเดินทางย้อนอดีตไปกับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
แล้วคุณจะ “รักหนังไทย” มากขึ้นอย่างแน่นอน
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
Photo by Movie
และทั้งหมดนี้คือมูฟวี่ตะลอน on the Way กว่าจะถึง “เมืองมายา...หอภาพยนตร์”
หอภาพยนตร์
เปิดบริการตั้งแต่วันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น.
ตั้งอยู่ที่ 94 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
โทร. 02-482-2013-14, 02-482-1087-88
Website: www.fapot.org
Email: filmarchivethailand@gmail.com Facebook: ThaiFilmArchivePage
แผนที่จากหอภาพยนตร์
เรื่อง & ภาพ: มูฟวี่
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพประกอบ: หอภาพยนตร์
Photo by Movie

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา