Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GreenVCi
•
ติดตาม
2 มี.ค. 2020 เวลา 05:49 • การศึกษา
ความเป็นมาของเหล็กที่ไม่เป็นสนิม มีจริงหรอ ? คืออะไร ? ทำไมไม่เป็นสนิม ?
โลหะที่ทนต่อสภาพการกัดกร่อน ถูกค้นพบครั้งแรกโดดยนักโลหะวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ ปิแอร์ เบอร์แทร์ (Pierre Berthier)
ในปีคริสต์ศักราช 1821 เขาพบว่าเมื่อโลหะผสมกับเข้าโครเมียมจะมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนจากกรดบางชนิด
และมีการใช้ในทางอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่ปี 1908 โดยบริษัท ครุปป์ไอออนเวิร์ค (Krupp Iron Works)
ของเยอรมนีได้นำเหล็กกล้าผสมโครเมียม (Chromium) และ นิกเกิล (Nickel) ใช้ผลิตเป็นตัวเรือเดินสมุทร
เหล็กหล้าไร้สนิม (Stainless Steel) หรือชื่อที่เราเรียกกันติดปากว่า สแตนเลส (Stainless)
ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียม (Chromium) ผสมอยู่เพราะโลหะที่ใช้ผสมนั้นไม่เกิดสนิม
ซึ่งเป็นชั้นผิวที่ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel)
ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่าย เหมือนกับโลหะเหล็กทั่วไป
ชื่อเรียกในต่างประเทศหลายๆประเทศยกตัวอย่างเช่น สหรัสอเมริกา United States
อาจมีการเรียกโลหะชนิดนี้ที่แตกต่างออกไปจากคำว่า เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) ซึ่งส่วนใหญ่มัก
จะเจอบ่อยในอุตสาหกรรมการบิน ที่นิยมเรียกโลหะชนิดนี้ว่า Corrosion Resistant Steel ซึ่งมีสาเหตุ
เมื่อไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็น โลหะผสมชนิดใด และคุณภาพใด
ประโยชน์ของการใช้งานของเหล็กหล้าไร้สนิม (Stainless Steel) นั้นมีการใช้หลายด้านมากมายไม่ว่าจะเป็น
ด้านสุขอนามัยเพราะสแตนเลส (Stainless Steel) ไม่ดูดซึมสารหริอรสขาติใดทั้งสิ้นจึง ไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อนหรือเชื้อโรคติดมากับแสตสเลส
ด้านสถาปัตยกรรม (Aesthetic appearance) เพราะความสวยงามที่ไม่เป็นสนิม ไม่ต้องทาสีทำให้เกิดมีผลงานที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์
ด้านอุตสาหกรรมและการขนส่ง (Industrial and Transportation) ช่วยป้องกันการแตกหักจากอุณหภูมิเย็นจัด และในอุณหภูมิสูง
ป้องกันการเกิดคราบออกไซด์และยังคงความแข็งแรง มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับมวล
ในท้องตลอดทั่วไปที่เราพบเห็นบ่อยมากที่สุด มักจะเป็นสนิมเกรด 18-8 ซึ่งเป็นการบอกถึง ธาตุที่เจือในเนื้อเหล็กคือ
โครเมียม (Chromium) และ นิกเกิล (Nickel) ประเภทนี้จัดเป็น เกรดตลาดทั่วไป (Commercial Grade)
คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย และมักใช้ในเครื่องใช้ทั่วไป
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหล็กกล้าไร้สนิม
เหล็กกล้าไร้สนิมแท้ใช้แม่เหล็กดูดไม่ติด ซึ่งเหตุผลที่แท้จริงแม่เหล็กจะดูดติดหรือไม่ติดขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กกล้าไร้สนิม
ตัวอย่างเครื่องใช้ Stainless สแตนเลส
ประเภทของเหล็กกล้าไร้สนิม
แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มคือ ออสเทนนิติค, เฟอริติค, ดูเพล็กซ์, มาร์เทนซิติก และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยวิธีการตกผลึก
กลุ่มออสเทนนิติก (Austenitic) หรือเหล็กกล้าไร้สนิมตระกูล 300 เป็นเกรดที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุดถึง 70%
มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กดูดไม่ติด (non – magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 16% คาร์บอนอย่างมากที่สุด 0.15% มีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8%
เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการทำการประกอบ (Fabrication)และเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เกรดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและนิยมเรียก 18/8 คือการที่มีส่วนผสมของโครเมียม 18% และนิกเกิล 8%
กลุ่มเฟอริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด (magnetic) มีธาตุคาร์บอนผสมปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักที่สำคัญอาจอยู่ระหว่าง 10.5%-27% และมีนิกเกิ้ลเป็นส่วนผสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย
กลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด (magnetic) มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และมีธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง มีโมลิบดีนัมเป็นส่วนผสมอยู่ประมาณ 0.2-1%
ไม่มีนิกเกิลเหล็กกล้าไร้สนิมตระกูลนี้สามารถปรับความแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching)และอบคืนตัว (Tempering)สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน และพบการใช้งานที่สำคัญในการผลิตเครื่องตัด, อุตสาหกรรมเครื่องบินและงานวิศวกรรมทั่วไป
กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก (Precipitation hardening)เกรดที่เป็นที่รู้จักในตระกูลนี้ คือ 17-4H ซึ่งมีส่วนผสมของโครเมียม 17% และนิกเกิล 4%
สามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยกลไกเพิ่มความแข็งจากการตกผลึก (Precipitation hardening mechanism) โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรงสูงมาก
มีค่าความเค้นพิสูจน์ (Proof stress) อยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,500 เมกาปาสคาล (MPa) ขึ้นอยู่กับชนิดและกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อน (Heat treatment)
กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex) มีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอริติค และออสเทนนิติค มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19-28% และโมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติค พบว่ามีการใช้งานมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์
ซึ่งนี่ก็คือความรู้เกี่ยวกับเหล็กกล้าไร้สนิม โดยสังเขปที่ผมนำมาฝากในวันนี้ ก็หวังว่าเพื่อนๆจะชอบในบทความสาระความรู้นี้
นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผลงานและบริการต่างได้ในทั้งช่องทาง
Blockdit, Facebook, Website
ฝากติดตามด้วยนะครับ
fb.com/vcichip
vcichip.com/order-online/
www.greenvci.co.th
www.ถุงพลาสติกกันสนิม.com
endupak.com
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย