23 ก.พ. 2020 เวลา 07:52 • ประวัติศาสตร์
• เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก
(West & East Germany)
1
หลังความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมัน (Nazi Germany) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ.1945 ส่งผลให้เยอรมันตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ซึ่งเป็นผู้ที่ชนะสงคราม
ทหารสหภาพโซเวียตชูธงชาติ ภายหลังชัยชนะเหนือนาซีเยอรมัน ในกรุงเบอร์ลิน
โดยดินแดนเยอรมันได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามจำนวนของชาติที่เข้ามายึดครอง อันได้แก่ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
แผนที่การแบ่งเยอรมันออกเป็น 4 ส่วน สังเกตบริเวณขวาบน กรุงเบอร์ลินก็ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเช่นกัน
ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะเกิดความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียต จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สงครามเย็น (Cold War)
ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก ซึ่งรวมถึงในดินแดนของเยอรมันด้วย โดยในปี ค.ศ.1949 ดินแดนของเยอรมันซึ่งอยู่ภายใต้การยึดครองของ อังกฤษ, ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) หรือประเทศเยอรมันตะวันตก (West Germany) ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงบอนน์ (Bonn)
แผนที่เยอรมันตะวันตก (น้ำเงิน) กับเยอรมันตะวันออก (แดง)
และในช่วงเวลาเดียวกัน ดินแดนเยอรมันที่อยู่ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต ก็ได้ประกาศสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (German Democratic Republic) หรือประเทศเยอรมันตะวันออก (East Germany) ซึ่งปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ การแบ่งแยกเยอรมันออกเป็น 2 ส่วนนี้เกิดขึ้นยาวนานกว่า 40 ปี
1
นอกจากนี้กรุงเบอร์ลิน (Berlin) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมันนั้น ก็ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนเช่นกัน คือ เบอร์ลินตะวันตก (West Berlin) ซึ่งเป็นดินแดนของเยอรมันตะวันตก และเบอร์ลินตะวันออก (East Berlin) ซึ่งเป็นดินแดนและเมืองหลวงของเยอรมันตะวันออก
แผนที่เบอร์ลินตะวันตก (ของเยอรมันตะวันตก) และเบอร์ลินตะวันออก (ของเยอรมันตะวันออก)
ซึ่งการที่เบอร์ลินตะวันตกเป็นดินแดนของเยอรมันตะวันตก แต่กลับอยู่ท่ามกลางการล้อมรอบด้วยดินแดนเยอรมันตะวันออก ก็ได้ทำให้ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมาก อพยพเข้าไปยังเบอร์ลินตะวันตก เพื่อต้องการสิทธิเสรีภาพและหลีกหนีจากความยากจน ที่ชาวเยอรมันตะวันออกต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน
ด้วยความที่เบอร์ลินตะวันตก (เยอรมันตะวันตก) ตั้งอยู่ตรงกลางของเยอรมันตะวันออก ทำให้ชาวเยอรมันตะวันออกต้องการเดินทางเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตก
โดยในช่วงปี ค.ศ.1961 รัฐบาลของเยอรมันตะวันออก ก็ได้เริ่มสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin wall) เพื่อปิดกั้นไม่ให้ชาวเยอรมันตะวันออก เดินทางเข้าไปในเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นของเยอรมันตะวันตกได้ กำแพงเบอร์ลินนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น และม่านเหล็ก (Iron Curtain) ที่กั้นระหว่างโลกเสรีนิยมตะวันตกกับโลกคอมมิวนิสต์ตะวันออก
กำแพงเบอร์ลิน กำแพงที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้คนเยอรมันตะวันออก เข้าไปในเบอร์ลินตะวันตก
แผนที่กำแพงเบอร์ลิน ที่สร้างล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก
จุดตรวจชาร์ลี (Checkpoint Charlie) ด่านตรวจที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนระหว่างเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก
ท้ายที่สุดปลายทศวรรษที่ 1980 ความขัดแย้งในสงครามเย็นเริ่มทุเลาลง บรรดาชาติคอมมิวนิสต์ในทวีปยุโรปเริ่มล่มสลาย ซึ่งรวมไปถึงเยอรมันตะวันออกด้วย ในที่สุดวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989 ขาวเบอร์ลินทั้ง 2 ฝั่งนับหมื่นคนได้รวบตัวกันเพื่อทำลายกำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์ของการแบ่งแยกประเทศและความขัดแย้งแห่งสงครามเย็น
1
ชาวเยอรมันรวมตัวกันเพื่อทำลายกำแพงเบอร์ลิน
การทำลายกำแพงเบอร์ลินนี้ถือว่าเป็นจุดสำคัญของการสิ้นสุดสงครามเย็น ก่อนที่ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1990 ประเทศเยอรมันทั้ง 2 ส่วนก็ได้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง
ชาวเยอรมันพากันเฉลิมฉลอง ในการรวมประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ.1990
#HistofunDeluxe
โฆษณา