6 มี.ค. 2020 เวลา 09:39
"สถาบันบำราศนราดูร" กับภาระอันหนักอึ้งและทำไมต้องบำราศนราดูร !!
ชื่อนี้คุ้นหูมาตั้งแต่เด็ก ๆ มีโรคร้ายแรง มีโรคอุบัติใหม่ ทำไมต้องไปรักษาที่บำราศนราดูร👨👩
อันนี้เป็นความสงสัย และบ้านกรีนก็อยู่ใกล้ๆ โรงพยาบาลนี้ แต่ไม่เคยเข้าไป เอ่อ.. ไม่เข้าไปก็ดีละเนอะ!!!
บำราศนราดูร ตึกไหนนะ..
บำราศนราดูร เป็นชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข "พระบำราศนราดูร" ในช่วงที่ตั้งโรงพยาบาล เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ค่ะ
👨การก่อตั้งบำราศนราดูร....
👨สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ช่วงปี พ.ศ. 2501 - 2502 ได้เกิดโรคระบาดขึ้น
ในพระนคร โรคระบาดครั้งนั้นร้ายแรง
คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย
👩จอมพลสฤษดิ์ฯ จึงเห็นว่า โรงพยาบาลโรคติดต่อพญาไท ซึ่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 เริ่มจะไม่เหมาะแล้ว เนื่องจากโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้เขตชุมชน เกรงว่าโรคระบาดอีกอาจจะลุกลามไปยังประชาชน อีกทั้งโรงพยาบาลก็ทรุดโทรม
👨จอมพลสฤษดิ์ฯ จึงสั่งการ ให้หาสถานที่ตั้งโรงพยาบาลโรคติดต่อแห่งใหม่ นอกเขตพระนคร
👩นั่นคือ จุดกำเนิดของ โรงพยาบาลบำราศนราดูร มาต้้งอยู่ที่ ตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี
และเมื่อปี 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันบำราศนราดูร” จนถึงทุกวันนี้
👩มีหน้าที่หลัก คือ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม ตรวจ วินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย รวมถึงการดูแลภาพรวมของการป้องกันโรคติดต่อ
“สถาบันบำราศนราดูร” ผ่านอะไรมาแล้วบ้าง
👨👩หนัก ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ เช่น อหิวาตกโรค / กาฬโรค / ไข้ทรพิษ
(อันนี้กรีนน่าจะเกิดไม่ทันค่ะ... )
โรคเอดส์ / โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส / ซาร์ส / อีโบลา รวมถึงเหตุการณ์ตอนนี้ Covid-19
👨👩โห!!! ที่นี่มีแต่เคสโรคติดต่อร้ายแรง แล้วเค้ามีกระบวนการทำงานยังไงกันนะ
👩👨บำราศนราดูร มีการดูแลผู้ป่วยจะ แยกโซนกันอย่างชัดเจน ระหว่างผู้ป่วยโรคทั่วไป กับผู้ป่วยโรคติดเชื้ออันตราย
👩👨ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ จึงต้องมีระบบป้องกันการหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น ห้องตรวจจึงเป็นห้องควบคุมสภาพอากาศ
👩👨ห้องพักฟื้นผู้ป่วยต้องมีการควบคุมความดันให้เป็นลบ มีการเชื่อมระบบมอนิเตอร์เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเข้าไปในห้องผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
👨👩หากต้องเข้าไปจะต้องสวมชุดป้องกันโรค ซึ่งมีอยู่ 4 ระดับ แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยประเภทใด
👩👨ส่วนการรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อเข้ามารักษานั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างรัดกุมตั้งแต่ต้นทาง เพราะหากผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้
👩👨มีการทำงานร่วมกับ รพ.ในประเทศ ในการเฝ้าระวังอาการเสี่ยง กลุ่มเสี่ยง ถ้าพบผิดสังเกตต้องมีการรายงานเข้ามายังกรมควบคุมโรค
👩👨เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญออกมา
สอบสวนโรค หรือรับตัวเข้ามาที่สถาบันฯ หาก รพ.นั้นมีศักยภาพในการส่งต่อก็สามารถส่งเข้ามายังบำราศนราดูร
👨👩มีการเฝ้าระวังตามด่านเข้าเมือง ทั้งสนามบิน ท่าเรือ หากพบเคสต้องสงสัยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสอบสวนโรค และรับตัว
👨👩มีการประสานเครือข่ายสุขภาพในการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ หากพบความผิดสังเกต หรือมีคนป่วยต้องสงสัยในพื้นที่ก็จะต้องมีการรายงานเข้ามาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญไปรับตัวจะไม่ยอมให้ผู้ป่วยนั่งรถมาเองเด็ดขาด เพราะเสี่ยงทำให้เกิดการระบาดในช่วงการเดินทาง
👨👩ทั้งนี้ แม้ว่าภายนอกรถพยาบาลจะหน้าตาเหมือนกัน แต่สำหรับ รถพยาบาลที่ใช้ลำเลียงผู้ป่วยโรคติดเชื้อของสถาบันบำราศฯนั้น ภายในจะมีแคปซูลพิเศษ ที่ควบคุมความดันเป็นลบ มีเครื่องคอยควบคุมอากาศภายในออกสู่ภายนอก มีการซีลปิดรอยต่อภายในรถ และระบบปิดกั้นระหว่างห้องโดยสารผู้ป่วยกับห้องคนขับ
👩👨ไม่นับรวมอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีครบตามมาตรฐานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีตู้เพาะเชื้อควบคุมอุณหภูมิ ระหว่างการเดินทางเพื่อร่นระยะเวลา ไม่ต้องรอมาเก็บตัวอย่างเชื้อที่สถานพยาบาลอย่างเดียว
👩👨และเมื่อพาผู้ป่วยมาถึงสถาบันฯแล้ว ช่วงรอยต่อของการย้ายผู้ป่วยนี้ ก็ต้องดำเนินการอย่างรัดกุมและรวดเร็ว โดยรถพยาบาลพิเศษจะจอดเทียบที่อาคาร 7 ซึ่งเป็นหอผู้ป่วย และไปตามเส้นทางเฉพาะการลำเลียงผู้ป่วยโรคติดเชื้อร้ายแรง ใช้ลิฟต์เฉพาะก่อนเข้ากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อต่อไป
👩👨อื้อหือ!!! ไม่ง่ายเลยนะเนี่ย กระบวนการต้องรัดกุม คนทำงานที่นั่นก็ต้องระมัดระวัง อย่างละเอียด รอบคอบ ..
กราบ งาม ๆ เลยค่ะ🙏🙏
แต่วันนี้ บำราศนราดูร กำลังรับภาระอันหนักหน่วง กับข่าวที่แสดงออกมาให้เห็น
👩👨ถ้าเราไม่ช่วยกันรับผิดชอบต่อสังคม 🙏🙏โรงพยาบาลความหวังของประเทศไทยอย่างบำราศนราดูร อาจอ่อนแรงลง แล้วพวกเราจะเป็นอย่างไร..
โฆษณา