2 มี.ค. 2020 เวลา 09:02
จำได้ไหมครับว่าที่ผมเคยลงโพสต์ว่าได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งก็คือ Dr. Lesley Onyon ที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เดินทางมาเยือนไทยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากนั้นพอดีว่าผมมีภารกิจมากมายที่ต้องทำเดี๋ยวไปงานต่างจังหวัด ไปงานที่ต่างประเทศ จนกว่าจะได้มาแปลก็ล่วงเลยมาหลายวัน สุดท้ายบทสัมภาษณ์ของผมแปลเสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญอ่านมุมมองของ WHO เกี่ยวกับปัญหา PM2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งมันจะมีทางแก้ไขได้ไหม หรือก็ปล่อยเลยตามเลยแบบนี้...
• ทำไมหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ไม่สามารถอ้างอิงเกณฑ์วัดระดับค่าคุณภาพอากาศตามที่ WHO แนะนำได้
“องค์การอนามัยโลก กำหนดระดับค่าคุณภาพอากาศที่แนะนำ (Air Quality Guideline) โดยพิจารณาปัจจัยด้านผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็อาจจะมีข้อจำกัด หรือปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะไปถึงระดับค่าคุณภาพอากาศตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเช่น ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรมอาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดในปล่องระบายมลพิษอากาศ”
“ซึ่งการกำหนดค่าดังกล่าวไม่ใช่แค่การกำหนดตัวเลขบนแผ่นกระดาษ แต่ประเทศต้องมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม นั่นทำให้ประเทศไม่สามารถกำหนดค่ามาตรฐานให้เท่ากับระดับค่าคุณภาพอากาศตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำได้ในชั่วเวลาเพียงข้ามคืน ประเทศต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการระดับหนึ่งเพื่อให้มีคุณภาพอากาศในบรรยากาศอยู่ในเกณฑ์ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดได้ในที่สุด ดิฉันคิดว่ารัฐบาลตระหนักถึงสถานการณ์และความจำเป็นมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน”
• ในเมื่อระดับ PM2.5 ในประเทศไทยที่เป็นค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ ยังถือว่าสูงอยู่สำหรับ WHO คุณมีข้อเสนอแนะอย่างไร เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเกณฑ์ตามที่ WHO ต้องการ
“การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตัวเอง เป็นการปฏิบัติตัวของประชาชนที่ดิฉันมองเห็นได้ในประเทศไทย แต่นั้นอาจะไม่ใช่สิ่งที่องค์การอนามัยอยากจะเห็น วิธีที่ดีที่สุดคือการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ ลดการระบายมลพิษอากาศก่อนที่จะปนเปื้อนในบรรยากาศ และการใส่หน้ากากป้องกันตัวอาจจะไม่ใช่วิธีการป้องกันตัวที่มีประสิทธิภาพนักดิฉันค่อนข้างแน่ใจว่ามันค่อนข้างยากที่คนทั่วไปจะสวมใส่หน้ากากได้อย่างถูกวิธี แม้ว่าดิฉันจะเห็นประชาชนมากมายในกรุงเทพใส่หน้ากากเพื่อป้องกันตัวเอง แต่นั้นไม่ใช่สิ่งที่คุณควรจะพึ่งพาอาศัยได้ รัฐบาลควรเน้นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และนั้นเป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกจะแนะนำ ดิฉันเข้าใจว่ารัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นในการลดการระบายPM2.5 และมีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง”
2
“ซึ่งองค์การอนามัยโลกเองก็ตระหนักว่า ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะกำหนดระดับค่าคุณภาพอากาศให้อยู่ในระดับต่ำเท่าเกณฑ์ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำได้ในทันที ดังนั้น ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก เราจึงกำหนดค่าเป้าหมายเป็น 3 ระดับ ซึ่งปัจจุบันค่ามาตรฐานPM2.5 ของประเทศไทยเองก็อยู่ที่ระดับเป้าหมายที่ 2 ขององค์การอนามัยโลก ดังนั้น ประเทศไทยได้เริ่มมีการดำเนินงานแล้ว ซึ่งการที่ปัจจุบันประเทศไทยกำหนดเป้าหมายค่า PM2.5 เฉลี่ยรายปีเท่ากับ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เราจึงหวังว่าระดับค่า PM2.5 ของประเทศจะสามารถไปถึงค่าเป้าหมายที่ 3 ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดและในที่สุดจะใกล้เคียงกับค่าแนะนำตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งจากที่ดิฉันทราบมาแผนการทำงานดังกล่าวมีความก้าวหน้าดีและเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของประเทศที่จะไปถึงค่าเป้าหมายที่กำหนด และดิฉันเห็นว่านั่นเป็นสิ่งที่ดี”
1
•ปัจจัยสำคัญก็คือ ประชาชนคือผู้ปล่อยมลพิษทางอากาศออกมา และไม่ยอมรับว่าตัวเองคือตัวปัญหานี่สิ
“แหล่งกำเนิดหลักที่เกี่ยวข้องคือการเผาไหม้ การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ยานพาหนะ จราจรขนส่งทางบก ทางน้ำ การเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า และเพื่อกระบวนการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีการเผาในที่โล่ง การเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การเผาขยะซึ่งเราจะเห็นในบางประเทศที่ไม่มีการคัดแยกขยะและหลายประเทศในภูมิภาคนี้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อเป็นพลังงานในภาคครัวเรือนทั้งการหุงต้ม แสงสว่างและการให้พลังงานความร้อนในครัวเรือนในบางช่วงของแต่ละปี แหล่งกำเนิดฝุ่นทั้งหมดที่กล่าวมา รวมๆกันแล้วทำให้เกิดสถานการณ์มลพิษอากาศนั้น”
“กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา คือการควบคุมปัญหาที่แหล่งกำเนิดเป็นประการแรก คุณจะไม่สามารถมีอากาศสะอาดได้ถ้ามีการปนเปื้อนของ PM2.5 ในบรรยากาศ เราต้องหยุดไม่ให้มี PM2.5 ปนเปื้อนในบรรยากาศก่อนสิ่งอื่น ดังนั้น ทางออกเราไม่สามารถจะใช้ตัวกรองขนาดใหญ่เพื่อทำความสะอาดอากาศได้ แรก คือ พลังงานสะอาดควรเป็นสิ่งแรกๆ ทั้งในครัวเรือน อุตสาหกรรม และแหล่งอื่นๆ ที่เราต้องใช้พลังงาน ต้องเป็นพลังงานสะอาด หยุดการเผาในที่โล่ง ทั้งการเผาขยะ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้มองขยะเป็นทรัพยากรไม่ใช่ขยะที่ต้องเผาทิ้ง แต่ให้พยายามมีการคัดแยกขยะที่ดีขึ้น หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต้องระมัดระวังและต้องทำให้การทำให้อากาศสะอาดเป็นเรื่องของทุกคน”
• ความจริงจังของนโยบายแก้ปัญหา PM2.5 ในต่างประเทศ มีความจริงจังอย่างไร และประเทศไหนมีนโยบายที่น่าสนใจและทำได้จริง
“ดิฉันคิดว่ามีหลายประเทศในภูมิภาคที่มีตัวอย่างแนวปฏิบัติเรื่องนี้ เช่น สิงคโปร์ซึ่งมีความพยามสูงมากในการทำให้อากาศสะอาด การที่ผู้นำระดับสูงกำหนดแผนการที่ชัดเจนที่จะทำให้สิงคโปร์เป็นเมืองสีเขียวและสะอาด (Green and Clean) มีส่วนช่วยในเรื่องนี้อย่างมากและการพัฒนาของจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งการใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดประกอบกับการเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้ประกอบการองค์การอนามัยโลกพยายามอย่างมากที่จะให้แต่ประเทศต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลการดำเนินงาน แต่ก็ไม่จำเป็นว่าวิธีแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จของประเทศหนึ่งๆ จะสามารถนำไปใช้แล้วแก้ปัญหาในประเทศของท่านได้ แต่ก็จะสามารถทำให้เกิดแนวคิดและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ ปัจจุบันเรามีเครือข่ายของเมือง เรียกว่า Breathe lifeซึ่งเป็นความร่วมมือที่ประเทศ และเมืองต่างๆ สามารถเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนข้อมูลการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการทำงานในพื้นที่ที่แตกต่างกันทั่วโลกนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก”
• ในฐานะที่คุณเป็นที่ปรึกษาของ WHO ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับว่าเป็นพื้นที่ที่จอปัญหามลพิษทางอากาศหนักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อะไรคือความยาก ความท้าทายในการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคนี้
“ดิฉันคิดว่าการแก้ไขความเข้าใจผิดและการสร้างความตระหนักยังเป็นสิ่งจำเป็น ดิฉันหมายถึงเรายังต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ เช่น ยังมีประชาชนยังคิดว่าการเผาไม้ไม่เป็นปัญหา เพราะไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ ดังนั้น ยังมีความเข้าใจผิดที่เราต้องแก้ไข และสิ่งท้าทายลำดับถัดไปคือการประสานงานการทำงาน การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวง และหน่วยงานต่างๆที่รับผิดชอบ ซึ่งนั่นไม่เพียงแต่หน่วยงานภาครัฐในส่วนกลางเท่านั้น แต่รวมทั้งกรรมการท้องถิ่นและหน่วยงานระดับเมืองต่างๆ และสุดท้ายคือในระดับบุคคล”
“ดิฉันคิดว่าเทคโนโลยี และองค์ความรู้ จะต้องถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในแง่ของการแบ่งปันข้อมูลผลการตรวจวัดและแบ่งปันวิธีการนำข้อมูลผลการตรวจวัดไปใช้ร่วมกันและวิธีการประเมินผลประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย ดังนั้น เราอาจจะเปลี่ยนรูปแบบการสนทนาจากเดิมที่มองว่ามลพิษอากาศคือปัญหา ให้เปลี่ยนเป็นเราจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นเท่าไรเมื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้น เราพูดได้ว่ายังมีความท้าทายในการทำงานอีกหลายอย่างที่เราต้องพบเจอ”
โฆษณา