25 ก.พ. 2020 เวลา 01:21 • ข่าว
4 การตีตรา(Stigma)ที่น่ากลัวกว่าโรค
เรื่องนี้ถูกเน้นย้ำในรายงานWHO
วันที่24 กพ. เพราะมีประเทศนอกจีนติดเชื้อมากขึ้น
พฤติกรรม stigma คือ
1.ประนาม labeling
2.กีดกันทางสังคม Social exclusion
3.เหมารวม Stereotyping
4.เลือกปฏิบัติ Discrimination
กรณีตัวอย่างจาก BBC ไทย
ภวัต ศิลวัตกุล
คนไทยตกเป็นเหยื่อการถูกเหยียดเชื้อชาติและตั้งป้อมรังเกียจ แต่ยิ่งไปกว่านั้นเขาถูกชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย ทั้งอยู่ในลอนดอนมา 11ปี
"ผมใส่หูฟังอยู่ แต่ก็ได้ยินเสียงตะโกนว่าโคโรนาไวรัส โคโรนาไวรัส รัว ๆ หลายครั้ง พอหันไปก็เห็นเด็กนักเรียนสองคนถ่ายวิดีโอผมอยู่ และตะโกนใส่ผม แล้วอยู่ ๆ หนึ่งในนั้นก็วิ่งมากระชากเอาเฮดโฟนไป แล้วยังหันมาล้อเลียนผมอีก"
"พอวิ่งไปเกือบร้อยเมตร เขาวิ่งข้ามถนนไป แล้วก็หันมาชกใส่ตรงสะพานจมูกของแว่นตา จนผมเลือดออกและจมูกหัก แว่นหลุดลงไปอยู่บนพื้น ผมตะโกนขอความช่วยเหลือแต่ไม่มีใครช่วย คนคงกลัว และไม่อยากยุ่ง เพราะสถานการณ์มันดูสับสน" ภวัตบอกบีบีซีไทย
กรณีตัวอย่าง
การพ่นสีร้านอาหารญี่ปุ่นในปารีส
WHOได้ย้ำว่าผลร้ายของการตีตรา (Stigma)จะยิ่งซ้ำเติมให้ทุกอย่างเลวร้ายลง คือ
1.กดดันให้ผู้ป่วยซ่อนอาการ
2.กดดันให้ผู้ป่วยไม่รับการรักษา
3.ทำให้คนยิ่งไม่ร่วมมือป้องกันโรค
สิ่งที่เราช่วยกันได้
1.ร่วมมือกับ influencer
เผยแพร่ข้อมูลจริง
2.เผยแพร่เรื่องราว
ที่ผู้คนช่วยเหลือกัน
3.ตรวจสอบการรายงานของสื่อ
4.สร้างพลังบวก
ทีมไทยสู้ไวรัส❤️
1.ติดตามข้อมูล
2.ใส่หน้ากากในที่แออัด
3.ล้างมือให้ถูกวิธี
4.ใช้ช้อนกลาง
5.ไม่ตีตราผู้ป่วย
6.ถ้าป่วยกักตัว รักษา
ขอให้โรคหยุดที่เรา💪❤️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา