28 ก.พ. 2020 เวลา 17:56 • การศึกษา
เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้ถูกลืมแห่งล้านนา
บทความนี้เป็นโพสที่2ของผมเกี่ยวกับอาณาจักรล้านนานะครับ อันที่จริงจะเรียบเรียงชีวประวัติมหาราช 2พระองค์ของราชวงศ์มังรายแห่งล้านนาก่อนแต่ยังเรียบเรียงไม่เสร็จ
วันนี้จึงจะขอเล่าเรื่องกษัตริย์ที่ถูกลืมวีรกรรมอันกล้าหาญแห่งล้านนามาให้ได้อ่านกันก่อนนะครับ
ในช่วงสิ้นสุดราชวงศ์มังราย ล้านนาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า(พ.ศ. 2121 - พ.ศ. 2317)เกือบ200ปี ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครอง ได้ส่งกษัตริย์มาครองถึง12พระองค์ ชาวล้านนาได้ถูกพม่าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มาตลอด หัวเมืองเล็กเมืองน้อยก็ต้องพลอยเดือดร้อนกันทั่วแผ่นดินล้านนา อันที่จริงก็เป็นเรื่องปกติของการเมืองการสงครามในสมัยนั้น ประเทศที่มีผู้นำเข็มแข็งย่อมยึดอำนาจจากประเทศที่ผู้นำอ่อนแอ
แต่ทว่าในช่วงเวลาที่พม่าเข้ามาปกครองล้านนานี้เอง ในช่วงเวลาหนึ่งได้มีนักรบหนุ่มแห่งเมืองยวมใต้(อ.แม่สะเรียงในปัจจุบัน)ได้กอบกู้อิสระภาพให้แก่ชาวล้านนา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั่นๆ ท่านผู้นั้นคือ "เทพสิงห์" นักรบผู้ไร้วงศ์สกุล แต่นับได้ว่าเป็นกษัตริย์พระองค์ที่27แห่งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2270 มาดูประวัติการกอบกู้ชาติของท่านกันครับ
1
เทพสิงห์ กษัตริย์ลำดับที่27แห่งเมืองเชียงใหม่
"เทพสิงห์" เป็นชื่อของนักรบชาวเมืองยวมใต้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าคนผู้นี้เกิดเมื่อ ใด จนย่างเข้าสู่ วัยหนุ่ม
เมื่อครั้งที่เชียงใหม่ได้ถูกกองทัพพม่าโดยการ นำของมหาอำนาจแห่งอังวะยกทัพเข้ามาตีเอาเมือง เชียงใหม่ไว้ได้ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหงเดือดร้อนกันทั่วไป โรคภัยไข้เจ็บคุกคาม และที่ สำคัญพม่าได้นำศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ ในเมืองเชียงใหม่และเมืองใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น เมืองเชียงแสน เชียงราย ลำปาง ลำพูน มีแต่เสาหงส์และ รูปสิงห์เต็มไปหมด ไม่เหลือเอกลักษณ์ของความ เป็นล้านนาไว้เลย ทำให้คนหนุ่มรุ่นใหม่สมัยนั้นสมคบคิดกันที่จะแย่งชิงเมืองเชียงใหม่ คืนจากพม่า จนปี พ.ศ. 2270" เทพสิงห์"นักรบหนุ่มจากเมืองยวมใต้ได้รวบรวม ผู้คนไม่กี่ร้อยคนตีเอาเมืองเชียงใหม่คืน จากพม่าได้ฆ่าล้างผลาญพม่าจนไม่เหลือ ที่ เหลืออยู่บ้างก็หนีไปอยู่ที่เชียงแสน " เทพสิงห์"เข้ารักษาการเมืองเชียงใหม่โดยมีขุน นางผู้ใหญ่ที่เป็นคนไทยให้ปกครองดู แลด้วย
ต่อมา "พญาวังหางตื๋น"ชาวเมืองเชียงใหม่ ได้วางแผนกับพวกพม่าและหัวเมืองอื่นๆรวบ รวมพลได้ 400 คน เข้าตีเอาเมืองเชียงใหม่ใน ตอนกลางคืนจาก "เทพสิงห์"ได้แล้ว เดิน ทางไปรายงานและยกเมืองคืนให้กับ " พระเจ้าอังวะ" เจ้าเมืองพม่า
ฝ่าย "เทพสิงห์"ยังไม่ละความพยายามได้ เข้าแย่งชิงรบพุ่งเป็นประจำจนทางพม่าต้อง ยกทัพใหญ่เข้ามาปราบปราม "เทพสิงห์" เห็นว่าเหลือกำลังที่จะชิงเมืองกลับคืนจึง ได้ไปหารือกับเจ้านครน่าน "เจ้าธรรมปัญ โญ" เห็นเป็นคนไทยด้วยกันและเห็นความ ตั้งใจมุ่งมั่นแรงกล้าจึงยกกำลังร่วมสม ทบมาตีเชียงใหม่แต่ความลับรั่วถึงหู "เจ้า องค์ดำ" คนต่างชาติที่ครองเมืองเชียงใหม่จึง ยกทัพออกไปดักซุ่มตีที่เวียงป่า ซาง นครลำพูนทั้ง "เทพสิงห์" และกำลังของ นครน่านต่างพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ เนื่องจากมี กำลังน้อยกว่า(ในจารึกเจ้านครน่านได้สิ้นพระชนในสงครามครั้งนี้ด้วย)และตั้งแต่นั้นมานาม "เทพ สิงห์" นักรบหนุ่มจากเมืองยวมใต้ก็หายสาบสูญไป ด้วย
ขุนนางพม่าครองเมืองเชียงใหม่
การครองราชของเทพสิงห์ได้ครองราชเพียงแค่1เดือนเท่านั้น เนื่องจากการทรยศของ"พญาวังหางตื๋น"ที่มีใจแปรไปฝักใฝ่ฝั่งพม่า เทพสิงห์ทรงเป็นนักรบที่มีความสามารถ แต่ไม่มีความสามารถในด้านการเมืองการปกครอง การกู้ชาติจึงเป็นความสำเร็จในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ถือว่าวีรกรรมความกล้าหาญของท่าน ก็ควรแก่การยกย่องและฝากชื่อไว้ในแผ่นดินสืบลูกสืบหลาน
จากวีรกรรมของเทพสิงห์ พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พระราชทานนามเทพสิงห์ให้เป็นชื่อค่ายทหารว่า "ค่ายเทพสิงห์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยกองพันทหารราบที่4 ในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ค่ายเทพสิงห์
ฝากติดตาม กันต่อไปนะครับ^_^
โฆษณา