1 มี.ค. 2020 เวลา 11:35 • ข่าว
ด่วน!!! จีนพบ...ผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการดีขึ้นอาจยังเป็นพาหะของโรคได้
1
จีนพบ...ผู้ป่วย COVID-19 ที่อาการดีขึ้นอาจยังเป็นพาหะของโรคได้ : pixabay
สถานการณ์ COVID-19 ในปัจุจุบันเริ่มขยายวงกว้างไปเกินกว่าที่เราคิดไว้
หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ.......
เริ่มมาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศฝั่งยุโรป จนถึงตอนนี้เริ่มมีผู้ติดเชื้อรายแรกๆในแถบแอฟริกา ที่ซึ่งการจัดการด้านสาธารณสุขยังไม่พร้อมรับมือ
และล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา......พบผู้เสียชีวิตรายแรกในไทยแล้วครับ
จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตและผู้ที่หายป่วยจาก COVID-19 (01/03/2020) : Johns Hopkins
แต่ความกังวลยังไม่หมดเท่านั้น...เนื่องจากล่าสุดมีการพบว่าผู้ป่วยที่มีประวัติป่วยด้วย COVID-19 จำนวน 4 คน ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลจงหนานมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ประเทศจีน ในช่วง 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีการตรวจพบเชื้อไวรัสซ้ำกลับมาให้ผลบวก ทั้งๆที่แพทย์ทำการรักษาจนอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ระบบหายใจปกติ และให้กลับบ้านได้เนื่องด้วยผลตรวจเชื้อไวรัสเป็นลบติดต่อกันอย่างน้อย 2 วัน เรื่องนี้มีที่มาที่ไปและน่าสนใจยังไง
ผมจะเล่าให้ฟังครับ....
1. ผู้ป่วยทั้ง 4 คนล้วนแต่เป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ทำงานโดยตรงกับ
การดูแลผู้ป่วยที่ติด COVID-19
2. เมื่อมีอาการป่วย ผล CT scan ปอดแสดงให้เห็นว่าน่าจะมีการอักเสบภาย
ในปอดเกิดขึ้น และนอกจากนี้ผลตรวจเชื้อไวรัสทุกรายด้วยวิธี PCR จาก
เทคนิคการใช้สำลีป้ายที่คอ (throat swab) ให้ผลบวกยืนยันการติดเชื้อ
3. ทุกรายได้รับยาต้านไวรัส "โอเซลทามิเวียร์" (Oseltamivir) 75 mg
รับประทานทุก 12 ชั่วโมง ที่ซึ่งแต่เดิมได้ผลดีและถูกใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ เช่น สายพันธุ์ H1N1
4. 12-32 วัน คือระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มจะมีอาการจนรักษาหาย อาการ ของโรคโดยรวมดูดีขึ้น และตรวจไม่พบเชื้อติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง
5. หลังจากผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ยังถูกติดตามสอบถามการกักกันและดูแลตัว เองเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นได้รับการตรวจเชื้อไวรัสอีกครั้ง
เป็นที่น่าแปลกใจว่า.........
> ทุกรายมีผลเชื้อเป็นบวก ผลตรวจนั้นได้รับการยืนยันด้วยการตรวจซ้ำถึง 3 ครั้ง
> จากการวินิจฉัยของแพทย์ ทุกรายไม่มีอาการแสดงถึงการเจ็บป่วย
> ผลการ CT scan พบว่าปอดไม่ได้แตกต่างหรือดูแย่ลงกว่าเดิม
> ทั้งๆที่ไม่พบว่ามีประวัติการสัมผัสกับผู้ติดเชื้ออื่นๆเพิ่มเติม หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการป่วย
SARS-CoV-2 : CDC
ผู้ป่วยมีเชื้อ แสดงว่ายังเป็นพาหะที่แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆต่อไปได้ อืมม......
แค่คิดก็น่ากลัวแล้วใช่มั้ยครับ....เพราะคนที่คิดว่าหายแล้ว อาจไม่ใช่อย่างนั้น ท้ายที่สุดจำนวนผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงไปแค่ไหน เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปครับ.....
แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนกลุ่มผู้ป่วยในการติดตามนี้มีจำนวนไม่มากและมีความเฉพาะกลุ่มมากๆ คือเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่มีป่วยไม่รุนแรง
มากทำให้อาจยังสรุปอะไรไม่ได้......
การระมัดระวังและป้องกันอย่างเต็มที่ไว้ก่อนเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญครับ
ยิ่งเป็นโรคที่เราไม่รู้จักดีแล้ว...ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
สิ่งที่เรารู้เมื่อวานกับความจริงที่เราพบวันนี้อาจจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง...
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
อาจมีความจำเป็นในการทบทวนเกณฑ์ในการให้ผู้ป่วยกลับบ้าน หรือการกักกันตัวเอง เนื่องด้วย
1. ผลตรวจไวรัสด้วยวิธี PCR จากการทำ throat swab อาจทำให้เกิด
ผลลบลวงได้ ( False-negative) จากข้อมูลที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ หัวหน้าศูนย์
วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่บอกว่า.....
การทำ BAL (Bronchoalveolar lavage) ที่จะใช้น้ำเกลือฉีดลงไปในทาง
เดินหายใจส่วนล่างแล้วดูดกลับมาในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ได้ของเหลวจาก
ปอดส่วนล่างที่จะมีเซลล์และสารต่างๆนำมาตรวจ อาจแม่นยำมากกว่าเนื่อง
จากเป็นวิธีการเก็บตัวอย่างที่เหมาะกับเชื้อไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 เนื่อง
จากไวรัสดังกล่าวมักมีการเข้าไปถึงเนื้อปอดส่วนล่าง
ผู้ป่วย COVID-19 เพียง 43.8% เท่านั้นที่มีไข้ก่อนเข้ารับการรักษา : pixabay
2. แรกเริ่มผู้ป่วย COVID-19 ไม่ได้มีไข้ทุกราย เพราะจากข้อมูลล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับโลก (New England Journal of Medicine)
พบว่ามีเพียง 43.8% เท่านั้นที่มีไข้ก่อนเข้ารับการรักษา
การคัดกรองด้วยวิธีการวัดไข้....อาจไม่เพียงพออีกต่อไปครับ
3. การกักกันตัวเองในผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงถือว่าสำคัญมากๆ ถึงแม้ว่ายังไม่มีอาการชัดเจน ระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างน้อย 14 วัน
ฝากให้กำลังใจและกดติดตามด้วยครับ
หากมีเรื่องราวน่าสนใจด้านสุขภาพ จะหาโอกาสมาเล่าสู่กันฟังอีกครับผม
References :
โฆษณา