11 มี.ค. 2020 เวลา 10:17 • การเมือง
This is Thai society: นี่หรือ...เมืองไทยกับชีวิตดีดีที่ลงตัว
หากจะพูดถึงการใช้ชีวิตของคนเมืองและคนชนบท ก็คงเป็นไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงเรื่องการเมือง เศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศไทย ยังมีอีกหลายคนที่ตั้งคำถามว่า "ทำไมประเทศไทยถึงเป็นประเทศที่พัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ๆ" และมีคนรุ่นใหม่ไม่น้อยที่สงสัยว่า "ทำไมคนรุ่นใหม่อย่างเราถึงไม่มีโอกาสได้เข้าไปบริหารบ้านเมืองบ้าง"
สำหรับการเมืองไทยที่ผ่านมาบ่งบอกถึงการบริหารบ้านเมืองที่ผิดพลาดมาหลายต่อหลายครั้ง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่ล้มเหลวที่สุดในโลก ขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเกิดการคอรัปชั่นอยู่บ่อย ๆ หากเป็นแบบนี้อีกต่อไป ก็ไม่ต่างเนื้อร้ายที่รุกลามไปทั่วอวัยวะ จากที่นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนทในประเทศไทย ก็คงหันไปลุงทุนในประเทศอื่นแทน
หลายผู้ประกอบการต่างชาติมีแนวโน้มที่จะ/และย้ายที่ตั้งฐานผลิตออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ๆ อาทิ เวียดนาม อาจจะเป็นเพราะว่าเศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเร็วกว่าไทยและหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทั้งยังมีความเสถียรภาพทางการเมืองสูงกว่าไทย รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายที่สนับสนุนการค้าเสรี มีการลดขั้นตอนการยื่นเอกสารทางราชการสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งนโยบายการค้าเสรีเป็นการกระตุ้นการขับเคลื่อนทางเศษฐกิจของเวียดนามให้เติบโตขึ้นกว่าหลายประเทศ และที่สำคัญเวียดนามมีการจ้างงานค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพถูกกว่า รวมถึงมีวัยแรงงานเยอะกว่าไทยด้วย
ล่าสุดเวียดนามส่งออกสินค้าแซงหน้าไทยไปเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าเศษฐกิจเวียดนามจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การที่ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมือง ยิ่งทำให้ยากต่อการเรียกความเชื่อมั่นจากนานาชาติ ศักยภาพการเจรจาการทูตระหว่างประเทศต่าง ๆ ก็อ่อนแอลงและทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล แทนที่เราจะได้ปิดดีลเรื่องการค้ากับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประเทศจีน หรือประเทศอื่น ๆ กลับกลายเป็นว่าเราต้องมาขาดดุลทางการค้ากับประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะขาดดุลการค้าจีนที่มีตัวเลขขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง
สภาวะเศษฐกิจไทยที่ซบเซามาเป็นระยะ ๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนเมืองมากกว่าคนชนนบทอย่างแน่นอน เพราะกลุ่มคนเมืองเป็นกลุ่มแรงงานหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งกลุ่มคนที่มาทำงานในเมืองมีทั้งรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง แต่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าโดยสารรถเมล์แพงขึ้น ค่าโดยรถไฟฟ้าที่แพงอยู่แล้วปรับสูงขึ้นอีก ลองคิดดูว่า...เงิน 10 บาท สามารถนั่งรถเมล์ได้เที่ยวเดียว (รถเมล์พัดลม) แล้วถ้ามีเงิน 100 บาท สามารถนั่งรถไฟฟ้าได้กี่ครั้ง หากรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังจะสร้่างเสร็จในเร็ว ๆ นี้มีราคาที่แพงเกินไป คิดว่าคนรากหญ้าจะสามารถใช้บริการขนสาธารณะดี ๆ เพื่อเดินทางไปทำงานได้ทุกวันหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ระบบขนส่งมวลชนถูกออกแบบมากเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกสบาย แต่กลับสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยเอง เพราะค่าแรงขั้นต่ำไม่อาจสู้กับค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้น นอกจากนั้นการคมนาคมขนส่งมวลชนในต่างจังหวัดก็ไม่ได้ครอบคลุมและไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้คนชนบทเข้าไม่ถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ไหนจะต้องเจอกับรถติดบนท้องถนน ไหนจะฝุ่นพิษ pm 2.5 ที่ไม่ได้รับการแก้ปัญหาอีก นี่แหละคือความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยนับวันยิ่งแย่ลงขึ้นทุกที
ความเหลื่อมทางด้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียมหลายแห่งในกรุงเทพ ฯ ก็มีราคาสูงเกินกว่าคนไทยทั่วไปจะมีกำลังซื้อ ส่วนมามีแต่นักลงทุนชาวจีนที่แห่เข้ามาซื้อเพื่อเกร็งกำไร ยิ่งทำให้ราคานั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีก ค่าเช่าห้องและค่าครองชีพก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย คนไทยที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางจะต้องแบกรับกับค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นได้อีกนานแค่ไหน ถ้าภาครัฐไม่แก้ไขปัญหาปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชนที่กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ คุณภาพชีวิตในอุดมคติของคนไทยก็คงเป็นได้แค่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ มันคงจะไม่มฝต่างจากประเทศที่มีประชากรยากจน แต่มีนายทุนสองสามคนครอบครองเศรษฐกิจหลักของประเทศ
ทุกวันนี้ไม่รู้ว่าประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศไหนไปแล้วบ้าง แต่ที่เรารู้ ๆ กันคือ รัฐประหารแต่ละครั้งทำให้ประเทศไทยถูกแช่แข็งเป็นสิบ ๆ ปี ขณะที่หลายประเทศเร่งพัฒนาให้ตัวเองก้าวขึ้นมามีบทบาทบนเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษาเยอะที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศแถบอาเซียน ซึ่งงบประมาณใช้ไปกับผลลัพธ์ที่ได้มันไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นเห็นได้จากมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ปิดหลักสูตรที่ไม่ตอบสนองหรือไม่จำเป็นต่อบริบททางสังคมปัจจุบัน และมีหลายโรงเรียนถูกยุบเพราะขาดคุณภาพ
สำนวนภาษาอังกฤษ Elephant in the room ช้างในห้อง
หมายถึง ปัญหาที่ใหญ่หรือร้ายแรงที่ทุกคนรู้ดี แต่ไม่มีใครอยากพูดถึงมัน หรือไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ก็เหมือนกับการศึกษาไทยที่พยายามบิดเบือนและปกปิดไม่ให้พูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันคือความผิดพลาด แต่ไม่ได้สอนให้แก้ไข
ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนมีศักยภาพมากพอที่จะสามารถเข้ามีบทบาทในการพัฒนาประเทศได้ เพียงแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ โอกาสมันกระจุกอยู่แค่คนกลุ่มเดียว ทำให้คนเก่ง ๆ หลายคนคว้าโอกาสไปทำงานบริษัทเอกชนชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะทำตำแหน่งวิศวกรต่าง ๆ นักวิจัย ที่ปรึกษาด้านการเงิน นักเขียนโปรแกรม ฯ แล้วกลุ่มคนที่เข้ามาบริหารประเทศ มีความโปร่งใสมากน้อยแค่ไหน มีความรู้ความสามารถมากแค่ไหนที่จะนำพาประเทศก้าวผ่านวิกฤต
"เราต้องดิ้นรนแค่ไหนถึงจะคว้าโอกาสนั้นได้ เราต้องพยายามแค่ไหนถึงจะยืนได้อย่างมั่นคง"
นี่หรือชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว...อย่างที่คุณต้องการ?
Read more:
[1] ความหมายสำนวน Elephant in the room, https://dict.drkrok.com/elephant-in-the-room
[2] Elephant in the Room ความอับอายจากประวัติศาสตร์ผิดพลาดที่หนังสือเรียนไทยไม่เคยสอน, https://thestandard.co/opinion-happiness-behavior-elephant-in-the-room
ขอบคุณรูปภาพจาก pixabay
โฆษณา