28 ก.พ. 2020 เวลา 07:56 • ข่าว
นักวิจัยเผยข้อมูล "ไวรัสโคโรนาแมว" ยืนยันมีจริง แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับไวรัสอู่ฮั่น ไม่ติดสู่คน เผยปัจจัยเสี่ยง ทำให้ติดเชื้อ รับยังไม่มียารักษา ทำได้แค่ประคองอาการ
จากกรณีสำนักข่าว เดลีเมล์ รายงานว่า จากกระแสไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัสอู่ฮั่น ทำให้ทางการจีน สั่งให้ประชาชนทิ้งสัตว์เลี้ยงในบ้าน อ้างว่าอาจเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า ไม่เคยมีหลักฐานว่าไวรัสโคโรนา จะติดต่อผ่านแมวหรือสุนัขได้
นักวิจัยเผยข้อมูล "ไวรัสโคโรนาแมว" ยืนยันมีจริง แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับไวรัสอู่ฮั่น ไม่ติดสู่คน เผยปัจจัยเสี่ยง ทำให้ติดเชื้อ รับยังไม่มียารักษา ทำได้แค่ประคองอาการ
จากกรณีสำนักข่าว เดลีเมล์ รายงานว่า จากกระแสไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัสอู่ฮั่น ทำให้ทางการจีน สั่งให้ประชาชนทิ้งสัตว์เลี้ยงในบ้าน อ้างว่าอาจเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า ไม่เคยมีหลักฐานว่าไวรัสโคโรนา จะติดต่อผ่านแมวหรือสุนัขได้
“องอาจ” ลุยย่านวังหลัง แจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชนป้องกันไวรัสโคโรนา
“อนุทิน” ประชุมทีมสอบสวนโรค รับมือและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา
"ยิ่งลักษณ์" อ้อน อดเป็นห่วงคนไทยไม่ได้ เจอทั้ง "PM 2.5-ไวรัสโคโรนา"
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.สพ.ญ.ดร.ศิรินทร์ ธีระวัฒนศิริกุล นักวิจัยจาก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยันข้อมูลว่า ไวรัสโคโรนา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคในแมวได้ แต่เป็นคนละสายพันธุ์กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสอู่ฮั่น (nCoV-2019)
ทั้งนี้ ทางการแพทย์ ตรวจพบไวรัสโคโรนาในสัตว์มานานแล้ว ซึ่งไวรัสโคโรนาในสัตว์นั้น เป็นไวรัสที่จำเพาะเจาะจงในแต่ละสายพันธุ์ จะไม่แพร่เชื้อข้ามสายพันธุ์สัตว์ ซึ่งในสุนัข จะมีไวรัสโคโรนาเฉพาะสายพันธุ์ คือ Canine coronavirus ส่วนในแมวไวรัสโคโรนาเฉพาะสายพันธุ์ คือ Feline coronavirus (FCoV) ดังนั้นเมื่อติดเชื้อจึงจะแสดงอาการต่างกัน
สำหรับไวรัสโคโรนาในแมว เป็นไวรัสที่สามารถพบได้ในลำไส้ของแมว โดยมักจะพบการแพร่ของเชื้อไวรัสนี้ได้ ในการเลี้ยงแมวร่วมกันหลายตัว และใช้กระบะทรายขับถ่ายร่วมกัน เนื่องจากมีการแพร่เชื้อผ่านการกินอาหารหรือน้ำ ที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อ ไวรัสตัวนี้จะก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารในแมว โดยแมวอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลย หรือมีอาการลำไส้อักเสบและท้องเสียไม่รุนแรง ไปจนถึงพัฒนาเป็นโรค “เยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว” (FIP) ที่แมวจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร หายใจผิดปกติ ไปจนถึงมีอาการที่รุนแรงขึ้นคือ พบของเหลวขังตามช่องอกหรือช่องท้อง และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หาย หรือวัคซีนที่ป้องกันไวรัสตัวนี้ให้ได้ผลจริงๆ การรักษาปัจจุบันจึงเป็นแบบประคับประคองอาการเท่านั้น ส่วนโอกาสการแพร่จากแมวสู่คน ปัจจุบันยังไม่มีรายงานใดว่า มีการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาในแมวมาสู่คน ทั้งจากการคลุกคลีกับแมว หรือการกินแมว แต่คำแนะนำคือ ไม่ควรกินสัตว์ที่ไม่ได้มาจากปศุสัตว์ เพื่อการบริโภค ให้กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ใช้ช้อนกลางจะดีที่สุด
ทั้งนี้ในช่วง ปี 2560 – 2562 ที่ผ่านมา ตนและทีมได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การตรวจคัดกรองโมเลกุลขนาดเล็กที่ยับยั้งโปรติเอสหลักของไวรัสโคโรนาในแมวโดยใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อศึกษายา หรือสารที่มีโมเลกุลเล็กที่สามารถต้านไวรัสโคโรนาในแมว ชนิดที่ก่อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว ที่มีความรุนแรงมากในแมวอายุน้อย หรือแมวที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ และมีอัตราการตายสูง
โดยผลงานวิจัย พบสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ที่ต้านการติดเชื้อของไวรัส และต้านการทำงานโปรตีนของไวรัสโคโรนา ที่ชื่อ 3C - like protease ได้โดยตรง จำนวน 3 สาร ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาต่อเป็นยารักษาโรคในกลุ่มไวรัสโคโรนาในแมว และโรคไวรัสโคโรนาอื่นๆ ต่อไป
โฆษณา