1 มี.ค. 2020 เวลา 06:58 • ความคิดเห็น
หลายวันนี้คงจะมีข่าวหนึ่งที่มาแรง ใช่เล่น นั่นคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่อง IO
วันนี้ผมจะมาทำความรู้จักกันว่า IO ที่ว่ามันคืออะไรกันครับ
IO หรือ Information Operation
แปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวก็คือ การปฎิบัติการทางข้อมูล
เป็นการป้อนข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้อีกฝั่งคล้อยตาม และเชื่อตามข้อมูลที่เราป้อนให้
(คำจำกัดความของ IO มันค่อนข้างกว้างมาก ๆ แต่ขอจำกัดด้วยประโยคข้างต้นและกันครับ)
โดยการป้อนข้อมูลต่าง ๆ นี้ ก็ มีทั้งให้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อให้มองว่ามันดี หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อยุแยง ยุยงอีกฝ่าย ก็ได้เช่นกัน มันคือการ ชักจูงโดยข้อมูลนั่นเอง
ถามว่า IO มันพึ่งเกิดขึ้นหรอ??
คำตอบคือไม่ใช่ครับ มันมีมานานมากแล้ว ไม่ว่าจะยุคไหน ๆ ก็มี IO ด้วยกันทั้งนั้น
ในยุค 3 ก๊ก ยกตัวอย่างตอนที่ จิวยี่ หลอกเจียวก้านที่โจโฉส่งมาเกลี้ยกล่อม ให้ร่วมมือ
ว่า ชัวมอกับ เตียวอุ๋น เป็นกบฎ คอยช่วยเหลือจิวยี่อยู่ โดยผ่านจดหมายที่ เจียวก้านพบจากเสื้อของจิวยี่ในห้องนอน
สุดท้ายโจโฉ เชื่อ และสั่งประหาร ทั้ง ชัวมอ และเตียวอุ๋น
ในช่วงสงครามโลกเองก็เช่นกัน
ในตอนที่ ญี่ปุ่น พยายามที่จะถล่ม อเมริกา(ในหนัง Midway) แต่พยายามใหข้อมูลว่าไปถล่มที่ เพิร์ลฮาร์เบอร์ แต่แท้จริงแล้วจะไปที่ Midway และก็เป็น ทางอเมริกา ที่ดันไปเจอการสื่อสารลับ ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้ว กำลังโดนหลอกอยู่ จนสามารถเอาชนะที่ Midway ได้ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ของมหาอำนาจอย่างอเมริกา
IO นั้นมีมานานมากแล้ว ที่นิยมนำมาใช้กันคือ ในสงคราม ซึ่งเป็นการบิดเบือนข้อมูล หลอกกันไปหลอกกันมา เพื่อ เอาชนะอีกฝ่าย
และยุคนี้คือ ยุคที่ IO ถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด!!
ในการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีของ สหรัฐอเมริกา ครั้งที่แล้ว มี บริษัทหนึ่ง ชื่อว่า cambridge analytica ออกมายอมรับ(ในภายหลัง) ว่าเขาทำ IO ให้กับคนสหรัฐจำนวนหนึ่ง เพื่อที่จะให้คนเหล่านั้นเลือก โดนัล ทรัมป์
ซึ่งคดีนี้ก็เป็นคดีดังระดับโลกเช่นกัน!!
ยุคนี้คือยุคของ Data(ข้อมูล) คนทุกคนถูก ป้อนข้อมูลจากสื่อ Social media ต่าง ๆ อยู่ทุก ๆ วัน วันละมหาศาล ซึ่ง แน่นอนว่า Feed ต่าง ๆ ที่คุณเห็น ล้วนมาจาก AI คัดสรรมาให้คุณ
แต่ที่สำคัญไปมากกว่านั้น คือ สิ่งที่คุณเห็น มันเป็นสิ่งที่ AI มองแล้วว่าคุณน่าจะชอบมัน
ลองยกตัวอย่างง่าย ๆ แบบนี้และกัน มีร้านอาหารหนึ่ง ที่คุณเอง ไม่เคยไปทานเลยและไม่รู้จักเลย
วันหนึ่ง เด้งมาที่หน้า feed คุณ และคุณ กดเข้าไปดู คราวนี้เห็น Review และดูน่ากินเอามาก ๆ แต่ก็ยังไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่
พอมาวันรุ่งขึ้น หน้า Feed คุณดันมี ร้านนี้เด้งขึ้นมาอีกครั้ง แต่เป็นคนละคนมารีวิว ปรากฎว่าดีอีก
ความอยากกินของคุณ และความเชื่อที่ว่าร้านนี้มันน่าจะอร่อยจะมากขึ้น
และถ้าเป็นแบบนี้ ทุกวัน ๆ มีคนรีวิวหน้าใหม่ แต่ร้านเดิม มาบอก ว่าอร่อย ผมเชื่อเลยว่า คุณต้องคิดและหละว่ามันอร่อยจริง ๆ
IO คืออะไรแบบนี้แหละครับ การป้อนข้อมูลบางอย่าง แบบทีละนิด ๆ จนในที่สุดก็สามารถทำให้คนเชื่อข้อมูลนั้น ได้จริง ๆ
ความน่ากลัวของ IO คือ การที่ใช้ วิธีนี้ แต่นำไปสู่ ความขัดแย้ง หรือให้ข้อมูลข่าวสารแบบปลอม ๆ
ลองจินตนาการเล่น ๆ แล้วกันครับว่า ถ้ามีคนให้ข้อมูลไม่จริง และบิดเบือนเยอะ ๆ แบบนี้บน Social มันจะน่ากลัวขนาดไหน
มาถึงตรงนี้ ผมว่า คงจะรุ้จักและพอจะเข้าใจกันแล้วว่า IO มันคืออะไร
มีสิ่งที่อยากจะแนะนำต่อก็คือ การรับมือ กับการโดน IO
1. คุณต้องไม่เชื่อข้อมูลนั้นโดยทันที ถึงแม้จะเป็น อะไรที่คุณชอบก็ตาม ต้องคิดไว้ด้วยว่า มันจริงรึเปล่า ชัวร์แค่ไหน?
2. ฟังข้อมูลทั้ง 2 ด้าน บางทีการพูดของคน เพียงคนเดียว หรือ ฝ่ายเพียงฝ่ายเดียว ก็จะเป็นเพียงข้อมูลด้านเดียว เราจะต้องรับข้อมูล มากกว่า 1 ด้าน เพื่อพิจารณา และตัดสินใจ
3. ดูแหล่งที่มาของข้อมูล ข้อนี้ค่อนข้างสำคัญ เวลาแชร์ข่าวของแต่ละสำนัก ต้องคอยดูด้วยว่า มาจากเวปไหน เพราะบางที เวปไซต์ที่แชร์ ก็ไม่ได้น่าเชื่อถือ ตั้งแต่ต้นแล้ว ข่าวปลอมที่ระบาด ส่วนมากมาจากการที่ไม่มีต้นทางที่แหละครับ Copy และส่งต่อ ๆ ไม่ดู จนสุดท้าย ก็ กลายเป็น Fake news ระบาด
4. เช็คก่อนแชร์ ชัวร์ก่อนเชื่อ
สำหรับข้อนี้คือ เช็คให้ครบ 3 ข้อบน และก็ จะเชื่ออะไรก็ให้มั่นใจก่อนว่า สิ่งที่เห็น ที่ อ่าน มันเป็นเรื่องจริงครับ
4 ข้อนี้ถ้าทำได้ ผมว่าคุณคงไม่ตกไปเป็นเหยื่อของการโดน IO ง่าย ๆ อย่างแน่นอน
ด้วยความปรารถนาดี ไม่อยากให้ใครตกไปเป็นเหยื่อของ IO นะครับ 😎😎
อ่านและฟัง อ้างอิงก่อนนำมาเขียนครับ
โฆษณา