Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องที่สงสัย
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2020 เวลา 04:49 • สุขภาพ
แสงสีฟ้า ทำไมถึง เป็นตัวทำลายสายตามนุษย์
https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/blue-light-harmful-to-eye
ผมว่าทุกคนที่อ่นบยทความอยู่ตอนนี้ คงต้องเป็น 1ในคนที่ใช้งาน
คอมพิวเตอร์ มื อถือ Tablet กันอย่างน้อยวันละ 1-3 ชมขึ้นไป
แล้วไอ้แสงสีฟ้า นี้ มันคืออะไร ทำอะไรกับสายตาของเรา
แสงสีฟ้าคือแสงที่เรามองเห็นอยู่ทุกวัน ถือเป็นหนึ่งในสามของแสงขาวจากแสง UV สามารถมองเห็นได้และมีพลังงานสูง (high-energy visible) หรืออธิบายได้ดังนี้
แสงทั้งหมดมี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง และแสงสีฟ้าหรือน้ำเงิน ซึ่งแต่ละสีมีความยาวคลื่นและพลังงานแตกต่างกัน
แสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm โดยแสงสีฟ้าอยู่ที่ช่วงประมาณ 380-480 nm นั่นเอง
แสงนั้นจริงๆมาจากทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะหลบยังไงแสงก็ยังสามารถที่จะสะท้อนมาหาเราได้อยู่ดี ซึ่งหลักๆ แล้วมาจาก
• ดวงอาทิตย์ มีปริมาณของแสงที่มีความเข้มมากที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ
• อุปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเฉพาะจากหลอด LED คือ
- หลอดไฟ LED ตามบ้านเรือน หรือ แม้แต่ไฟหน้ารถและท้ายรถ
- อุปกรณ์ ดิจิตอล เช่น นาฬิกา(Smart Watch)
- จอ TV จอคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค
- จอโทรศัพท์ แทบเล็ต
ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นสามารถปล่อยแสงสีฟ้าออกมาได้ทั้งหมด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือในร่ม เราก็ยังสามารถเจอแสงสีไฟได้ตลอดเวลา
สรุปกันง่าย นั้นก็คือ แสงสีฟ้านั้น มี อยู่ทุกที่ และทำลายสายตามนุษย์ เพราะเราใช้มันเป็นเวลานาน
ที่นี้เรามาดูอันตรายจากแสงอันนี้กันบ้าง
ภัยอันตรายจากแสงสีฟ้า
เนื่องจากดวงตาของเรานั้นไม่มีความสามารถที่จะกรองแสงสีฟ้าออกได้หมด ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องรับโทษของแสงสีฟ้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแสงสีฟ้านั้นสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเลยทีเดียว โดยผลกระทบหลักๆนั้นประกอบด้วย
ผลกระทบต่อวัฎจักรการตื่นหรือการนอน เมื่อเรารับแสงสีฟ้าเข้าไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ร่างกายจะเริ่มปรับวัฎจักรการนอน ส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ ตื่นลำบาก จนรู้สึกว่าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกระทบกับงานหรือชีวิตประจำวันได้
เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งบางชนิด การศึกษาหลายๆงานได้บ่งชี้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับแสงสีฟ้า เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก
เพิ่มโอกาสการเป็นโรคอื่นๆ นอกจากโอกาสในการเป็นมะเร็งจะสูงขึ้นแล้ว โอกาสในการเป็นโรคอื่นๆก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน การศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่แสงสีฟ้าจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
ภาวะซึมเศร้า สืบเนื่องมาจากวัฏจักรการตื่นนอนที่เปลี่ยนแปลงไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานนั้นสามารถก่อให้เกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าได้ไม่ยาก
เยื่อชั้นในดวงตาเสื่อม การได้รับแสงสีฟ้าติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆนั้นอาจส่งผลให้เยื่อชั้นในดวงตาเสื่อมซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ ในปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้มากขึ้น
ประสาทตาเสื่อมและภาวะเซลล์ตาย เมื่อสัมผัสแสงสีฟ้าแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน จะส่งผลให้เซลล์ดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้เกิดอาการผิดปกติของค่าสายตาอย่างภาวะสายตาสั้น/ยาว/เอียง ได้เร็วขึ้น เรียกได้ว่าดวงตาเกิดการชราได้เร็วกว่าปกติ และทำให้อายุขัยของเซลล์ดวงตาสั้นลงส่งผมให้เกิดภาวะเซลล์ตายได้เร็วขึ้น
แล้ววิธีลดแสงสีฟ้าหรือ ป้องกันละ จะต้องทำยังไง
แว่น กันแสง ตาแสงสีฟ้า
แว่นตากันแสงสีฟ้านั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับ มนุษยืหน้าคอมอย่างพวกเรา
ปัจจุบัน จะมีแว่นจำหน่าย หลากหลายรูปแบบ
แต่ถ้าใครที่มีแว่นอยู่แล้ว สามารถนำไปเปลี่ยนเลนส์ ที่เป็นตัดแสง รวมกับ แสงสีฟ้านี้ได้ ตามร้านแว่นตาทั่วไป เพราะตัวเลนส์ จพทำหน้าที่กันแสงนี้โดยเฉพาะ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากๆ
ปลูก "กระบองเพรช" เพราะ กระบองเพรช ช่วยดูดซับแสงที่ทำอันตรายต่อดวงตาจากคอมพิวเตอร์ได้
งานวิจัยต่างประเทศต้นไม้ประเภท *.ต้นกระบองเพชร หรือตะบองเพชร หรือแคดตัส(Cactus) สามารถนำมาตั้งหน้าคอมพิวเตอร์ ช่วยลดปัญหารังสีอันตรายที่แผ่ออกมาจากหน้าจอได้.
จากการศึกษาพบว่าสีเขียวบนต้นกระบองเพชรและหนามของกระบองเพชรนั้นสามารถดูดรังสี หรือแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา เพราะกระบองเพชรเป็นต้นไม้ที่เลี้ยงแสนง่าย และกินพลังงานแสงเป็นอาหารอยู่แล้ว
ทุกวันนี้มีกระบอกเพชรมากมายหลายสายพันธุ์ ต้นเล็กๆ น่ารัก ๆ ที่นิยมกันมีให้เลือกเยอะมากมาย ซึ่งคนที่ทำงานหน้าจอบ่อยๆ ควรหาไว้ประดับตกแต่งให้เข้ากับโต๊ะทำงานของคุณสักต้น เพื่อช่วยผ่อนคลายสายตา
ถนอมเค้าซักหน่อยจะได้อยู่กันไปนานๆ นะครับ
สวัสดีครับ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย