24 ก.พ. 2020 เวลา 14:36 • ธุรกิจ
"Moral Hazard เมื่อเราแอบขี้โกงทีหลัง"
หลายๆคนอาจจะเคยมีปัญหาที่ว่าอะไรๆต่างก็ไม่เหมือนเดิมเหมือนแต่ก่อนใช่มั้ยค้า? อย่างเช่นเรื่องของความรักนี่เลย ตอนเป็นแฟนกันก่อนแต่งงานบอกว่าจะรักกัน ดูแลกันตลอดไป แต่พอหลังแต่งงานนี่ซิ นอกจากจะไม่รักทะนุถนอมเหมือนแต่ก่อนแล้ว ยังทำตัวเหลวแหลก ไม่นิสัยดีเป็นคุณชายเหมือนก่อนแต่งงานเลย พูดแล้วท๊อฟฟี่โมโห!!!
เนื่องจากท๊อฟฟี่ไม่ได้จะมาจัดรายการ Club Friday อะไรน้าค้า ท๊อฟฟี่ก็คงจะไม่พูดถึงเรื่องปัญหาหัวใจอะไรมาก แต่ปัญหาเรื่องที่อะไรๆไม่เหมือนเดิมเนี่ยจริงๆมันก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับการเงินและเศรษฐศาสตร์เหมือนกันน้าค้า ซึ่งเรามีการนิยามสิ่งนี้ว่าเป็น Moral Hazard นั่นเองค่า~
"Moral Hazard คืออะไร?"
Moral Hazard หรือ ภาวะอันตรายทางศีลธรรม เป็นคำที่อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไปจากที่เคยตกลงกันไว้ อย่างเรื่องความรักก็เช่นกัน เราสัญญาว่าหลังแต่งงานจะรักกันตลอดไป แต่พอแต่งงานไปแล้วก็กลับไปมีชู้ นั่นก็เป็นปัญหา Moral Hazard เหมือนกันน้าค้า อิอิ
ถ้าจะให้ท๊อฟฟี่เจาะจงเกี่ยวกับการเงินและเศรษฐศาสตร์หน่อย Moral Hazard มักจะเกิดขึ้นในวงการประกันน้าค้า อย่างเช่นเวลาเราขอทำประกันอุบัติเหตุ บริษัทประกันเห็นว่าเราทำตัวไม่มีความเสี่ยงอะไร บริษัทก็เลยคิดเบี้ยประกันต่ำๆกับเรา ซึ่งหลังจากเราทำประกันอุบัติเหตุไปเรียบร้อย แปลว่าบริษัทจะรับความเสี่ยงทุกอย่างแทนเราแล้ว เราก็เลยอาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมทำตัวเสี่ยงมากขึ้น ทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุนั้นสูงขึ้นกว่าที่เคยตกลงกันเอาไว้ก่อนหน้านี้น้าค้า
เรื่องของ Moral Hazard ก็ถูกพูดถึงในวิกฤติเศรษฐกิจ Subprime เมื่อปี 2008 เหมือนกันน้าค้า อย่างกรณีของการปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีเครดิตเลย (เราเรียกลูกค้ากลุ่มนี้ว่า Subprime) ซึ่งปกติสถาบันการเงินจะต้องเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้คนกลุ่มนี้มากๆ แต่ตอนนั้นก็เกิดการหละหลวมในการปล่อยสินเชื่อ เพราะว่าสถาบันการเงินสามารถนำสินเชื่อ Subprime ไปขายต่อให้นักลงทุนที่ต้องการเสี่ยงแทนได้ ทำให้สถาบันการเงิน 'ดูเหมือน' จะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่ออีกแล้ว ก็เลยทำให้พฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด จนกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในเวลาต่อมาค่า~
ในทางการเงินและเศรษฐศาสตร์นั้น ปัจจัยเรื่องของ Moral Hazard ก็เป็นสิ่งนึงที่เราอาจจะต้องนำมาพิจารณาด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะเวลาจะออกแบบ Model น้าค้า เพราะว่าพฤติกรรมของคนเป็นอะไรที่คาดเดาได้ยาก และบางที Model อาจจะตรวจจับไม่ได้ด้วยซิ ซึ่งหากเราลืมนึกถึง Moral Hazard ไปก็มีโอกาสที่ Model ของเราจะพยากรณ์ผิดพลาดจากเดิมได้น้าค้า
โฆษณา