25 ก.พ. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
ย้อนรอยประวัติศาสตร์จีน: สาเหตุที่ "คนฮ่องกง" และ "คนไต้หวัน" ไม่เรียกตัวเองว่า "คนจีน"
จักรพรรดิกวังซฺวี่ (ซ้าย) ซูสีไทเฮา (ขวา)
ช่วงที่หนึ่ง ยุคเสื่อมถอยของราชวงศ์และการสูญเสียดินแดน
2
ทหารแปดกองธงในต้นรัชสมัยชิงตอนต้นถือเป็นกองกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชีย
เริ่มต้นที่การปกครองของจักวรรดิชิงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของจักรวรรดิชิงอันยิ่งใหญ่มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพลศาล ทั้งยังดำรงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนต่าง ๆ ซึ่งแต่ละดินแดนนั้นก็มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติพันธุ์ด้วย จักรวรรดิชิงปกครองบ้านเมืองด้วยนโยบายหนึ่งประเทศหลายชนชาติพันธุ์ รวมถึงได้มีการก่อตั้งกองทัพทหารแปดกองธง ซึ่งขณะนั้นกองทัพแปดกองธงถือกองทัพที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งที่สุดในเอเชีย และยังเป็นหลักค้ำบัลลังของจักรวรรดิชิงอีกด้วย
3
การค้าขายระหว่างจักรวรรชิงกับจักรวรรดิบิติช
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย เรียกได้ว่าเป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมัยใหม่ จักรวรรดิชิงประสบความวุ่นวายและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองภายในที่ข้าราชการขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง จักรพรรดิและสมาชิกราชวงศ์ชั้นสูงใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟื่อยจนกลายเป็นปัญหาที่ถูกสะสมมาเรื่อย ๆ นอกจากจะประสบกับความกดดันภายในแล้ว จักรวรรดิชิงยังต้องเจอกับความกดดันภายนอกจากชาติมหาอำนาจแห่งยุคล่าอาณานิคมที่ราชวงศ์ชิงไม่อาจต้านทานได้ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ล้าสมัยและถูกขูดรีเอารัดเอาเปรียบจากชาติมหาอำนาจ จนได้สยานามว่าเป็น "ขี้โรคแห่งเอชีย"
5
การสูบฝิ่นในสมัยราชวงศ์ชิงกลายเป็นความอ่อนแอของประเทศ
ต่อมาไม่นานจักรวรรดิชิงได้ประสบปัญหาความขัดแย้งและเกิดข้อพิพาททางการค้ากับสหราชอาณาจักร เนื่องจากการขาดดุลทางการค้าของฝั่งสหราชอาณาจักรกลายเป็นสาเหตุนำมาสู่สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในปี 1842 จักรวรรดิชิงพ่ายแพ้สงครามให้กับสหราชอาณาจักร และเกิดสนธิสัญญาฉบับแรกขึ้น ชื่อ "สนธิสัญญานานกิง" ในสนธิสัญญาระบุไว้ว่า จักรวรรดิชิงยินยอมมอบเกาะฮ่องกงให้แก่สหราชอาณาจักรเพื่อการครอบครองถาวรภายใต้อำนาจการบริหารในสมเด็จพระราชินีนาถแห่งบริเตนใหญ่...." และอีกราว ๆ ยี่สิบปีต่อมาก็ได้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่สองขึ้น จักรวรรดิชิงรบแพ้อีกตามเคย ทำให้ต้องจำนนเซ็นสนธิสัญญาฉบับใหม่ ชื่อ "อนุสัญญาปักกิ่ง" ว่าด้วย การยกดินแดนคาบสมุทรเกาลูนและเกาะสโตนคัตเตอร์สให้แก่สหราชอาณาจักรเพื่อยุติความขัดแย้ง โดยสนธิสัญญาทั้งสองฉบับทำให้จักรวรรดิชิงเสียอำนาจอธิปไตยโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้นฝั่งมหาอำนาจตะวันตกได้บุกเข้าเผ่าทำลายพระราชวังอี๋เหอหยวนเพื่อเป็นการตอบโต้ที่ราชสำนักชิงที่สั่งทรมานและประหารชีวิตนักโทษชาวยุโรป และอินเดีย จำนวน 20 คน
3
จักรวรรดิบริติชได้รับชัยนะในสงครามฝิ่น
การพ่ายแพ้ให้กับมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่น ทำให้จักรวรรดิชิงใกล้ถึงคราวล่มสลาย ต่อมาในปี 1898 สหราชอาณาจักรกดดันให้จักรวรรดิชิงยอมยกดินแดนแถว ๆ เกาะฮ่องกงเพิ่มเติมในส่วนที่เรียกว่า นิวเทอร์ริทรีส์ (New Territories) เพื่อป้องกันไม่ให้มหาอำนาจอย่างญี่ปุ่นที่ครอบครองเกาะฟอร์โมซา (เกาะไต้หวัน) ขยายอิทธิพลเข้ามา รวมถึงอิทธิพลของฝรั่งเศสที่แผ่ขยายอยู่ทางทะเลจีนใต้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามจักรวรรดิชิงก็ไม่ยอมที่จะเสียดินแดนไปง่าย ๆ เนื่องจากดินแดนใหม่ที่เรียกว่า นิวเทอร์ริทรีส นั้นไม่ได้มาจากการทำสงครามก็เลยได้มีการทำ "สัญญาเช่า 99 ปี" เกิดขึ้น และเป็นสนธิสัญญาฉบับสุดท้ายที่ทำขึ้นระหว่างจักรวรรดิชิงกับสหราชอาณาจักร
5
จักรวรรดิชิงและจักรวรรดิบริติชร่วมลงนามในสนธิสัญญานานกิง
ช่วงที่สอง การรุกรานและสงครามแย่งชิงอำนาจ
กองเรือรบของทหารญี่ปุ่น
การถูกชาติมหาอำนาจตะวันตกรุกราน นอกจากนั้นยังต้องเผชิญหน้ากับสภาวะสงครามที่ถ่าถมเข้ามาเรื่อย ๆ ในสภาวะทางเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาขั้นวิกฤติ ราชสำนักชิงสูญเสียค่าใช้จ่ายไปกับค่าปฏิกรรมสงครามจนก่อเป็นหนี้สินมากมายและประชนชนอยู่อย่างอดอยากยากจน ทั้งยังประสบปัญหาการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของราชสำนักทำให้กองกำลังทหารอ่อนแอ และอำนาจการปกครองของจักรวรรดิชิงเริ่มเสื่อมถอยลงในที่สุด ผนวกกับการรุกรานและการแย่งชิงอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลีระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ซึ่งเกาหลีก็เคยเป็นประเทศราชของจีนมาอย่างยาวนาน สงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่นส่งผลให้อิทธิพลของจักรวรรดิชิงยิ่งเสื่อมถอยลงทุกทีจนนำไปสู่การแพ้สงครามและได้เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ขึ้นในปี 1911 การปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
7
การปฏิวัติซินไฮ่ 1911 เป็นจุดจบของระบอบกษัตริย์จีน
หลังจากการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลง ก็ได้มีการตั้งพรรคการเมืองชื่อว่า "พรรคก๊กมินตั๋ง หรือ พรรคชาตินิยม" และได้สถาปนา "สาธารณะรัฐจีน" ที่นครนานกิง การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครั้งนี้เพื่อเป็นการนำพาประเทศจีนให้ก้าวหน้าและความทันสมัยเท่าเทียมชาติตะวันตก ทว่า...พรรคก๊กมินตั๋งที่เป็นรัฐบาลกลางในขณะนั้น บริหารกิจบ้านเมืองไม่ค่อยราบรื่น ซ้ำยังเกิดปัญหาความขัดแย่งภายในอยู่ตลอดเวลา รวมถึงปัญหาของระบบทุนนิยมที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการแบ่งชนชั้นทางสังคมในประเทศจีน ทำให้เกิดกระขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคอมมิวนิสต์ในจีนมากขึ้น จนมาถึงคราวแตกหักของอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งสองขั้ว กลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ทำการก่อการจราจลต่อรัฐบาลกลาง ทำให้รัฐบาลกลางต้องส่งกำลังพลเข้าปราบปรามจนนำไปสู่การปะทะกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนเมษายน ปี 1927 และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมือง สถานการณ์ความวุ่นวายในของจีนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำใหญี่ปุ่นเข้ามารุกรานจีนได้สะดวก ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในแมนจูเรียและสถาปนาปูยีขึ้นเป็นจักรพรรดิ ญี่ปุ่นดำเนินตามนโยบายทางทหารและพยายามยุยงให้เกิดการแตกแยกภายในกันเองเพื่อให้กองกำลังทหารจีนอ่อนแอ
7
เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสจีน
พรรคคอมมิวนิสจีนก่อจราจลที่หนานชาง
ในปี 1937 สงครามจีน-ญี่ปุ่นดำเนินขึ้นอย่างเต็มตัว ทำให้ฝ่ายรัฐบาลกลางต้องรับมือกับกองทัพอันแข็งแกร่งของญี่ปุ่น จึงมีการเจราสงบศึกภายในเพื่อต่อต้านภายนอกระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งนี้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลทางทหารเข้ามาในจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถเข้ายึดนครนานกิงที่เป็นเมืองหลวงของสาธารณะรัฐจีนในขณะนั้นได้ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงไปยังนครฉงชิ่ง และในช่วงเวลาเดียวกันก็มีการการสังหารหมู่นานกิงเกิดขึ้น มีชาวจีนจำนวนมากเสียชีวิตและถูกข่มขื่นทรมานจากทหารญี่ปุ่น ขณะนั้นญี่ปุ่นถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม เมื่อสงครามดำเนินมาถึงปี 1945 สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมนูลงฮิโรชิมาและนางาซะกิ จนทำให้กองทัพของญี่ปุ่นต้องพ่ายแพ้ในสงคราม พร้อมกับให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาซานฟานซิสโก ซึ่งในสนธิสัญญาระบุว่าญี่ปุ่นต้องปลดปล่อยอาณานิคมที่ญี่ปุ่นไปรุกรานทั้งหมดและห้ามมีกองกำลังทหาร และถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองอย่างถาวร
11
สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2: การสังหารหมู่นานกิง
ช่วงที่สาม หลักการป่าล้อมเมืองสู่ชัยชนะเหนือแผ่นดินใหญ่
1
การเคลื่อนของคอมมิวนิสจีนเพื่อต่อต้านรัฐบาลกลาง
ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แทรกซึมไปทุกที่ในชนบทของจีน การเคลื่อนไหวของกลุ่มคอมมิวมิสต์จีนอาศัยหลักการป่าล้อมเมือง เหมา เจ๋อตงดำเนินการปลุกชาตินิยมโดยเริ่มจากการปลุกระดมโน้มน้าวชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งมีจำนวนเยอะกว่าทุกชนชั้นในสังคมให้มีความคิดไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ชนชั้นกรรมชีพลุกขึ้นมาสู้กับพวกนายทุนที่เข้ามาเอารัดเอาเปรียบและกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเอง และในเวลาต่อมาก็ได้มีการก่อตั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกิดขึ้น หลักการป่าล้อมเมืองขยายอิทธิพลแนวคิดคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตงออกไปวงกว้าง และเป็นชนวนความแตกแยกของอุดมการณ์ทางการเมืองภายในประเทศโดยสิ้นเชิง
1
พรรคคอมมิวนิสจีนได้รับชัยชนะ
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ในปี 1946 สงครามกลางเมืองก็ได้ปะทุขึ้นอย่างเต็มตัว เรียกได้ว่าเป็นสงครามการปลดปล่อย อุดมการณ์คอมมิวนิสของเหมาทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีกองกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากมีกองกำลังมากกว่าพรรคก๊กมินตั๋ง จึงทำให้ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ และเหมา เจ๋อตงได้สถาปนา "สาธารณะรัฐประชาชนจีน" ในปี 1949 และดำรงตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์และประธนาธิบดีคนแรกของสาธารณะรัฐประชาชนจีน ส่วนพรรคก๊กมินตั๋ง นำโดยเจียง ไคเช็คได้ย้ายไปตั้งรัฐบาลใหม่ที่เกาะไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ความขัดแยงระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับรัฐบาลสาธารณะรัฐจีนยังไม่มีการลงนามใน "สนธิสัญญาสันติภาพ" ดังนั้นเราจะเห็นอยู่ตลอดว่าทำไมสาธารณะรัฐประชาชนจีนจึงมีการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเกาะไต้หวัน และความขัดแย้งในปัจจุบันดำเนินด้วยสงครามน้ำลาย และ/หรือใช้วิธีทางการทูตแทน
7
การปฏิวัติวัฒนธรรมใหญ่ตามแนวคิดลัทธิเหมา
การสถาปนารัฐใหม่ได้ไม่นาน ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิเหมาได้แผ่ขยายทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์ของลัทธิเหมา ในปี 1966 เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในจีน เป็นขบวนการกวาดล้างอารยธรรมเก่าตามนโยบายของเหมา เจ๋อตง คือ การ "ทำลายโลกเก่า สร้างโลกใหม่" โดยการบังคับใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเต็มรูปแบบและตัดขาดจากโลกทุนนิยม โค้นล้มวัฒนธรรมระหว่างชนชั้น รวมถึงการทุบทำลายสถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนสถานโบราณต่าง ๆ ตลอดจนทำลายอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีของจีนด้วยการปฏิวัติระบบการศึกษาใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นภัยต่อลัทธิคอมมิวนิสต์เหมา หากทางการจับได้ว่ายังมีคนที่มีความเชื่อและศรัทธาที่เป็นปฏิปักษ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ก็จะถูกนำตัวไปลงโทษ ทำให้คนที่มีความเชื่อทางศาสนาและมีความเชื่อพื้นเมืองต่างก็หวาดระแวงกันเอง การปฏิวัติวัฒนธรรมได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศมากมาย และส่งผลกระทบสังคมและเศรษฐกิจจีนให้ดิ่งลงและหยุดชงัก
4
ช่วงที่สี่ อัศวินขี่ม้าขาว
1
การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน
ประเทศจีนเคยเป็นที่มีความมั่งคั่งมาอย่างช้านาน แต่ด้วยการประสบปัญหาระบอบการปกครองที่ล้มเลว และเกิดการแตกแยกเป็นฝั่งเป็นฝ่ายของประชาชน ทั้งการถูกรุกรานจากภายนอกและการก่อจารจลภายในจนกลายเป็นสงครามเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของจีนซบเซาลงเรื่อย ๆ จนดิ่งลงจุดต่ำสุด
เติ้ง เสี่ยวผิง ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง (ซ้าย) กับ จิมมี่ คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ขวา)
หลังจากการเสียชีวิตของเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ถือเป็นการล่มสลายของการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนอย่างถาวร ผู้สืบอำนาจทางการเมืองรุ่นต่อไปตกอยู่ในมือเติ้ง เสี่ยวผิงที่เคยมีความบาดหมางกับเหมา เจ๋อตงจนถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังได้รับความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลอยู่เรื่อยมา ทำให้เติ้ง เสี่ยวผิงได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจผู้นำจีนโดยพฤตินัยในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง เติ้งมองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดของคอมมิวนิสต์ไม่สามารถทำให้ประชาชนลืมตาอาปากได้ เขาจึงได้เริ่มนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบการตลาด ปฏิรูปที่ดินใหม่โดยการถ่ายโอนภาคการเกษตรคืนสู่ประชาชน เปิดรับนายทุนต่างชาติ และอนุญาติให้ผู้ประกอบเอกชนสามารถเจ้าเป็นเจ้าของธุระกิจได้ แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ยังเป็นของรัฐ ทั้งนี้ยังให้บริษัทเอกชนเข้ามามีบทบาทในการบริหารกิจการของรัฐ หรือเรียกว่า การแปรรัฐวิสาหกิจ
2
เมืองเซินเจ้น ผลงานชิ้นโบแดงของเติ้ง เสี่ยวผิง บิดาแห่งการปฏิรูป
การดำเนินนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจหลักการตลาดของเติ้ง เสี่ยวผิง คือ การเปิดรับระบบทุนนิยมเข้ามาในประเทศเป็นครั้งแรก กลับกลายเป็นว่าแนวคิดเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ถูกระบบทุนนิยมเอาชนะและทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวมากขึ้นหลายเท่า ทั้งยังสามารถลดสภาวะความยากจนและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้มากขึ้นเช่นกัน การปฏิรูปเศรษฐกิจ "แบบคู่ขนาน" จึงเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจีนพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
5
ช่วงที่ห้า การสังหารหมู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
พวกรีดไว้อาลัยการเสียชีวิตของหู เย่าปัง และเป็นชนวนการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มไหลเข้ามาในจีน ขณะเดียวกันพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นรัฐบาลเผด็จการพรรคการเมืองเดียวต้องเผชิญปัญหาการคอรัปชั่นภายใน คนในพรรคเอาผลประโยชน์รวมมาเป็นส่วนตัว ตลอดจนคนในพรรคคอมมิวนิสต์หลายคนมีการกินดีอยู่ดี แต่ประชาชนอยู่อย่างลำบากยากจน
2
การประท้วงของนักศึกษาและปัญญาชนชาวจีนหน้าจตุรัสเทียนอันเหมิน
การประท้วงเริ่มต้นขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของหู เย่าปัง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน นักปฏิรูปที่ได้รับการยอมรับจากปัญญาชนและนักศึกษาแนวเสรีนิยม ซึ่งในปี 1987 นั้นก่อนหน้าที่หู เย่าปังเสียชีวิต เขาถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขณะเดียวกันเติ้ง เสี่ยวผิง ได้แต่งตั้งหู จิ๋นเทาให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนแทน หลังจากการลาออกและการเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจของหู เย่าปังในวันที่ 15 เมษายน 1989 มีปัญญาชนและนักศึกษาจำนวนมากต่างออกมาไว้อาลัย และแสดงความไม่พอใจกับการปฏิรูปประเทศที่เป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งนำมาสู่การประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย และได้มีการก่อตั้งสหภาพนักศึกษาชั่วคราวเกิดขึ้น
3
ผู้นำจีนใช้ความรุนในการสลายการชุมนุม
การประท้วงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนไปถึงการประท้วงอดอาหารและการเจรจากับรัฐบาลที่ไม่สามารถตลงมติกันได้ ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง ขณะที่ทางการจีนตัดสินใจการเคลื่อนกำลังพลเข้าจัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อไล่การชุมนุม ซึ่งสมาชิกอาวุโสพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงเพื่อยุติการประท้วง วันที่ 3 มิถุนายน 1989 ค่ำคืนแห่งการนองเลือด กองกำลังรถถังและรถยนต์หุ้มเกาะวิ่งไล่บดขยี้ ทหารเริ่มใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมเพื่อยึดพื้นที่จัสตุรัสเทียนอันเหมินกลับคืน การสลายการชุมนุนดำเนินมาถึงวันที่ 4 มิถุนายน ยังมีเสียงปืนดังลั่นเป็นครั้งคราวตลอดทั้งวัน มีผู้ประท้วงจำนวนมากบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ และพลเรือนที่พกอาวุธน้อยก็ถูกทำร้ายจากผู้ประท้วงเช่นกัน เหตุการณ์การสังหารหมู่จัสตุรัสเทียนอันเหมินแสดงให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงสูงสุด แต่อาชญากรในเหตุการณ์สังหารหมู่ไม่ได้ถูกลงโทษแต่อย่างใด
7
ประชาชนจีนถูกกองกำลังทหารไล่บขยี่
ช่วงที่หก ปิดฉากเจ้าอาณานิคม
พิธีส่งมอบฮ่องกงคืนสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-20 มีหลายร้อยเหตุการณ์การเปลี่ยนที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ทั้งการล่าอาณานิคมของตะวันตกแผ่ขยายเข้ามาฝั่งเอเชีย รวมถึงการรุกรานของญี่ปุ่น หลายประเทศตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคม และฮ่องกง มาเก๊าของจีนเองก็ถูกอาณานิคมยุโรปครอบครองมาร้อยกว่าปี ย้อนกลับไปสนธิสัญญาทั้งสามฉบับของฮ่องกงที่จักรวรรดิชิงกับสหราชอาณาจักรฯ ลงนามด้วยกัน คือ "สนธิสัญญานานกิง" และ "อนุสัญญาปักกิ่ง" ซึ่งเป็นสนธิสัญญายกเกาะฮ่องกงและดินแดนคาบสมุทรเกาลูนให้แก่สหราชอาณาจักรอย่างถาวร และ "สัญญาเช่า 99 ปี" ในส่วนดินแดนใหม่ ซึ่งจักรวรรดิทั้งสองได้ร่วมทำข้อตกลงกันในปี 1898 ได้กลายเป็นพันธะสำคัญในการเรียกคืนเอกราชฮ่องกงของจีน
3
เติ้ง เสี่ยวผิง (ซ้าย) เลดี้มาร์กาเรต แธตเชอร์ (ขวา) การเจรจาเรียกคืนเอกราชของฮ่องกง ณ กรุงปักกิ่ง ปี 1982
หลังจากการสถาปนาสาธารณะรัฐประชาชนจีนได้ไม่นาน รัฐบาลจีนก็ได้มีการพูดคุยประเด็นฮ่องกงมาโดยตลอด ซึ่งในปี 1982 เติ้ง เสี่ยวผิง ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง ได้มีการเรียกประชุมภายในของทุกหน่วยงานในฮ่องกงเพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการเรียกคืนเอกราชของฮ่องกง การเจรจาได้เปิดฉากขึ้นหลังจากเลดี้มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาของสหราชอาณาจักรฯ ได้เยือนกรุงปักกิ่ง สาธารณะรัฐประชาชนจีนในเดือนกันยายน 1982 การเจรจาครั้งนี้ฝ่ายรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้พยายามเจรจาต่อรองกันเรื่องขอต่อสัญญาเช่าพื้นที่ฮ่องกงที่กำลังจะหมดสัญญาเช่าในปี 1997 การเจรจาดำเนินมา 3 ชั่วโมง แต่จีนไม่มีท่าทีที่จะอ่อนข้อให้กับฝ่ายตรงข้าม ซ้ำยังถูกเติ้ง เสี่ยวผิงยืนกร้านปฏิเสธอย่างเด็ดเดี่ยว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายเจรจากันนานหลายรอบ พร้อมกับคุยกันเรื่องข้อตกลงประเด็นอำนาจอธิปไตยของฮ่องกง จนกระทั่งในปี 1984 รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการออกแถลงการร่วมกัน จีนได้มีการเสนอแผน "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ในการบริหารกิจการของฮ่องกงที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจ สังคม และกฏหมายของฮ่องกงต่อไปเป็นเวลา 50 ปี ตลอดจนการจัดตั้งฮ่องกงเป็นเขตปกครองพิเศษของสาธารณะรัฐประชาชนจีน
6
ขบวนเสด็จเรือรบราชนาวีของเจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักรฯ
ก่อนหน้าที่สหราชอาณาจักรฯ จะคืนฮ่องกงให้กับจีน ประชาชนชาวฮ่องกงก็ได้ลิ้มรสประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก แต่กว่าจะมาเป็นประชาธิปไตยได้ก็ต้องวางรากฐานนานพอสมควร ฮ่องกงมีการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1985 และมีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเป็นครั้งแรกโดยเป็นการเลือกทางอ้อม ต่อมาในปี 1991 ให้มีการเลือกทางตรง และในปี 1995 ให้มีการเลือกตั้งอย่างเต็มรูปแบบ
คริส แพ็ตเตน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรฯ รับมอบธงยูเนี่ยนแจ็คและธงอาณานิคมของฮ่องกง
การเชิญธงชาติฮ่องกงและธงชาติสาธารณะรัฐประชาชนจีนขึ้นสู่เสาธง
วันที่ 1 กรกฎาคม 1997 เมื่อกองทัพเรือสหราชอาณาจักรฯ ของเจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฏราชกุมารเทียบท่าอ่าวฮ่องกง เจ้าฟ้าชายชาลส์เสด็จพร้อมกับตัวแทนคณะรัฐบาลสหราชอาณาจักรฯ ในการเข้าร่วมพิธีส่งมอบฮ่องกงให้แก่สาธารณะรัฐประชาชนจีน พิธีการส่งมอบฮ่องกงได้มีการแลกเปลี่ยนธงของทั้งสองรัฐบาล เมื่อธงยูเนี่ยนแจ็คถูกปลดลง จึงเป็นการปิดฉากลัทธิอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตนใหญ่ จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน
1
เจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักรฯ (ซ้าย), คริส แพ็ตเตน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรฯ (กลาง)
ช่วงที่เจ็ด ฉันคือใคร
ศิลปะการแสดงจีนแขนงหนึ่ง
การที่ไต้หวันและฮ่องกงไม่เห็นด้วยกับการรวมแผ่นดินและไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นหนึ่งเดียวกับคนจีน ความคิดที่ไม่เห็นด้วยนี้ล้วนเกิดจากการใช้ชีวิตในสังคมที่แตกต่างกัน "จีนคือโลกเผด็จการแห่งพรรคคอมคอมมิวนิส" "ไต้หวันคือโลกแห่งประชาธิปไตย" และ "ฮ่องกงคืออาณานิคมเก่าของสหราชอาณาจักรฯ" ตลอดจนระบอบการเมืองการปกครองและระบบการศึกษาที่แตกต่างกันก็อาจทำให้แนวคิดและวิถีการใช้ชีวิตของคนแตกต่างกันด้วย เหมือนนกที่ถูกจับอยู่ในกรงกับนกที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติก็ล้วนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปเช่นกัน
ธงชาติสาธารณรัฐจีน
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์การสร้างชาติ จึงเป็นส่วนสำคัญที่สามารถบ่งบอกความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกันได้ คนไต้หวันและคนฮ่องกงต่างไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการสร้างชาติใหม่ของจีน จึงไม่แปลกที่บริบททางสังคมของคนไต้หวันและคนฮ่องกงไม่รู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นหนึ่งเดียวกับคนจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะพวกเขาไม่เคยผ่านเหตุการณ์หรือไม่เคยร่วมอุดมการณ์เดียวกัน มันก็เลยไม่รู้สึกอินกับสิ่งที่จีนแผ่นดินใหญ่พูดหรือทำ
1
ธงเขตปกครองพิเศษฮ่องกง
ถ้าย้อนดูเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของสาธารณะรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และฮ่องกงก็จะเห็นชัดว่าคนทั้งสามกลุ่มนี้มรฝีการแบ่งแยกกันมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมและยุคสงครามกลางเมือง ซึ่งประชากรทั้งฮ่องกงและไต้หวันต่างก็มีความสัมพันธ์และมีประวัติศาสตร์ร่วมกับจีนแผ่นดินใหญ่น้อยมาก ฮ่องกงจากสมัยก่อนมีแค่คนมณฑลกวางตุ้งอาศัยอยู่ ตั้งแต่ตกเป็นอาณานิคมจนถึงปัจจุบันก็มีคนหลายเชื้อชาติหลั่งไหลเข้ามาทำการค้า ตลอดจนย้ายถิ่นฐานอยู่ที่ฮ่องกง ส่วนไต้หวันเดิมก็มีคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะมาอย่างยาวนาน กระทั่งตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในสมัยราชวงศ์ชิง ทั้งยังมีกลุ่มคนจีนที่อพยบหลังช่วงสงครามกลางเมืองก็ได้เข้ามาตั้งรกรากปักฐานและแต่งงานผสมปะปนกันไป จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนรุ่นใหม่ที่เป็น "คนฮ่องกง" และ "คนไต้หวัน" ถึงไม่เรียกเแทนตัวเองว่า "คนจีน"
2
ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน
"ฉันคือใคร ฉันร่วมประวัติศาสตร์กับใครบ้าง"
เกร็ดความรู้:
1
• ปี 1839 – 1842 สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจักวรรดิชิงกับสหาราชอาณาจักร
• ปี 1841 การยึดครองฮ่องกงของสหราชอาณาจักร
• ปี 1856 – 1860 สงครามฝิ่นครั้งที่สอง ความขัดแย่งขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิชิงกับชาติตะวันตก ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย
• ปี 1842 สนธิสัญญานานกิง ยกเกาะฮ่องกงให้สหราชอาณาจักรอย่างถาวร
• ปี 1860 อนุสัญญาปักกิ่ง ยกดินแดนคาบสมุทรเกาลูนให้สหราชอาณาจักรอย่างถาวร
• ปี 1898 สหราชอาณาจักรทำสัญญาเช่า 99 ปี เซินเจิ้นถูกแบ่งครึ่งออกเป็นดินแดนใหม่หรือนิวเทอร์รีทส์
• 10 ตุลาคม 1911 - 12 กุมภาพันธ์ 1912 การปฏิวัติซินไฮ่ นำโดย ดร.ซุน ยัติเซ็น ผู้นำการปฏิวัติโค่นราชบัลลังจักรวรรดิชิง
• 1 มกราคม 1912 สถาปนา "สาธารณะรัฐจีน" และประกาศให้ทุกวันที่ 10 ตุลาคมของปีเป็นวันเฉลิมฉลองวันชาติ
2
• ปี 1894 - 1895 สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง การแย่งชิงอำนาจบนคราบสมุทรเกาหลีระหว่างจักรวรรดิชิง-ญี่ปุ่น
• ปี 1937 - 1945 สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เป็นสงครามระหว่างรัฐบาลจีนกับญี่ปุ่น และได้กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา ญี่ปุ่นแพ้สงครามไม่ใช่เพราะจีนรบชนะแต่อย่างไร แต่ญี่ปุ่นลงนามแพ้สงคราม เพราะโดนระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกของญี่ปุ่น และมี 49 ประเทศร่วมลงนามด้วย ยกเว้น รัสเซีย สาธารณะรัฐจีน และจีนแผ่นดินใหญ่
2
• ปี 1927 - 1950 เกิดสงครามกลางเมืองของจีน การสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊มินตั๋ง
• 1 ตุลาคม 1949 ได้มีการสถาปนา "สาธารณะรัฐประชาชนจีน" ขึ้น และได้ประกาศให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันชาติจีน
• ปี 1966 เหมา เจ๋อตง เริ่มขบวนการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่
• ปี 1978 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้ออกนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ใช้หลักการตลาด ทำให้เศรษฐกิจจีนพัฒนาแบบก้าวกระโดด
• 14 เมษายน - 4 มิถุนายน 1986 เหตุการณ์การสังหารหมู่จัสตุรัสเทียนอันเหมิน ไม่สามารถระบุจำนวนผู้เสียชีวิต สาเหตุเกิดจากการเสียชีวิตของหู เย่าปัง จนนำมาสู่การประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย
• กลางปี 1982 เติ้ง เสี่ยวผิง ประชุมทุกหน่วยงานในฮ่องกงเพื่อเรียกคืนเอกราชฮ่องกง
• 26 กันยายน 1982 เลดี้มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ เยือนปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเจรจาประเด็นฮ่องกง
• ปี 1984 รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการออกแถลงการร่วมกันเรื่องการประกาศเอกราชฮ่องกง จีนเสนอแผน "หนึ่งประเทศ สองระบบ" ภายใต้กำหนดระยะเวลา 50 ปี
• ปี 1985 ฮ่องกงมีการเลือกตั้งครั้งแรกเกิดขึ้น และมีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเป็นครั้งแรกโดยเป็นการเลือกทางอ้อม ต่อมาในปี 1991 ให้มีการเลือกทางตรง และในปี 1995 ให้มีการเลือกตั้งอย่างเต็มรูปแบบ
• 1 กรกฎาคม 1997 สหาราชอาณาจักรส่งมอบดินแดนนิวเทอร์รีทส์ และยกเกาะฮ่องกงกับดินแดนคาบสมุทรเกาลูนให้แก่สาธารณะรัฐประชาชนจีน
• 20 ธันวาคม 1999 โปรตุเกสประกาศคืนเอกราชมาเก๊าให้จีนอย่างเป็นทางการ
Reference:
[1] อังกฤษไม่เคย “เช่า” เกาะฮ่องกง 99 ปี แต่ (ใจดี?) ยกคืนให้จีนเอง, https://www.silpa-mag.com/history/article_10409
[2] จีน “เรียนวิทยาการฝรั่งเพื่อควบคุมฝรั่ง” ย้อนความเน่าเฟะในสงครามฝิ่นสู่ยุคอุตสาหกรรม, https://www.silpa-mag.com/history/article_33084
[3] 1 ตุลาคม 1949: “เหมา” ประกาศตั้ง “สาธารณรัฐประชาชนจีน”, https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_2971
[4] 29 ธันวาคม 1911: “ซุนยัดเซ็น” ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน, https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_5221
[5] ไต้หวัน โหยหาประวัติศาสตร์ และเร่งสร้างอัตลักษณ์, https://www.silpa-mag.com/history/article_7326
[6] สงครามโลกครั้งที่ 2 อาจไม่จบ หาก “รัฐประหาร” สำเร็จ ก่อนการประกาศยอมแพ้ของจักรพรรดิ, https://www.silpa-mag.com/history/article_2158
[7] สังหารหมู่ที่นานกิง เรื่องจริงสุดนองเลือด ในประวัติศาสตร์โลก, https://travel.trueid.net/detail/80Q9JR2EqJN0
[8] ถอดบทเรียนปราชัย 120 ปี 'สงครามจีน-ญี่ปุ่น', https://mgronline.com/china/detail/9570000057740
[9] เทียนอันเหมิน : ไล่เรียงลำดับเหตุการณ์นองเลือดที่จีนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว, https://www.bbc.com/thai/amp/international-48511516
[10] เติ้งเสี่ยวผิงกับการเจรจาปัญหาเกาะฮ่องกง, https://mgronline.com/china/detail/9470000038574
[11] อยู่มาร้อยปีฮ่องกงไม่เคยเป็นประชาธิปไตย ทำไมอังกฤษต้องหักหลังจีน, https://www.posttoday.com/world/597705
[12] The last Hong Kong governir: Chris Patten on 20 years after handover, https://youtu.be/YbfZSI8u8QA
[13] Great Britain & Hong Kong: 175 years though the lens, https://youtu.be/lYVhPuqLGOQ
[14] Hong Kong Handover 1997, The UK return Hong Kong to PR. China,
1
โฆษณา